วิธีที่จะอยู่ร่วมกับโรคโควิด-19 

December 25, 2022

ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) โพสต์เฟซบุ๊กประเด็น “โควิด-19” … สู้กับโควิด ไม่มีสูตรใดสูตรหนึ่งเป็นสูตรสำเร็จ คนต้องมีสุขภาพดี… (24 ธ.ค.2565) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กประเด็น “โควิด-19” แนะวิธีอยู่ร่วมกับโรคโควิด-19 ทำอย่างไรบ้าง โดยตั้งหัวข้อว่า “ทำอย่างไรจะอยู่ฟ้าเดียวกันกับโควิดได้” สู้กับโควิด ไม่มีสูตรใดสูตรหนึ่งเป็นสูตรสำเร็จ คนต้องมีสุขภาพดี วัคซีนไม่ถึงกับต้องมากมายนัก ติดไปแล้วกลับกลายเป็นดีในระยะหลัง (ถ้าไม่เจ๊งจาก ลองโควิด) และต้องระแวดระวังติดตามสถานการณ์เคร่งครัด อาการเริ่มมา สกัดกั้นด้วยยาในทันที ตัวอย่างประเทศที่มีความสำเร็จอย่างสูง มีความเป็นปึกแผ่นในรากฐานของรัฐบาล วิทยาศาสตร์ และประชาชน เช่น ประเทศเดนมาร์ก ทั้งนี้โดยที่มีระบบสาธารณสุขที่โปร่งใส ใช้วิทยาศาสตร์ในการเข้าใจโควิดอย่างเที่ยงตรงและประชาชนมีความไว้ใจรัฐบาลมาอย่างเนิ่นนาน ประเทศเดนมาร์กประกาศในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 แล้วว่า เราจะอยู่ใต้ฟ้าเดียวกันกับโควิด ทั้งนี้ ประเทศเดนมาร์กถูกรุกรานด้วยโอมิครอน BA1 ก่อน และถูกแทนที่ด้วยโอมิครอน BA2 และสายต่อๆมา และด้วยความที่เป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าอย่างสูงในการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสอย่างหมดจดตลอดเวลา ทำให้ทราบข้อมูลจริงของการติดเชื้อ การระบาด และวิเคราะห์แยกแยะความรุนแรงของการเสียชีวิตหรืออาการหนักที่ต้องเข้าโรงพยาบาล ทั้งนี้ ด้วยต้นทุนทางสุขภาพของประชาชนในประเทศที่แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวที่เมื่อติดโควิดจากที่ควรจะอาการเบาจะกลายเป็นหนักสาหัส ทำให้เดนมาร์กประกาศอิสรภาพต่อภาวะเข้มงวดกวดขัน โดยให้คนแข็งแรงหนุ่มสาวเริ่มปฏิบัติอาชีพภารกิจได้อย่างเต็มที่ เพราะถือว่ามีภูมิทางจากการติดเชื้อและจากการฉีดวัคซีน แต่ในขณะเดียวกันตระหนักถึงผู้สูงวัยและผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยมีมาตรการในการป้องกันและรักษากลุ่มคนเปราะบางเหล่านี้ […]

Readmore

ยอดติดเชื้อโควิด-19 ขยับสูงขึ้น 

December 23, 2022

“อนุทิน” ชี้ แม้ยอดติดเชื้อโควิด-19 ขยับ แต่ยังอยู่ภายใต้การควบคุม ยันมียาเพียงพอ พร้อมชวนประชาชนฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์ ก่อนถึงเทศกาลปีใหม่ 2566… วันที่ 20 ธันวาคม 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล ถึงโอกาสการกลับมาเปิดศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ภายหลังยอดผู้ติดเชื้อขยับสูงขึ้นในช่วงที่กำลังจะเข้าสู่เทศกาลปีใหม่ 2566 ว่า ทุกอย่างยังอยู่ภายใต้การควบคุม และเราก็รณรงค์ให้ประชาชนฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์ ที่ผ่านมาได้รับรายงานว่ามีประชาชนไปรับบริการเป็นจำนวนมาก ขอย้ำว่าคนไทยควรต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 4 เข็มเพื่อความปลอดภัย ส่วนคำถามเรื่องความเป็นห่วงต่อการระบาดเนื่องจากประชาชนเดินทางจำนวนมากนั้น นายอนุทิน ตอบว่า คนไทยส่วนใหญ่ได้รับวัคซีน และมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติอยู่แล้ว ถึงแม้ว่าจะติดเชื้อก็ยังไม่มีอาการหนัก ยกเว้นกลุ่ม 608 (อายุ 60 ปีขึ้นไป, ผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์) ก็ต้องเร่งขอให้ลูกหลานและญาติโน้มน้าวไปให้ฉีดวัคซีน “เรามีองค์ประกอบหลายอย่าง ก็คือยา เรามียาโดยตรง ยารักษาตามอาการ ยาเฉพาะกลุ่ม 608 เรามียา Long Acting Antibody […]

Readmore

หมอธีระ เตือนต่อเนื่องจาก WHO

December 17, 2022

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ “หมอธีระ” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงประเด็น “โควิด-19” ระบุว่า… จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 89.59 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 71.58 เสียงเตือนต่อเนื่องจาก WHO Dr.Maria Van Kerkhove, COVID-19 technical lead ขององค์การอนามัยโลก ยังส่งสัญญาณเตือนอย่างต่อเนื่องให้ตระหนักถึงสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ไข้หวัดใหญ่ และ RSV ปัจจุบันอัตราการติดเชื้อแพร่เชื้ออยู่ในระดับสูงมาก จำเป็นต้องป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอเพื่อตัวคุณเองและคนที่คุณรัก ไปรับวัคซีนให้ครบ เว้นระยะห่างจากคนอื่น ระวังเรื่องการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้อื่นนอกบ้าน ไม่แชร์ของกินของใช้กัน ระวังสถานที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี หากประกอบกิจการใดๆ ก็ควรหาทางปรับปรุงเรื่องการระบายอากาศในสถานที่ของตนเองให้ดี ล้างมือทุกครั้งหลังจับต้องสิ่งของสาธารณะ พกเจลหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ไว้ติดตัวจะได้ใช้ได้สะดวก ที่สำคัญมากคือ ใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอเวลาออกไปตะลอนนอกบ้าน ทำงาน เรียน หรือเดินทางท่องเที่ยว หากไม่สบาย ควรแยกตัวจากผู้อื่น […]

Readmore

สธ.ปรับแนวทางการรักษาโควิด19 ใหม่

November 30, 2022

ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ย.2565 ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขโรคโควิด-19 ให้… เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2565 ที่กรมการแพทย์ นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ย.2565 ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขโรคโควิด-19 ให้ความเห็นชอบแนวทางการรักษาโรคโควิด-19 ฉบับที่ 26 และกรมการแพทย์ ได้มีการประชุมแพทย์ในกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อทำความเข้าใจ โดยที่มีการปรับ คือ เพิ่มการใช้ LAAB หรือภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ในการรักษาผู้ป่วยโรคกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง        แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการ จะรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยยาที่ใช้รักษา ได้แก่ ยาฟาวิพิราเวียร์สำหรับเด็ก  ส่วนผู้ใหญ่ให้ยาโมลนูพิราเวียร์ หากเป็นกลุ่มเสี่ยง อาจให้ LAAB หรือ ให้ LAAB คู่กับยาต้านไวรัสอื่นๆ ซึ่งขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์    สาระสำคัญที่มีการปรับปรุง แบ่งเป็น 4 กรณี 1.ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือสบายดี  ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก ให้ปฏิบัติตนป้องกันอย่างเคร่งครัดอย่างน้อย 5 วัน 2.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง […]

Readmore

สธ. เร่งฉีดวัคซีนกลุ่ม 608 หลังโควิด-19 ระบาด “ระลอกเล็ก”

November 28, 2022

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วโลก ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุข ออกมาระบุว่าเป็นการระบาดระลอกเล็ก นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเมื่อ 25 พ.ย. ว่า ขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น ส่วนผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น 10-20% ผู้เสียชีวิตไม่มากนัก เฉลี่ยไม่เกิน 10 ราย/วัน แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงต้องติดตามใกล้ชิด จากการประชุมร่วมกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วประเทศ รายงานว่าแต่ละแห่งยังรองรับสถานการณ์ได้แม้ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น เนื่องจากส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง รักษาแบบผู้ป่วยนอก แพทย์ให้ยาตามที่วินิจฉัย ส่วนการรักษาในโรงพยาบาล ยังไม่ได้เพิ่มขึ้นแบบมีนัยสำคัญจนต้องเพิ่มมาตรการ “ส่วนผู้สูงอายุที่มีข่าวเสียชีวิตที่บ้านช่วงนี้ คงต้องไปดูการเสียชีวิตแต่ละราย หลายรายอาการไม่เหมือนโควิด อยู่ ๆ เสียชีวิต ไปตรวจเอทีเคพบ (ผลเป็นพวก) แต่การตรวจเอทีเคเป็นการคัดกรองเบื้องต้น การวินิจฉัยยืนยันต้องตรวจรายละเอียดมากกว่านั้น กรมควบคุมโรคจะลงไปดูรายละเอียด” นพ.โอภาสกล่าว ปลัด สธ. ระบุด้วยว่า การระบาดรอบนี้ทุกอย่างยังเป็นไปตามที่คาดการณ์ เป็นลักษณะ Small Wave (การระบาดระลอกเล็ก) การมีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเพิ่มขึ้นก็ยังอยู่ในการคาดการณ์ จะเพิ่มตามวงรอบคือ ช่วง พ.ย. […]

Readmore

“หมอธีระ” เผยอาการหลังติด โควิด19

November 26, 2022

“หมอธีระ” เผยผลวิจัยอาการหลังติด “โควิด-19” พบสมองส่วนหน้า-ก้านสมอง ผิดปกติ ส่งผลต่อทุกระบบในร่างกาย และเกิดความเสี่ยงของภาวะผิดปกติระยะยาว รวม… เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ “หมอธีระ” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” ถึงประเด็น “โควิด-19” ระบุว่า  เมื่อวาน โควิด-19ทั่วโลก ติดเพิ่ม 165,881 คน ตายเพิ่ม 669 คน รวมแล้วติดไป 643,292,587 คน เสียชีวิตรวม 6,626,956 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุด คือ เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.22 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 74.43 อัปเดตโควิด-19 กับการเปลี่ยนแปลงของสมอง Mishra SS และคณะ จาก the […]

Readmore

สถานการณ์โรคโควิด-19 ในไทย

November 24, 2022

ประเทศไทยช่วงนี้มีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นบางพื้นที่ ส่วนผู้ป่วยอาการหนักและผู้เสียชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่ง… รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา สาเหตุที่พบผู้ติดเชื้อมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากที่ช่วงปลายปีมีกิจกรรมรวมตัวหนาแน่น มีการเปิดเทอม มีเทศกาลต่างๆ ช่วงฤดูหนาวที่ทำให้เชื้ออยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น และภูมิคุ้มกันที่ได้จากการฉีดวัคซีนลดลง ข้อมูลการตรวจเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ และติดตามสายพันธุ์น่ากังวลที่อาจพบจากผู้เดินทางเข้าประเทศ ระหว่างวันที่ 12-18 พ.ย. พบสัดส่วนของ BA.2.75 เพิ่มขึ้นเป็น 42.9% จากสัปดาห์ก่อนที่มีสัดส่วน 23.6% เพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ติดเชื้อในประเทศจาก 23.2% เป็น 43.9% โดยเฉพาะพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2, 6, 11 และ 12  สัดส่วนมากกว่าครึ่งเป็นสายพันธุ์ BA.2.75  นอกจากนี้ยังพบสายพันธุ์ BQ.1 ที่ระบาดในอเมริกาและยุโรป จำนวน 9 ราย ส่วนสายพันธุ์ XBB ที่ระบาดมากในสิงคโปร์ พบจำนวน 13 ราย แต่ยังไม่พบสัญญาณความรุนแรงของเชื้อที่กลายพันธุ์แต่อาจจะทำให้มีการแพร่และติดเชื้อง่ายขึ้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุเมื่อ วันที่ 21 พ.ย. ไว้ว่า มีความเสี่ยงที่เชื้อโรคอันตรายถึงชีวิต 9 ชนิด จะเกิดการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ได้อีกครั้ง ประกอบด้วย เชื้อโคโรนาไวรัส หรือโควิด-19, เชื้อไวรัสอีโบลา, […]

Readmore

โควิด-19 รอบสัปดาห์

November 22, 2022

กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ ระบุว่า ข้อมูลของสัปดาห์ที่ 46 ปี 2565 ระหว่างวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565- 19… กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ ระบุว่า ข้อมูลของสัปดาห์ที่ 46 ปี 2565 ระหว่างวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565- 19 พฤศจิกายน 2565 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่สะสม 3,957 คน เฉลี่ยวันละ 565 คน รวมสะสมตั้งแต่ต้นปี 2,478,895 คน หายป่วยสะสม  2,478,895 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ขณะที่มีผู้เสียชีวิตรายใหม่ 69 คน เฉลี่ยวันละ 9 คน รวมสะสม 11,408 คน (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)  มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 432 คน และต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 252 คน  ส่วนจำนวนผู้ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ณ วันที่ ฉีดวัคซีนสะสม 143,059,913โดส เฉลี่ยวันละ 3,785 โดส แบ่งเป็น วัคซีนเข็มที่ 1 […]

Readmore

“หมอธีระ”เผยติดเชื้อ โควิด-19 เพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวาน

November 14, 2022

“หมอธีระ” เผย “โควิด-19” Omicron มีความเสี่ยงติดเชื้อซ้ำได้มาก.อัปเดตความรู้เกี่ยวกับกลไกที่อาจทำให้เกิดโรคเบาหวาน หลังจากที่ติดเชื้อ “โควิด-19”  เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ “หมอธีระ” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” ถึงประเด็น “โควิด-19” ระบุว่า  เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 243,656 คน ตายเพิ่ม 484 คน รวมแล้วติดไป 639,787,920 คน เสียชีวิตรวม 6,613,113 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุด คือ เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 92.02 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 87.47 อัปเดตโควิด-19 และกลไกเบาหวาน ดังที่ทราบกันมาก่อนหน้านี้จากงานวิจัยหลายชิ้นทั่วโลกว่า การติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ Groß R และคณะ […]

Readmore

โควิด19 รอบใหม่แนวโน้มติดเชื้อสูง

November 12, 2022

“หมอยง” ระบุ ไทยควรเตรียมรับมือ “โควิด19” ระบาด รอบใหม่ แนวโน้มติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น หลังเข้าสู่โรคประจำฤดูกาล หมอยง ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึง การเข้าสู่ โรคประจำฤดูกาล ของ “โควิด19” และมีแนวโน้มที่ยอดติดเชื้อจะสูงขึ้นว่า ดังที่ได้เคยกล่าวไว้ โรคทางเดินหายใจ ประจำฤดูกาล จะพบมีการระบาดอย่างมากใน ฤดูฝน ในช่วงนักเรียนเปิดเทอมแรก และจะลดลงในช่วงปิดเทอม เดือนตุลาคม หลังจากนั้นเมื่อนักเรียนเปิดเทอม และเข้าสู่ ฤดูหนาว จะพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป และจะอยู่ในจุดสูงสุดในเดือนมกราคม แต่จะพบความชุกน้อยกว่าในช่วง ฤดูฝน และจะค่อยๆ สงบลง ในเดือนมีนาคมจนถึงเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงที่พบน้อยที่สุด และจะไปเริ่มต้นใหม่อีกครั้งหนึ่งของ โรคทางเดินหายใจ ในเดือนมิถุนายน เป็นวงจรตามฤดูกาลของประเทศไทย ในประเทศซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ จะสูงสุดในช่วง ฤดูหนาว ของซีกโลกนั้น  ดังนั้น โรคนี้กำลังจะค่อยๆ สูงขึ้นในยุโรปและอเมริกาอีกครั้งหนึ่ง เพราะกำลังจะเข้าสู่ ฤดูหนาว แต่ประเทศไทยมีฤดูหนาวที่สั้นมาก และไม่ได้หนาวจริง มีแต่ร้อน ร้อนมาก ร้อนน้อย จึงพบโรคทางเดินหายใจได้เกือบตลอดปี แต่จะพบมากใน ฤดูฝน และเป็นช่วงที่เด็กเปิดเทอมแรกของปี การเตรียมตัวตั้งรับ โรค “โควิด19” ระบาดรอบใหม่ จะต้องเตรียมตัวได้แล้ว เราจะเห็นผู้ป่วยเพิ่มขึ้น รวมทั้งผู้ป่วยที่จะต้องเข้านอนโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็จะไม่มากเท่าในช่วงระบาดสูงสุดที่ผ่านมา ปัญหามีอยู่ว่า สำหรับปีหน้า ที่จะมีการ ระบาด อย่างมากในเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ในปีต่อไปเราจะเตรียมวัคซีนอย่างไร ต้องเตรียมจำนวนมากเท่าไหร่ หรือจัดเตรียมกระตุ้นแบบ ไข้หวัดใหญ่ คือให้เฉพาะกลุ่มเปราะบาง กลุ่มเสี่ยงที่เป็นแล้ว จะรุนแรง 

Readmore