Category: COVID-19

อนามัยโลกจับตาตัวกลายพันธุ์โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา
อนามัยโลกจับตาตัวกลายพันธุ์โควิดสายพันธุ์ ‘แลมบ์ดา’ พบระบาดแล้วในหลายสิบประเทศ องค์การอนามัยโลก (WHO) เพิ่มเติมสายพันธุ์โควิด-19 เข้าไปในบัญชีตัวกลายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ต้องให้ความสนใจอีกหนึ่งสายพันธุ์ นั่นก็คือตัวกลายพันธุ์ “แลมบ์ดา (Lambda)” รายงานประจำสัปดาห์ขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า โควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา ซึ่งพบครั้งแรกในเปรูเมื่อปีที่แล้ว ถูกจัดให้เป็นสายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (Variant of Interest) หลังพบมันแพร่ระบาดในหลายสิบประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอเมริกาใต้ ตัวกลายพันธุ์แลมบ์ดามีสัดส่วนคิดเป็น 82% ของเคสผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในเปรูในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา และเคสผู้ติดเชื้อรายใหม่ราว 1 ใน 3 ในชิลี ในช่วงเวลาเดียวกันก็มีต้นตอจากตัวกลายพันธุ์แลมบ์ดา นอกจากนี้แล้วสหราชอาณาจักรก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่พบเห็นเคสผู้ติดเชื้อตัวกลายพันธุ์แลมบ์ดาประปราย ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น อาร์เจนตินาและเอกวาดอร์ รายงานพบความชุกที่เพิ่มขึ้นของสายพันธุ์ใหม่นี้เช่นกัน ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน แลมบ์ดาถูกมองในฐานะตัวกลายพันธุ์ที่น่าสนใจ ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้สำหรับตัวกลายพันธุ์หนึ่งๆ ที่อาจแพร่กระจายเชื้อง่ายกว่าตัวดั้งเดิม เป็นสาเหตุของการแพร่ระบาดในหลายประเทศ หรือในทางทฤษฎี สามารถก่ออาการเจ็บป่วยรุนแรงกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม หรือหลีกเลี่ยงแนวทางรักษาและวัคซีนต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างช่ำชอง อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันนี้มันยังเป็นกรณีเดียวกับตัวกลายพันธุ์อื่นๆ อย่างเช่นตัวกลายพันธุ์เดลตา ที่ยังเร็วเกินที่จะบอกว่า แลมบ์ดา มีความร้ายแรงกว่าสายพันธุ์อื่นหรือสามารถต้านทานวัคซีนหรือวิธีการรักษาต่างๆ การแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าไม่ได้หมายความว่าตัวกลายพันธุ์นั้้นจะมีความอันตรายร้ายแรงกว่าตัวดั้งเดิม […]
Readmore
จับตา“มิว”โควิดกลายพันธุ์ตัวใหม่
จับตา “มิว” โควิดกลายพันธุ์ตัวใหม่ เป็นยังไง แล้วต้องกังวลขนาดไหน ในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลก (WHO) แบ่งสายพันธุ์โควิดกลายพันธุ์เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1. โควิดกลายพันธุ์กลุ่ม variant of concern (VOC) คือโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่มีความน่ากังวล ได้แก่ โควิดสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) โควิดสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) โควิดสายพันธุ์แกมมา (บราซิล) และโควิดสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) 2. โควิดกลายพันธุ์กลุ่ม variant of interest (VOI) คือโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่อยู่ในความน่าสนใจ ได้แก่ โควิดสายพันธุ์มิว (โคลอมเบีย) โควิดสายพันธุ์อีตา (เจอครั้งแรกในหลายประเทศ) โควิดสายพันธุ์ไอโอตา (สหรัฐฯ) โควิดสายพันธุ์แคปปา (อินเดีย) และโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา (เปรู) ทำไมโควิดสายพันธุ์มิว (โคลอมเบีย) ถึงอยู่ในความน่าสนใจของ WHO โควิดสายพันธุ์มิว มีการค้นพบครั้งแรกในประเทศโคลอมเบียช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 โดยได้ชื่อตั้งต้นว่าโควิดสายพันธุ์ B.1.621 และมีการกลายพันธุ์ทั้งหมด 50-60 ตำแหน่ง ซึ่งมีตำแหน่งการกลายพันธุ์ที่สำคัญ 5 ตำแหน่งคือ โดยมีการค้นพบเชื้อโควิดสายพันธุ์มิวแล้วมากกว่า […]
Readmore
COVID-19 ไวรัสร้ายทำลายหัวใจ
แพทย์เตือน COVID-19 ไวรัสร้ายที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจอยู่แล้ว มีโอกาสเสียชีวิตสูง แพทย์หญิงชาดา โชติพันธุ์วิทยากุล อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลเวชธานี เปิดเผยว่า COVID-19 เป็นไวรัสที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อปอดและระบบทางเดินหายใจเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดความผิดปกติต่อหัวใจด้วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจเป็นโรคประจำตัวอยู่เดิม เช่น โรคความดันโลหิตสูง เส้นเลือดหัวใจตีบ หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งพบว่าโดยทั่วไปแล้วการทำงานของหัวใจและระบบไหวเวียนเลือดในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่าคนทั่วไป อีกทั้งผู้ป่วยโรคหัวใจส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้สูงอายุ และมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอตามธรรมชาติของวัย ดังนั้นหากติดเชื้อ COVID-19 จะยิ่งทำให้โรคมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น มีการตรวจพบการอักเสบที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะที่เยื่อบุหลอดเลือดทั่วร่ายกาย ในผู้ที่เสียชีวิต ซึ่งการอักเสบนี้จะทำให้การไหลเวียนเลือดบกพร่อง เซลล์และเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน จนทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้นและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น หัวใจล้มเหลว ลิ่มเลือดเฉียบพลันในหลอดเลือดหัวใจ ปอดอักเสบรุนแรงและภาวะระบบการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน นอกจากนี้ในระหว่างที่มีการติดเชื้อนี้จะทำให้การควบคุมโรคประจำตัวที่มีอยู่เดิมทำได้ยากขึ้น และเกิดภาวะหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลวได้เช่นเดียวกัน ในส่วนของผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว และแข็งแรงดีมาก่อนแต่ได้รับเชื้อ COVID-19 พบมีรายงานการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัสได้ โดยอาศัยการวินิจฉัยจากการตรวจพิเศษทางหัวใจเพิ่มเติม ซึ่งภาวะนี้จะทำให้การบีบตัวของหัวใจแย่ลง ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและน้ำท่วมปอดตามมา นอกจากนี้การใช้ยารักษา COVID-19 เองก็มีรายงานว่าทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจได้เช่นกัน พบว่าการใช้ยาต้านไวรัสร่วมกับยาต้านมาลาเรียอาจทำให้เกิดการนำกระแสไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ (QT Prolongation) ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยทุกราย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยที่อายุน้อยและแข็งแรงดีมาก่อน ดังนั้น การป้องกันไม่ให้ได้รับเชื้อ COVID-19 จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับเชื้อ […]
Readmore
ผื่นขึ้นแบบไหนเข้าข่ายติดCovid-19
ผื่นขึ้นแบบไหนเข้าข่ายติด Covid-19 – สังเกตอาการใหม่ของผู้ป่วยโควิด-19 จากการตรวจผู้ติดเชื้อ Covid-19 สายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการแต่มีเชื้อในลำคอจำนวนมาก โดยสังเกตอาการแสดงที่พบได้ดังนี้ • ตาแดง• น้ำมูกไหล• ไม่มีไข้• บางรายมีผื่นขึ้น เช็คอาการ Covid-19 ผู้ป่วยมักมีอาการแสดงที่สามารถสังเกตได้ ดังนี้ • มีไข้เกิน 37.5 องศา• ไอแห้ง ไอแบบมีเสมหะ• หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ• อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว• สูญเสียการได้กลิ่น และรับรส• ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นโควิด-19 เป็นแบบไหน? ผื่นขึ้นแบบไหนบ้าง? ที่อาจเข้าข่ายติด Covid-19ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาเปิดเผยว่า อีกหนึ่งอาการที่พบได้ในผู้ป่วยโควิด-19 ก็คือ อาการผื่น โดยสามารถสังเกตลักษณะของผื่นโควิด-19 ได้ดังนี้ *ดังนั้นหากทราบว่าตนเองไปในสถานที่เสี่ยง หรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แล้วมีอาการผื่นดังกล่าว และเกิดฉับพลันพร้อมอาการมีไข้ ไอ จาม หรืออาการทางระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันที สำหรับ Covid-19 สายพันธุ์ […]
Readmore
รักษาโควิดที่บ้าน 10 คำถามพบบ่อย
เมื่อเป็นโควิดเเละต้อง รักษา โควิด ที่บ้าน ต้องทำอย่างไร 10 ข้อต้องรู้ การทำ Home Isolation ทำยังไงเมื่อเป็นโควิด เเละต้องรักษาตัวที่บ้าน ยอดผู้ติดเชื้อที่กำลังพุ่งขึ้นเรื่อยๆ จนตอนนี้วันละเป็นหมื่นๆคน เเละผู้ที่ติดเชื้อบางส่วนยังไม่สามารถหาโรงพยาบาลที่เข้ารักษาตัวได้ เเละบางส่วนมีอาการอยู่ในระดับสีเขียวที่สามารถทำ Home Isolation ที่บ้านได้ พี่หมีบิ๊กกี้รวม 15 ข้อมูลที่ต้องรู้เกี่ยวกับการ รักษา โควิด ที่บ้าน หรือการทำ Home Isolation หากเป็นโควิด 19 จะมีขั้นตอนการเข้าระบบ Home Isolation ทางไหนได้บ้าง เเละต้องรักษาตัวที่บ้านอย่างไร ไปดูกัน 1. การรักษา โควิด ที่บ้าน หรือ การทำHOME ISOLATION เหมาะกับใคร ? 2. ดูว่าอาการเราอยู่ในระดับความเสี่ยงอย่างไร หากอยู่ในระดับ ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว สามารถ รักษา โควิด ที่บ้าน หรือการทำ Home Isolation ได้ โดยต้องสังเกตอาการตัวเองดังนี้ 3. […]
Readmore
ประเมินระดับอาการเมื่อเป็นโควิด19
อย่างที่ทราบกันดีว่าผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหากตรวจพบว่าเป็นโควิด-19 การประเมินอาการตนเองว่าเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว สีเหลือง สีแดง เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม จะช่วยลดความรุนแรงและงดอัตราการเสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้นได้ ประเมินอาการผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว คือ ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย ได้แก่ ประเมินอาการผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง คือ ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มที่มีอาการไม่รุนแรง ได้แก่ ประเมินอาการผู้ป่วยกลุ่มสีแดง ผู้ป่วยกลุ่มสีแดง คือ ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มที่มีอาการหนักและรุนแรง ได้แก่ เตรียมพร้อมรับการรักษาเมื่อป่วยโควิด-19 อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการแย่ลงจะต้องอยู่ในความดูแลของบุคลากรทางการแพทย์โดยเร็วที่สุด
Readmore
มาทำความรู้จักโควิดกลายพันธุ์
ก่อนหน้านี้ประเทศไทยและทั่วโลกเราเหมือนจะควบคุมการระบาดของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 ได้ดีพอสมควร โดยเฉพาะการที่แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์รู้จักไวรัส อาการ การรักษา รวมทั้งมีการผลิตวัคซีนออกมา และมีการฉีดวัคซีนให้กับประชากรทั้งกลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไปแล้ว แต่สถานการณ์โควิดที่ระบาดเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ระบบสาธารณสุขในหลาย ๆ ประเทศมีปัญหาทั้งแง่จำนวนผู้ที่ต้องการตรวจมากขึ้น จำนวนผู้ป่วยที่ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล และผู้ป่วยวิกฤตที่มีมากจนอาจเกินศักยภาพที่บุคลากรทางการแพทย์ และระบบโดยรวมจะสามารถรับมือได้ อาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของไวรัส โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตา ซึ่งก่อนหน้านี้เรียกว่า สายพันธุ์อินเดีย เพราะค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย ในเดือนธันวาคมปี 2563 เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับไวรัสกลายพันธุ์ เมื่อไวรัสได้แพร่กระจายเข้าในตัวคนหนึ่ง ๆ จะมีการแบ่งตัวเพิ่มมากขึ้น อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคงอยู่ของตัวมันเอง แต่เมื่อไวรัสมีการแพร่กระจายประชากรกลุ่มใหญ่มากขึ้น โอกาสการเปลี่ยนแปลงสารทางพันธุกรรมก็จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วย พอติดเชื้อมากในระยะเวลาหนึ่ง สารพันธุกรรมจะเปลี่ยนแปลงจากดั้งเดิมอย่างชัดเจนจนกลายเป็นไวรัสกลายพันธุ์ เช่น เพิ่มความสามารถที่จะจับได้แน่นขึ้น โดยภูมิคุ้มกันกำจัดยากขึ้น หรือแพร่เชื้อได้มากขึ้น สำหรับการเรียกไวรัสกลายพันธุ์นั้น เคยใช้เป็นอักษรตามด้วยตัวเลขทางพันธุศาสตร์ เช่น B.1.617.2 variant แต่ต่อมาคนนิยมเรียกเป็นชื่อประเทศที่ค้นพบครั้งแรก เช่น สายพันธุ์อังกฤษ หรือสายพันธุ์อินเดีย ดังนั้นทางองค์การอนามัยโลกจึงกำหนดให้มีการเปลี่ยนชื่อสายพันธุ์เป็นตัวอักษรกรีกเพื่อลดการตีตรา มาทำความรู้จักโควิดกลายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้า ตัวที่แกร่งที่สุดและแพร่เชื้อได้ไว้ที่สุดในตอนนี้ ก่อนหน้านี้ประเทศไทยและทั่วโลกเราเหมือนจะควบคุมการระบาดของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 ได้ดีพอสมควร โดยเฉพาะการที่แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์รู้จักไวรัส อาการ การรักษา […]
Readmore
วิธีป้องกันตัวเองและสังคมจากโรคติดต่อโควิด-19
การป้องกันตัวเองและสังคมจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 เป็นมาตรการที่ประชาชนทุกคนควรทำและให้ความร่วมมือ เพื่อช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรค รวมถึงลดการแพร่กระจายเชื้อในสังคม ซึ่งมาตรการดังกล่าวสามารถทำได้ ดังนี้ วิธีป้องกันตัวเองและสังคมจากโรคติดต่อโควิด-19 ความรู้ COVID19, ความรู้ทั่วไปลงวันที่ 14 May 2563 การป้องกันตัวเองและสังคมจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 เป็นมาตรการที่ประชาชนทุกคนควรทำและให้ความร่วมมือ เพื่อช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรค รวมถึงลดการแพร่กระจายเชื้อในสังคม ซึ่งมาตรการดังกล่าวสามารถทำได้ ดังนี้ การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สามารถต่อสู้กับโรคภัยต่างๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การรักษาระยะห่างระหว่างตัวเองและผู้อื่น เป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำ ไม่ว่าจะได้สัมผัสเชื้อหรือไม่ ซึ่งรวมถึงการหลีกเลี่ยงการจับมือ เลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกัน ควรอยู่ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร เลี่ยงไปในสถานที่แออัดหรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และสิ่งสำคัญที่สุดคือการพักอยู่บ้านหากรู้สึกไม่สบาย การเว้นระยะห่างทางสังคม จะช่วยชะลอการกระจายของไวรัส ซึ่งทำให้ทรัพยากรเพียงพอต่อผู้ที่จำเป็นต้องใช้ วิธีป้องกันตัวเองและสังคมจากโรคติดต่อโควิด-19 ความรู้ COVID19, ความรู้ทั่วไปลงวันที่ 14 May 2563 การป้องกันตัวเองและสังคมจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 เป็นมาตรการที่ประชาชนทุกคนควรทำและให้ความร่วมมือ เพื่อช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรค รวมถึงลดการแพร่กระจายเชื้อในสังคม ซึ่งมาตรการดังกล่าวสามารถทำได้ ดังนี้ การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สามารถต่อสู้กับโรคภัยต่างๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การรักษาระยะห่างระหว่างตัวเองและผู้อื่น เป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำ […]
Readmore
รู้จักกับไวรัสมาร์เบิร์ก และวิธีป้องกันจากไวรัสชนิดนี้
พบผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย ในกานาจากการติดเชื้อไวรัสมาร์เบิร์ก และยังมีอีก 98 คนต้องอยู่ในสถานกักกันเพราะมีการสัมผัสเสี่ยงสูงกับผู้ติดเชื้อ การระบาดครั้งนี้ทำให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อร้ายแรงนี้เป็นจำนวนมาก โดยไวรัสดังกล่าวก่อให้เกิดอาการไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง อาเจียน และในหลายกรณีอาจเสียชีวิตจากการสูญเสียเลือดอย่างรุนแรง ไวรัสมาร์เบิร์กคืออะไรตามรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้ว่าไวรัสมาร์เบิร์กมีรหัสพันธุกรรมเดียวกันกับเชื้อไวรัสอีโบลาที่มีความร้ายแรงพอ ๆ กัน ไวรัสชนิดนี้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกหลังจากมีผู้ติดเชื้อ 31 คนและเสียชีวิต 7 รายในช่วงการระบาดเดียวกันเมื่อปี 1967 ในเมืองต่อไปนี้ – มาร์เบริ์กและแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี– เบลเกรด ประเทศเซอร์เบีย การระบาดเกิดขึ้นจากลิงเขียวแอฟริกา ที่นำเข้ามาจากยูกันดา และไวรัสก็เริ่มติดต่อกันผ่านสัตว์ชนิดอื่น ๆ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สำหรับการติดเชื้อกันระหว่างมนุษย์ ส่วนใหญ่จะแพร่กระจายกันในกลุ่มผู้ที่ทำงานหรือใช้เวลาอยู่ในในถ้ำและเหมืองที่มีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นเวลานาน นี่เป็นการแพร่ระบาดครั้งแรกของกานา แต่มีประเทศในแอฟริกาหลายประเทศที่มีการระบาดของไวรัสชนิดนี้ ได้แก่: – สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก– เคนยา– แอฟริกาใต้– ยูกันดา– ซิมบับเวการระบาดในปี 2005 ที่แองโกลาคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 300 คน แต่ว่าในยุโรป พบผู้เสียชีวิตเพียงรายเดียวในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา และอีกหนึ่งรายในสหรัฐอเมริกา […]
Readmore
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ สู้ 20 สายพันธุ์ ใช้เทคโนโลยี mRNAจากโควิด
นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างวัคซีนพิเศษที่สามารถต่อสู้กับไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์ที่รู้จัก และใช้เทคโนโลยีเดียวกับที่ใช้ในวัคซีนโควิด-19 ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีการทดสอบในคน แต่ยังคงทดสอบในสัตว์ และมันเห็นผลแล้วในไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ A และ B ทว่าศ.จอห์น อ็อกซ์ฟอร์ด นักไวรัสวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยควีนแมรีในลอนดอน กล่าวว่า วัคซีนใหม่ที่พัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียถือเป็น ‘ความก้าวหน้าครั้งยิ่งใหญ่’ ซึ่งเป็นเทคโนโลยี mRNA ที่บุกเบิกในการระบาดใหญ่ของโควิด-19 วัคซีนดังกล่าว จะทำงานโดยการส่งคำสั่งที่สอนเซลล์ให้สร้างแบบจำลองของโปรตีนที่ปรากฏบนพื้นผิวของไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งหมด ซึ่งสิ่งนี้ฝึกร่างกายให้จดจำวิธีและต่อสู้กับผู้บุกรุกจากต่างประเทศที่มีโปรตีนนี้ในอนาคต ซึ่งมีความหวังที่ว่าวัคซีนจะช่วยให้ผู้คนมีภูมิคุ้มกันพื้นฐาน ซึ่งจะช่วยลดการรักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตในแต่ละปี ตามข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินการบางอย่างเพื่อเริ่มพัฒนาวัคซีน แต่ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ในการผลิตวัคซีนจำนวนมาก แม้ว่าวัคซีนชนิดใหม่อาจหยุดยั้งการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ในอนาคตได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด นักวิจัยจากโรงเรียนแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้ทดสอบวัคซีนในหนูและพังพอนเท่านั้น แต่กำลังออกแบบการทดลองในมนุษย์ในขณะนี้ ซึ่งอาจได้เห็นผลการศึกษาในอีก 6 เดือนข้างหน้า ปัจจุบันพวกเขาพบว่า ระดับแอนติบอดีที่เกิดจากวัคซีนยังคงไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเวลาอย่างน้อย 4 เดือนในสัตว์ที่ทำการทดสอบ ด้านสก็อตต์ เฮนสลีย์ ผู้เขียนอาวุโสด้านการศึกษา ศาสตราจารย์ด้านจุลชีววิทยาของมหาวิทยาลัยกล่าวว่า แนวคิดนี้คือการฉีดวัคซีนที่จะทำให้ผู้คนมีูมิคุ้มกันในระดับพื้นฐานต่อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่างๆ เพื่อเกิดการติดเชื้อและเสียชีวิตน้อยลง เมื่อเกิดการระบาดไข้หวัดใหญ่ในครั้งต่อไป เฮนสลีย์ กล่าวด้วยว่า “วัคซีนนี้สามารถลดโอกาสในการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่อย่างรุนแรงได้อย่างมาก”
Readmore