พฤติกรรม 5 ป. เสี่ยงติด โควิด-19

December 31, 2022

“กรม สบส.” เผยพฤติกรรม 5 ป. เสี่ยง “โควิด-19” พบประชาชนไปกิน “หมูกระทะ” ชาบู สุกี้ร่วมกับเพื่อน ญาติ ครอบครัว เทศกาลปีใหม่มากที่สุด… เทศกาลปีใหม่เป็นเทศกาลที่หลายคน มีการเฉลิมฉลอง พบปะสังสรรค์ การทำกิจกรรม รวมถึงเดินทางกลับภูมิลำเนา และการท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ในวันหยุดยาว ที่อาจมีการรวมตัวของคนจำนวนมาก ซึ่งประชาชนสามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับโควิด-19 ในรูปแบบวิถีใหม่ โดยการป้องกันโควิด-19 หากไม่มีการป้องกันอาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 5 พฤติกรรมเสี่ยง ติดเชื้อโควิด กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยกองสุขศึกษา สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่องการวางแผนชีวิตในช่วงปีใหม่ จำนวน 26,365 คน กลุ่มตัวอย่างจากทุกภูมิภาค ดำเนินการระหว่างวันที่ 9 – 25 ธันวาคม 2565 พบ 5 อันดับที่ประชาชนมีแนวโน้มที่ จะทำพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ดังนี้ 1) ร้อยละ 78.7 ไปกินหมูกระทะ ชาบู สุกี้ ร่วมกับเพื่อน ญาติ ครอบครัว 2) ร้อยละ […]

Readmore

ยอดติดเชื้อโควิด-19 ขยับสูงขึ้น 

December 23, 2022

“อนุทิน” ชี้ แม้ยอดติดเชื้อโควิด-19 ขยับ แต่ยังอยู่ภายใต้การควบคุม ยันมียาเพียงพอ พร้อมชวนประชาชนฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์ ก่อนถึงเทศกาลปีใหม่ 2566… วันที่ 20 ธันวาคม 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล ถึงโอกาสการกลับมาเปิดศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ภายหลังยอดผู้ติดเชื้อขยับสูงขึ้นในช่วงที่กำลังจะเข้าสู่เทศกาลปีใหม่ 2566 ว่า ทุกอย่างยังอยู่ภายใต้การควบคุม และเราก็รณรงค์ให้ประชาชนฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์ ที่ผ่านมาได้รับรายงานว่ามีประชาชนไปรับบริการเป็นจำนวนมาก ขอย้ำว่าคนไทยควรต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 4 เข็มเพื่อความปลอดภัย ส่วนคำถามเรื่องความเป็นห่วงต่อการระบาดเนื่องจากประชาชนเดินทางจำนวนมากนั้น นายอนุทิน ตอบว่า คนไทยส่วนใหญ่ได้รับวัคซีน และมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติอยู่แล้ว ถึงแม้ว่าจะติดเชื้อก็ยังไม่มีอาการหนัก ยกเว้นกลุ่ม 608 (อายุ 60 ปีขึ้นไป, ผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์) ก็ต้องเร่งขอให้ลูกหลานและญาติโน้มน้าวไปให้ฉีดวัคซีน “เรามีองค์ประกอบหลายอย่าง ก็คือยา เรามียาโดยตรง ยารักษาตามอาการ ยาเฉพาะกลุ่ม 608 เรามียา Long Acting Antibody […]

Readmore

พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 “เดลตาครอน”

December 2, 2022

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ในประเทศ และติดตาม… เมื่อวันที่ (30 พ.ย.65) นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ในประเทศ และติดตามสายพันธุ์น่ากังวลที่อาจพบจากผู้เดินทางเข้าประเทศ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 19-25 พฤศจิกายน 2565 ผลการตรวจเฝ้าระวังแบบ SNP/Deletion ด้วยวิธี RT-PCR จำนวน 299 ราย พบว่า ในภาพรวมสัดส่วนของ BA.2.75 เพิ่มขึ้นเป็น 63.3% จากสัปดาห์ก่อนที่มีสัดส่วน 42.9% และเมื่อแยกตามกลุ่ม พบว่า ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นจาก 23.2% เป็น 43.9% และล่าสุดเป็น 58.8% จากการถอดรหัสพันธุกรรมแบบทั้งตัว (Whole genome sequencing) ของตัวอย่างในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน พบสายพันธุ์ BA.2.75 และลูกหลานของ BA.2.75 เช่น BA.2.75.2, BA.2.75.5.1 (BN.1), BA.2.75.1.2 (BL.2) มากกว่า 468 ราย (จำนวนนี้รวมจำนวน 216 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเข้าเพื่อเผยแพร่บนฐานข้อมูลสากล GISAID)  โดยพบว่า BN.1 และลูกหลาน มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อน ถึง 4 เท่าตัว การเพิ่มจำนวนที่รวดเร็วของเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์กลายพันธุ์ มีความเป็นไปได้ของการเพิ่มจำนวนการติดเชื้อจนกระทั่งทดแทนสายพันธุ์เดิมที่กระจายอยู่ในพื้นที่ นอกจากนี้พบสายพันธุ์ XBB.1 จำนวน 4 รายและ BQ.1 จำนวน 7 ราย สำหรับสายพันธุ์ XBC หรือ “เดลตาครอน” ขณะนี้พบในประเทศไทยแล้ว จำนวน 1 ราย ทั้งนี้สายพันธุ์ XBC เป็นสายพันธุ์ลูกผสมของเดลตาและโอมิครอน BA.2 โดยข้อมูล ณ วันที่ 20 […]

Readmore

สธ. เร่งฉีดวัคซีนกลุ่ม 608 หลังโควิด-19 ระบาด “ระลอกเล็ก”

November 28, 2022

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วโลก ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุข ออกมาระบุว่าเป็นการระบาดระลอกเล็ก นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเมื่อ 25 พ.ย. ว่า ขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น ส่วนผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น 10-20% ผู้เสียชีวิตไม่มากนัก เฉลี่ยไม่เกิน 10 ราย/วัน แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงต้องติดตามใกล้ชิด จากการประชุมร่วมกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วประเทศ รายงานว่าแต่ละแห่งยังรองรับสถานการณ์ได้แม้ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น เนื่องจากส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง รักษาแบบผู้ป่วยนอก แพทย์ให้ยาตามที่วินิจฉัย ส่วนการรักษาในโรงพยาบาล ยังไม่ได้เพิ่มขึ้นแบบมีนัยสำคัญจนต้องเพิ่มมาตรการ “ส่วนผู้สูงอายุที่มีข่าวเสียชีวิตที่บ้านช่วงนี้ คงต้องไปดูการเสียชีวิตแต่ละราย หลายรายอาการไม่เหมือนโควิด อยู่ ๆ เสียชีวิต ไปตรวจเอทีเคพบ (ผลเป็นพวก) แต่การตรวจเอทีเคเป็นการคัดกรองเบื้องต้น การวินิจฉัยยืนยันต้องตรวจรายละเอียดมากกว่านั้น กรมควบคุมโรคจะลงไปดูรายละเอียด” นพ.โอภาสกล่าว ปลัด สธ. ระบุด้วยว่า การระบาดรอบนี้ทุกอย่างยังเป็นไปตามที่คาดการณ์ เป็นลักษณะ Small Wave (การระบาดระลอกเล็ก) การมีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเพิ่มขึ้นก็ยังอยู่ในการคาดการณ์ จะเพิ่มตามวงรอบคือ ช่วง พ.ย. […]

Readmore

โควิด-19 รอบสัปดาห์

November 22, 2022

กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ ระบุว่า ข้อมูลของสัปดาห์ที่ 46 ปี 2565 ระหว่างวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565- 19… กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ ระบุว่า ข้อมูลของสัปดาห์ที่ 46 ปี 2565 ระหว่างวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565- 19 พฤศจิกายน 2565 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่สะสม 3,957 คน เฉลี่ยวันละ 565 คน รวมสะสมตั้งแต่ต้นปี 2,478,895 คน หายป่วยสะสม  2,478,895 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ขณะที่มีผู้เสียชีวิตรายใหม่ 69 คน เฉลี่ยวันละ 9 คน รวมสะสม 11,408 คน (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)  มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 432 คน และต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 252 คน  ส่วนจำนวนผู้ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ณ วันที่ ฉีดวัคซีนสะสม 143,059,913โดส เฉลี่ยวันละ 3,785 โดส แบ่งเป็น วัคซีนเข็มที่ 1 […]

Readmore

โควิดวันนี้ แนวทางตรวจ ATK ล่าสุด

November 18, 2022

(17 พ.ย.2565) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หรือ “หมอยง” หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์… ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ มีภูมิต้านทานไม่ว่าจะจากวัคซีน หรือการติดเชื้อความรุนแรงของโรคลดลง ปัญหาอยู่ในกลุ่มเปราะบาง โรคเรื้อรังแนวทางการปฏิบัติการตรวจ ATK จึงมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ในสถานการณ์ปัจจุบัน ในคนปกติทั่วไป ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ ATK เช่น นักเรียนจะไปโรงเรียน การเข้าร่วมประชุม การตรวจ ATK ควรทำในผู้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ หรือไปสัมผัสกับผู้ป่วย คือสัมผัสโรคมานั่นเอง การปฏิบัติของโรงเรียนที่ให้นักเรียนตรวจทุกสัปดาห์ จึงไม่มีความจำเป็น จะตรวจเฝ้าระวังเฉพาะผู้ที่มีอาการของโรคหรือผู้สัมผัสโรค หรือคิดว่าตัวเองเสี่ยงในการเกิดโรค และทุกคนจะต้องรับผิดชอบ มีระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด มีความซื่อสัตย์ ผู้สัมผัสโรคจะตรวจเมื่อมีอาการ หรือตรวจในวันที่ 3 และ 5-7 ของสัมผัสโรค ถ้าให้ผลลบ ก็น่าจะปลอดภัยจากการติดโรค ในผู้ที่ตรวจ ATK ได้ 2 ขีด ให้เข้ารับการรักษา ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจอีก ให้กักตัวเอง 5 วัน และเข้มงวดป้องกันเมื่อออกสู่สังคมอีก 5 วัน ไม่ใช่ว่าตรวจ ATK แล้วพบว่าขีดเดียวแล้วจะทำอะไรก็ได้ […]

Readmore

“หมอธีระ”เผยติดเชื้อ โควิด-19 เพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวาน

November 14, 2022

“หมอธีระ” เผย “โควิด-19” Omicron มีความเสี่ยงติดเชื้อซ้ำได้มาก.อัปเดตความรู้เกี่ยวกับกลไกที่อาจทำให้เกิดโรคเบาหวาน หลังจากที่ติดเชื้อ “โควิด-19”  เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ “หมอธีระ” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” ถึงประเด็น “โควิด-19” ระบุว่า  เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 243,656 คน ตายเพิ่ม 484 คน รวมแล้วติดไป 639,787,920 คน เสียชีวิตรวม 6,613,113 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุด คือ เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 92.02 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 87.47 อัปเดตโควิด-19 และกลไกเบาหวาน ดังที่ทราบกันมาก่อนหน้านี้จากงานวิจัยหลายชิ้นทั่วโลกว่า การติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ Groß R และคณะ […]

Readmore

โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย บุกไทย

November 4, 2022

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงความคืบหน้าการติดตามสถานการณ์การเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงความคืบหน้าการติดตามสถานการณ์การเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ว่า ขณะนี้แม้เชื้อโควิด-19 จะมีการกลายพันธุ์ไปมาก แต่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่า การระบาดทั่วโลกยังเป็นตระกูลสายพันธุ์โอมิครอนเช่นเดิม โดยมีสายพันธุ์ย่อยกว่า 390 สายพันธุ์ และเป็นสายพันธุ์ลูกผสม 48 สายพันธุ์ โดยภาพรวมยังเป็นโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5 ส่วนสายพันธุ์ย่อยบางตัวมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น เช่น สายพันธุ์ย่อย XBB, BA.4.6, BQ.1 เป็นต้น นพ.ศุภกิจกล่าวต่อว่า ส่วนการตรวจหาสายพันธุ์ในประเทศไทยนั้นยังดำเนินการต่อเนื่องทุกสัปดาห์ โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 22-28 ต.ค.2565 สุ่มตรวจ 143 ตัวอย่าง พบสายพันธุ์ BA.2.75 จำนวน 10 คน จึงทำให้สัดส่วน BA.2.75 เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามไทยพบโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่องค์การอนามัยโลกระบุให้เฝ้าติดตามสะสมจนถึงวันที่ 28 ต.ค.2565 เช่น BF.5 พบ 6 คน, BF.7 พบ […]

Readmore

กรมควบคุมโรค ยกระดับ คุม สนามบิน

October 15, 2022

รวมทั้งติดตามสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ภายใต้ความร่วมมือของกฎอนามัยระหว่างประเทศ … เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่ “กรมควบคุมโรค” ยกระดับ เฝ้าระวัง สนามบินสุวรรณภูมิ ตรวจเข้มผู้โดยสาร ป้องกันการแพร่ระบาด โควิด-19 “สายพันธุ์ XBB” (14 ตุลาคม 2565) นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รักษาราชการแทน อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า จากกรณีมีการตรวจพบ ผู้ติดเชื้อโควิด “สายพันธุ์ XBB” จำนวน 29 คน โดยตรวจพบตอนเดินทางมาถึง ในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง 24 คน และอีก 5 คน ตรวจพบหลังอยู่ในฮ่องกง 2 วัน ส่วนใหญ่เป็นผู้เดินทางมาจากสิงคโปร์ นอกจากนี้ ยังพบ 3 ราย เดินทางมาจากประเทศไทย ซึ่ง กรมควบคุมโรค ได้ประสานหน่วยงานสาธารณสุข ผ่านกลไกกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulation: IHR) เพื่อขอทราบข้อมูล 3 รายนี้ ว่าเป็นใคร อาศัยในไทย หรือเป็นผู้โดยสารต่อเครื่องบิน […]

Readmore

รถตู้เมืองกรุง! เผยยอดผู้โดยสารเริ่มกลับมาแล้วครึ่งหนึ่ง

October 14, 2022

อยู่ที่ประมาณครึ่งหนึ่งหรือคิดเป็น 50% ถ้าเทียบกับช่วงที่ไม่มีสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด-19 เมื่อปี 62… นายปัญญา เลิศหงิม นายกสมาคมรถตู้โดยสารสาธารณะ กรุงเทพฯ ปริมณฑล เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้โดยสารใช้บริการถรถตู้โดยสารสาธารณะ หมวด 1 และ หมวด 4 เส้นทางกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่เป็นรถร่วมบริการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)  อยู่ที่ประมาณครึ่งหนึ่งหรือคิดเป็น 50%  ถ้าเทียบกับช่วงที่ไม่มีสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด-19 เมื่อปี 62 ที่มีผู้โดยสารใช้บริการ 100% ผู้โดยสารที่ใช้บริการส่วนใหญ่ยังเป็นวัยทำงาน ส่วนมากหนาแน่นช่วงเร่งด่วนเช้า เวลา 06.00-09.00 น. และ เร่งด่วนเย็น 16.00-20.00 น. โดยช่วงเร่งด่วนผู้โดยสารจะใช้บริการเต็มเกือบทุกเที่ยว ในจำนวนรถตู้ที่มีจำนวน 13 ที่นั่งต่อคัน ส่วนนอกเวลาเร่งด่วนจะให้บริการตามความต้องการของผู้โดยสารและใช้บริการอยู่ที่ 4-5 คนต่อคันต่อเที่ยว… นายปัญญา กล่าวต่อว่า จากการให้บริการในขณะนี้พบว่า ผู้ประกอบการรถตู้มีรายได้อยู่ที่ 1,200-1,500 บาทต่อคันต่อวัน ในจำนวนนี้ยังไม่หักใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งถ้าหักค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเชื้อเพลิง แล้วเหลือประมาณไม่เกิน 500 บาท ซึ่งถือว่าไม่เพียงพอที่สามารถนำมาบริหารจัดการเดินรถได้ ทั้งนี้ยังพบว่า รถตู้ที่ให้บริการยังมีการเดินรถทับเส้นทางที่ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะประเภทอื่นๆ […]

Readmore