7f76df98-4c36-4e23-b292-8bc29388186c

หายโควิดแล้ว แต่ตรวจ ATK เจอ 2 ขีด

December 1, 2023

รักษาโควิดจนหายแล้ว แต่ทำไมพอตรวจ ATK ก็ยังเป็นบวก แบบนี้จะไปทำงาน หรือออกไปนอกบ้านได้หรือยังนะ วิธีรักษาผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย ตามแนวทางปัจจุบัน คือให้กักตัวที่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 10 วัน นับตั้งแต่วันที่ตรวจพบเชื้อ เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดก็ถือว่าหายป่วยจากโรคนี้แล้ว สามารถออกไปทำงานหรือออกจากบ้านได้ตามปกติ ส่วนกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่องจะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือ Hospitel  ประมาณ 20 วัน นับจากวันที่มีอาการ ถึงจะถือว่าหายป่วย           แต่ถึงกระนั้นยังมีหลายคนที่รักษาตัวครบกำหนดแล้วไปลองตรวจ ATK แต่ขึ้น 2 ขีด เลยอดกังวลไม่ได้ว่า นี่เราหายป่วยหรือยัง แล้วจะแพร่เชื้อให้คนอื่นได้อีกไหม ลองมาทำความเข้าใจกันสักนิด ดูหนังใหม่ ทำไมหายโควิดแล้ว แต่ยังตรวจเจอเชื้อ ทางกระทรวงสาธารณสุขเคยให้ข้อมูลว่า คนที่เพิ่งหายป่วยโควิดมีสิทธิ์ตรวจ ATK เป็นผลบวกได้ เพราะในร่างกายของเราอาจยังมีซากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสที่ร่างกายยังกำจัดไม่หมดหลงเหลืออยู่ในน้ำมูกหรือน้ำลาย ซึ่งบางคนอยู่ได้นาน 30-90 วันเลยทีเดียว           อย่างไรก็ตาม ซากสารพันธุกรรมดังกล่าวคือจุลชีพที่ถูกร่างกายทำลายจนหมดฤทธิ์ เป็นเชื้อที่ตายแล้ว ถ้านำไปเพาะเชื้อก็จะเพาะไม่ขึ้น เท่ากับว่าเชื้อที่พบไม่สามารถแพร่ไปให้ผู้อื่นได้อีก เป็นเสมือนซากเชื้อที่ก่อโรคไม่ได้แล้วนั่นเอง            ด้วยเหตุนี้แพทย์จึงไม่แนะนำให้ผู้ป่วยโควิดที่รักษาครบตามกำหนดเวลาแล้วไปตรวจโควิดซ้ำ เพราะเมื่อตรวจย่อมมีโอกาสเจอซากเชื้อ ทำให้เข้าใจผิดว่ายังไม่หายป่วย   ถ้าเชื้อตายแล้ว แต่ทำไมยังตรวจเจอได้           ประเด็นนี้ […]

Readmore
dFQROr7oWzulq5Fa3yX7LNQtmnwCmJkWHCFVWNXIqLVy1fNKOpe3vXn6yen0HLbZCaQ

เด็กติดโควิด: MIS-C อาการอักเสบหลายระบบและอาการอื่น ๆ

November 30, 2023

เด็กติดโควิด: MIS-C อาการอักเสบหลายระบบและอาการอื่น ๆ ที่กุมารแพทย์พบจากการรักษาผู้ป่วยโควิดเด็กในไทย เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา คนไข้เด็กวัย 13 ปี เข้ามารักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ด้วยอาการไข้สูงและท้องเสีย กุมารแพทย์ตรวจและให้การรักษาตามอาการและคาดว่าผู้ป่วยจะอาการดีขึ้นในไม่กี่วัน แต่ผ่านไป 2-3 วัน ผู้ป่วยเริ่มมีระบบการหายใจผิดปกติ หลายอาการเทียบเคียงได้กับภาวะหัวใจล้มเหลว และพบค่าการอักเสบสูง ผู้ป่วยเด็กรายนี้ไม่มีประวัติติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน แต่กลับตรวจพบสารภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีโควิด-19 เช่นเดียวกับที่ตรวจเจอในพ่อและแม่ เกณฑ์ต่าง ๆ ที่พบเหล่านี้ ทำให้ทีมแพทย์วินิจฉัยว่า เด็กรายนี้ กำลังป่วยด้วยภาวะอาการ “มิสซี” MIS-C (Multisystem inflammatory syndrome in children) หรือกลุ่มอาการอักเสบของหลาย ๆ ระบบในร่างกาย นี่เป็นกรณีของผู้ป่วยเด็กที่ อ.ดร.พญ.สุวพร อนุกูลเรืองกิตติ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าให้บีบีซีไทยฟัง และบอกว่า กุมารแพทย์หรือหมอเด็กเริ่มเจอภาวะนี้ในกลุ่มเด็กโตที่หายป่วยจากโควิดมากขึ้น ล่าสุด วันที่ 5 ต.ค. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า […]

Readmore
image

ไขข้อสงสัย โควิด-19 ติดทางไหน ทำไมติดต่อกันได้ง่าย?

November 29, 2023

เรื่องควรรู้ จากสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทยและทั่วโลกที่ยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายคนอาจไม่สามารถกักตัวอยู่ในที่พักได้ เพราะจำเป็นต้องเดินทางไปทำงาน เรียนหนังสือ หรือทำกิจวัตรประจำวันอื่นๆ สำหรับใครต้องเป็นเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วกังวลว่า โควิดติดทางไหนได้บ้าง สามารถป้องกันได้อย่างไร ในบทความนี้จะพาไปทำควารมรู้จักกับช่องทางการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 สาเหตุของโรค COVID-19 นั่นเอง โควิด-19 (COVID-19) ติดทางไหน แพร่ระบาดได้อย่างไร? โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 สามารถแพร่จากคนสู่คน ผ่านทางละอองน้ำมูก น้ำลายจากจมูก หรือปาก ซึ่งออกมาขณะที่ผู้ติดเชื้อไอ จาม หรือพูด ทำให้ผู้ที่หายใจเอาละอองเหล่านี้เข้าไปติดเชื้อตามไปด้วย แต่ละอองเหล่านี้ค่อนข้างหนัก ลอยไปไม่ได้ไกล และตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็ว การรักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร และสวมใส่หน้ากากอนามัย จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกัน COVID-19 ได้ในข้างต้น อย่างไรก็ตาม ละอองที่ตกลงสู่วัตถุ และพื้นผิวต่างๆ เช่น ราวบันได ลูกบิดประตู หรือพื้นโต๊ะ ก็สามารถทำให้ติดเชื้อ COVID-19 ได้ เมื่อเราเอามือไปจับพื้นผิวเหล่านั้น แล้วมาจับตา จมูก หรือปาก นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า […]

Readmore
d95ead2c1470aac6c140b3594a39fa77

สายพันธุ์โควิดพลัส ที่ระบาดทั่วโลกและในประเทศไทยมีอะไรบ้าง

November 27, 2023

ทำความรู้จักโควิดกลายพันธุ์ อันตรายกว่าสายพันธุ์เดิมจริงหรือไม่ นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีนเมื่อปลายปี พ.ศ 2562 จนถึงปัจจุบัน สถานการณ์โควิดยังคงเป็นวิกฤติการณ์โลกที่น่ากังวลโดยเฉพาะในหลาย ๆ ประเทศที่มีอัตราผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตสะสมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้กับประชากรแล้วเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ เนื่องจากเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถกลายพันธุ์และเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ทำให้ทั่วโลกต้องหาวิธีรับมือกับการกลายพันธุ์เหล่านี้ ซึ่งก็ยังไม่พบวิธีใดที่ได้ผล 100% จากที่เคยป้องกันการระบาดของโควิดในระลอกที่ผ่านๆ มาได้ดีกลับต้องมาเผชิญกับโควิดกลายพันธุ์ระลอกใหม่ที่สามารถแพร่กระจาย ติดเชื้อได้เร็วขึ้น สามารถหลบเลี่ยงแอนติบอดีภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น จึงทำให้เกิดการระบาดอย่างหนัก และมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากนั่นเอง ไวรัสโควิดกลายพันธุ์ได้อย่างไร การกลายพันธุ์หรือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม DNA หรือ RNA ของเชื้อไวรัสนั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยเมื่อไวรัสแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไวรัสก็จะมีการแบ่งตัวเพิ่มมากขึ้น และอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคงอยู่และเอาตัวรอดของมันเอง บางครั้งการเปลี่ยนแปลงนี้ก็อาจเป็นการทำลายตัวไวรัสเอง แต่การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างก็อาจส่งผลให้โรคนั้น ๆ ติดต่อกันง่ายขึ้นหรือมีความรุนแรงมากขึ้น และเมื่อไวรัสมีการแพร่กระจายไปสู่ประชากรกลุ่มใหญ่ โอกาสในการเปลี่ยนแปลงสารทางพันธุกรรมเหล่านี้ก็จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วย เมื่อมีผู้ติดเชื้อมากในระยะเวลาหนึ่ง สารพันธุกรรมจะเปลี่ยนแปลงจากสารพันธุกรรมดั้งเดิมอย่างชัดเจนจนกลายเป็นไวรัสกลายพันธุ์ที่อาจจะแพร่เชื้อได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น หรือกำจัดได้ยากขึ้น โดยจากการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 ขณะนี้ทั่วโลกได้ตรวจพบสายพันธุ์หลักและสายพันธุ์ย่อยเกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมากกว่า 1,000 สายพันธุ์ทีเดียว สายพันธุ์โควิดพลัส […]

Readmore
news-40b9073e55

“ผื่น” แบบไหนเข้าข่ายอาการโควิด19

November 26, 2023

ลักษณะเฉพาะของ “ผื่น” ที่เป็นหนึ่งในอาการโควิด-19 ซึ่งส่วนใหญ่ มักพบในกลุ่มผู้ป่วยที่ยังไม่แสดงอาการใด ๆ หรือแสดงอาการน้อยมาก จากสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นี้ ตามที่  นพ.โอกาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยและสังเกตอาการทางคลินิกของผู้ติดเชื้อนั้น ส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่มสาว มีอาการน้อย โดยพบว่ามีอาการตาแดง น้ำมูกไหล ไม่มีไข้ และมีผื่นขึ้นบ้าง เพราะฉะนั้นหากมีอาการเหล่านี้ให้ไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อให้คำแนะนำและตรวจสอบต่อไป ทำให้หลายคนให้ความสนใจกับอาการ “ผื่นขึ้น” เนื่องจากที่ผ่านมารับรู้ว่า หนึ่งในอาการผู้ป่วยคือ จมูกไม่รับกลิ่น ลิ้นไม่รับรส ข้อมูลจาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จึงให้ข้อสังเกต อาการผื่นที่มีลักษณะเฉพาะ ไว้ว่า เป็นตุ่มหรือ ผื่นแดง ลักษณะคล้ายตาข่ายหรือเส้นใยเล็ก ๆ ขึ้นที่เท้า หรือบริเวณผิวหนังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย มักพบในกลุ่มผู้ป่วยที่ยังไม่แสดงอาการใด ๆ หรือแสดงอาการน้อยมาก รวมถึงบางรายอาจมีอาการทางเดินหายใจเกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากเกิดผื่นดังกล่ว ลักษณะอาการทางผิวหนังสามารถอธิบายได้ว่า ผู้ป่วยมีความผิดปกติของเส้นเลือดหรือเม็ดเลือดเอง อย่างไรก็ดี  โดยวิธีการสังเกตอาการ คือ  หากพบอาการผิดปกติทางผิวหนัง รวบกับอาการไข้ ไอ หรืออาการทางระบบหายใจอื่น ๆ ควรรีบมาพบแพทย์ อย่างไรก็ตาม ปัจุบันในหลายประเทศพบผู้ป่วยโควิด-19 มีผื่นขึ้นที่เท้าหรือนิ้วเท้า (Covid toe) แต่พบได้น้อยในประเทศเขตร้อน

Readmore
dFQROr7oWzulq5Fa3y29axGbsqKqXh9iCcYSIJ7J6Yfz6JaE2HjR8NWH6rput9v4cKZ

หมออังกฤษเผยผู้ป่วยโควิดอาการหนัก เข้าไอซียู 9 ใน

November 25, 2023

หมออังกฤษชี้ความสำคัญของการฉีดวัคซีน เผยผู้ป่วยโควิดอาการหนักที่ต้องเข้าห้องไอซียู 9 ใน 10 ราย ไม่ได้ฉีดวัคซีน ขณะมีการยืนยันพบคนติดโอมิครอนในอังกฤษแล้วกว่า 1.5 หมื่นราย เมื่อ 22 ธ.ค. 64 เว็บไซต์เดอะ ซัน รายงานสถานการณ์โควิด-19 หวนกลับมาระบาดหนักในสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ซึ่งเป็นเชื้อที่เกิดการกลายพันธุ์มากที่สุดว่า ขณะนี้ พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 และมีอาการหนักจนต้องเข้าไอซียู จำนวนถึง 9 ใน 10 คน ไม่ได้ฉีดวัคซีน ขณะที่ ศาสตราจารย์ รูเพิร์ต เพิร์ส ยังกล่าวว่า คนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน ซึ่งมีอายุในช่วง 20-30 กว่าปีและติดเชื้อโควิด-19 จะไปจบลงที่อาการป่วยหนัก และต้องเข้าไอซียู โดยศาสตราจารย์เพิร์ส ซึ่งเป็นแพทย์รักษาผู้ป่วยวิกฤติในลอนดอน ยังกล่าวย้ำว่า การฉีดวัคซีนเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะผู้ป่วยโควิดที่อาการป่วยรุนแรง 80-90% ไม่ได้ฉีดวัคซีน ด้านทางการอังกฤษยืนยันพบผู้ติดเชื้อโควิดโอมิครอนในอังกฤษแล้ว 15,363 ราย จนถึงวันอังคารที่ 21 ธ.ค. ที่ผ่านมา อีกทั้งยัง พบว่าผู้ติดเชื้อโควิดโอมิครอนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 71.6% […]

Readmore
125991-cough-after-covid.jpg

วิธีลดอาการไอหลังหายจากโควิด-19

November 24, 2023

ยังคงมีอาการไอหลังจากหายโควิด อยู่ใช่ไหม? อาการไอหลังหายโควิดนี้ เป็นหนึ่งในอาการของภาวะ Long Covid  ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยโควิด-19 และมักเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจส่วนบน  ในวันนี้ GED good life จะพาไปไขข้อสงสัยที่ว่า “ทำไมเราถึงยังไอ ทั้งที่หายจากโควิดไปแล้ว?” รวมถึง “วิธีลดอาการไอหลังหายจากโควิด-19” ไปพร้อม ๆ กันเลย หากคุณเป็นหนึ่งในผู้กำลังเผชิญกับอาการไอหลังโควิดอยู่ ต้องไม่พลาด! โรคโควิดทำให้เกิดอาการไอ ได้อย่างไร? สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไอเมื่อติดเชื้อโควิด-19 ก็เพราะว่า ไวรัสส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจของเราโดยตรง ตั้งแต่โพรงจมูกไปจนถึงปอด การไอเมื่อติดโควิด จึงเป็นวิธีหนึ่งของร่างกายในการกำจัดสิ่งระคายเคืองที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ไวรัส ฝุ่น และเสมหะ  เมื่อตรวจพบ “สิ่งแปลกปลอม” ในทางเดินหายใจ ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้เกิดอาการไอ ซึ่งจะช่วยขจัดสิ่งระคายเคืองเหล่านั้นออกไป อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ติดโควิด-19 อยู่ ไม่ควรไอโดยไม่ปิดปาก หรือไม่สวมหน้ากากอนามัย เพราะ การไอออกไปโดยไม่ป้องกัน จะทำให้เชื้อไวรัสโควิดแพร่กระจายออกไป และกลายเป็นการแพร่ระบาดสู่คนอื่น ๆ ได้ 4 สาเหตุหลัก ที่ทำให้ยังมีอาการไอ แม้หายจากโควิดแล้ว 1. ทางเดินหายใจส่วนบนยังคงเกิดการอักเสบอยู่ จึงยังทำให้ไอ อาจไอมีเสมหะ หรือไม่มีเสมหะก็ได้ 2. ปอด และทางเดินหายใจส่วนล่างเกิดการติดเชื้อ […]

Readmore
Image_AW_Website_แยกให้ชัด ไข้เลือดออก VS COVID-19 ต่างกันอย่างไร-01

แยกให้ชัด ไข้เลือดออก VS COVID-19 ต่างกันอย่างไร

November 23, 2023

ช่วงนี้สภาพอากาศแปรปรวน ทั้งอากาศร้อนและมีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้มีน้ำขัง เกิดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทำให้หลายจังหวัดพบผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจำนวนมาก ประกอบกับสถานการณ์โรค COVID-19 ที่ยังคงมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง แม้อาการของทั้งสองโรคนี้มีความคล้ายกันอย่างมาก จึงทำให้ยากในการวินิจฉัยโรคในเบื้องต้น แต่สามารถจะแยกแยะได้เมื่อมีการดำเนินโรค เพื่อไม่ให้เป็นที่สับสน เรามาทำความรู้จักกับสองโรคนี้กัน สาเหตุของโรคไข้เลือดออกและCOVID-19 เกิดจากอะไร? ไข้เลือดออก : เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ มี 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4 โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค COVID-19 : เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่2019 (SARS-CoV-2) สามารถแพร่จากคนสู่คนได้ทางละอองฝอย เสมหะน้ำลาย ผ่านการสัมผัสเยื่อบุตา จมูก ปาก อาการและการดำเนินโรคทั้งสองโรคนี้แตกต่างกันอย่างไร? ไข้เลือดออก : ไข้มักสูงลอยนานประมาณ 2-7วัน (อุณหภูมิมากกว่า38.5 oc) หน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา บางรายอาจมีถ่ายดำหรือถ่ายเป็นเลือดถ้ารุนแรง อาจเห็นจุดเลือดออกสีแดงเล็กๆ ตามผิวหนัง มักไม่พบอาการไอน้ำมูก หายใจลำบากหรือปอดอักเสบ COVID-19 : ไข้ต่ำถึงสูง (มากกว่า […]

Readmore
dFQROr7oWzulq5Fa5BtxopK47GUjV6wNKi2XNZcDTBBcTw9mUzlWbNNGyMv1Vu14uhZ

โคโรนา : อนามัยโลกตั้งชื่อ “โควิด-19”

November 22, 2023

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศชื่อที่เป็นทางการสำหรับใช้เรียกโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ว่า “โควิด-ไนน์ทีน” (Covid-19) โดยชื่อนี้มาจากคำย่อในภาษาอังกฤษของคำว่าโคโรนา ไวรัส และดีซีส (Disease) ที่แปลว่าโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งเลข 19 ซึ่งแสดงถึงปีที่มีรายงานการแพร่ระบาดครั้งแรก ดูหนังใหม่ นายเทดรอส อาดานอม เกเบรเยซัส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก แถลงดังข้างต้นที่นครเจนีวาของสวิตเซอร์แลนด์ และเรียกร้องให้ทั่วโลกต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจดังกล่าวอย่างถึงที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ หลังจากที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตล่าสุดสูงเกินกว่าหนึ่งพันราย และมียอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกกว่าสี่หมื่นรายแล้ว การประกาศชื่อทางการของโรคอุบัติใหม่มีขึ้น หลังบุคลากรในวงการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์เรียกร้องให้มีการตั้งชื่อที่เหมาะสมเพื่อป้องกันความสับสน รวมทั้งเพื่อหลีกเลี่ยงการเรียกชื่อแบบตีตรา ซึ่งมักชี้ว่ากลุ่มบุคคล สัตว์ ภูมิภาค หรือประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นแหล่งที่มาของเชื้อโรค ก่อนหน้านี้มีการเรียกชื่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และโรคไข้ปอดอักเสบที่เกิดขึ้นจากไวรัสชนิดนี้หลายชื่อ เช่นไข้อู่ฮั่น ไวรัสจีน หรือไข้หวัดค้างคาว ซึ่งล้วนแต่สร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโรคดังกล่าว ส่วนชื่อที่เป็นทางการของเชื้อไวรัส 2019-nCoV ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกชั่วคราวนั้น คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยอนุกรมวิธานวิทยาของไวรัส (International Committee on Taxonomy of Viruses ) ได้กำหนดให้ใช้ชื่อใหม่ว่า SARS-CoV-2 หรือไวรัสโคโรนาโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงชนิดที่สอง (Severe acute respiratory syndrome coronavirus […]

Readmore
G0DL5oPyrtt5HBAi4OUAJIDlN6JKYv4N3Ez68LowYtFaQZAk9puElt

ทำความสะอาดอย่างไร ปลอดภัยไกลโควิด-19

November 21, 2023

เนื่องจากไวรัสโคโรนา หรือเชื้อโควิด-19 สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นระยะเวลาหลายชั่วโมงถึงหลายวัน ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ตามพื้นผิวต่างๆ จึงควรใช้สารที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อได้ในระยะเวลาสั้น องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อในสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนสำคัญคือ การทำความสะอาด (Cleaning) และการฆ่าเชื้อโรค(Disinfection) และคำแนะนำสาร 3 ชนิดที่ทำลายเชื้อไวรัสได้ภายในระยะเวลา 1 นาที ได้แก่ สารประกอบ การเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมักจะประกอบด้วยสบู่หรือสารลดแรงตึงผิวช่วยลดจำนวนเชื้อโรคบนพื้นผิว และยังช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อบนพื้นผิว การทำความสะอาดเพียงอย่างเดียวก็สามารถช่วยขจัดไวรัสบนพื้นผิวได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการฆ่าเชื้อ ยกเว้นในกรณีที่พบว่ามีผู้ป่วยหรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในอาคาร เช่น น้ำสบู่ผงซักฟอก หรือน้ำยาทำความสะอาด –  กรณีเป็นสิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องใช้แนะนำให้ใช้แอลกอฮอล์ 70% หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.5% ในการเช็ดเพื่อฆ่าเชื้อโรค – กรณีเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น พื้นห้อง แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (น้ำยาซักผ้าขาว) 0.1% ขั้นตอนการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิว ควรมีการตรวจสอบพื้นผิวบริเวณที่จะทำความสะอาด หากพื้นผิวมีความสกปรก ควรทำความสะอาดเบื้องต้นก่อนที่จะทำการฆ่าเชื้อโรค โดยแนะนำขั้นตอนการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค ดังนี้ 1) อุปกรณ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ได้แก่ อุปกรณ์การตวง ถุงขยะ […]

Readmore
covid-art

ยาต้านไวรัสเอชไอวีอาจป้องกันโควิดได้

November 20, 2023

การวิจัยขนาดใหญ่ที่มีผู้เข้าร่วมการวิจัยเพศชายที่มีเอชไอวีมากกว่า 20,000 คนในสหรัฐอเมริกาแสดงว่ายาต้านไวรัสเอชไอวีทีดีเอฟ (TDF – tenofovir disoproxil fumarate) อาจช่วยป้องกันการป่วยโควิดที่มีอาการ หรือการป่วยเป็นโควิดที่มีอาการรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล และ/หรือที่รุนแรงจนต้องได้รับการรักษาในแผนกผู้ป่วยหนัก (intensive care) [1] การวิจัยดังกล่าวนำโดยนักศึกษาปริญญาเอก กุลลิน ลี (Guilin Li) จากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School) ร่วมกับกระทรวงการทหารผ่านศึก (Veterans Administration – VA) ของสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกาเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการรักษาที่เกี่ยวกับโควิดในอดีตทหารที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่ยาทีดีเอฟ (TDF) หรือยาแทฟ (TAF – tenofovir alafenamide ซึ่งเป็นยาสูตรใหม่ของ TDF) หรือยาอะบาคาเวียร์ (abacavir) ที่เป็นยาต้านไวรัสกลุ่ม nucleoside reverse transcriptase inhibitor (NRTI) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย หรือผู้ที่ไม่ได้ใช้ยาใดใดที่ระบุไปแล้วเลย การวิจัยพบว่าเมื่อเปรียบเทียบกับยากลุ่ม NRTI อีก 2 ชนิด ผู้ที่กินยาทีดีเอฟมีโอกาสที่จะเป็นโควิด-19 ที่ออกอาการตำ่กว่าผู้ที่กินยาต้านไวรัสอื่น […]

Readmore
med5

เด็กติดโควิด กินยาอะไรได้บ้าง?

November 18, 2023

เด็กติดเชื้อโควิด-19 กินยาอะไรได้บ้าง?ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุกช่วงอายุมีโอกาสการได้รับเชื้อเท่ากันไม่เว้นแม้แต่เด็ก ๆ ถึงแม้สถิติเด็กติดเชื้อจะยังไม่มาก หากติดเชื้อแล้วสามารถกินยาอะไรได้บ้าง ในระหว่างรอเตียงเพื่อรักษา ดูหนัง Netflix 1. ยาแก้ไอละลายเสมหะ (Mucolytics) 2. ยาแก้อาเจียน (Antiemetic) 3. ยาลดอาการคัดจมูก (Nasal decongestant) 4. ยาลดน้ำมูก (Antihistamine) 5. น้ำเกลือแร่แก้ท้องเสีย ORS 6. ยาลดไข้ (Antipyretics)

Readmore