“โรคโควิด-19” ปี 2566 อ่อนแรง

December 31, 2022

หลัง 2 ปี 9 เดือน ที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ประเทศไทยประกาศลดระดับจากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังตั้งแต่ 1 ต.ค.2565 และในปี 2566 … นับตั้งแต่ม.ค.2563 จนถึง 24 ธ.ค.2565  ประเทศไทยมีการระบาดหลายระลอก หลากหลายสายพันธุ์ไวรัสที่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่อู่ฮั่น อัลฟา เดลตา โอมิครอน จนถึงโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยต่างๆ มีรายงานผู้ติดเชื้อสะสม 2,498,373  ราย ผู้เสียชีวิตสะสม 11,896 ราย  และมีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 150 ล้านโดส ฉายภาพโควิด-19ปี 66   นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ฉายภาพสถานการณ์โควิด-19ในปี 2566 ว่า  การระบาดถ้าเทียบกับปีนี้คงไม่แตกต่างกัน คาดว่าเชื้อไม่น่าจะกลายพันธุ์ไปมากนัก ยังคงต้องเติมภูมิคุ้มกันให้กลุ่มเสี่ยง สามารถใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติมากที่สุด โดยใช้ชีวิตแบบอยู่ร่วมกับโควิด     ทั้งนี้ พิจารณาจาก 3 ปัจจัย คือ 1.เชื้อโรค จะยังคงมีการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ แต่เป็นการกลายพันธุ์แบบย่อยๆ เล็กน้อย ซึ่งตอนนี้สายพันธุ์หลักเป็นโอมิครอนมา 1 ปีแล้ว ยังไม่เปลี่ยนเป็นสายพันธุ์หลักตัวอื่น ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีการติดตาม เฝ้าระวังสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง หากมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญก็จะประกาศให้ประชาชนทราบ     […]

Readmore

พฤติกรรม 5 ป. เสี่ยงติด โควิด-19

December 31, 2022

“กรม สบส.” เผยพฤติกรรม 5 ป. เสี่ยง “โควิด-19” พบประชาชนไปกิน “หมูกระทะ” ชาบู สุกี้ร่วมกับเพื่อน ญาติ ครอบครัว เทศกาลปีใหม่มากที่สุด… เทศกาลปีใหม่เป็นเทศกาลที่หลายคน มีการเฉลิมฉลอง พบปะสังสรรค์ การทำกิจกรรม รวมถึงเดินทางกลับภูมิลำเนา และการท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ในวันหยุดยาว ที่อาจมีการรวมตัวของคนจำนวนมาก ซึ่งประชาชนสามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับโควิด-19 ในรูปแบบวิถีใหม่ โดยการป้องกันโควิด-19 หากไม่มีการป้องกันอาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 5 พฤติกรรมเสี่ยง ติดเชื้อโควิด กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยกองสุขศึกษา สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่องการวางแผนชีวิตในช่วงปีใหม่ จำนวน 26,365 คน กลุ่มตัวอย่างจากทุกภูมิภาค ดำเนินการระหว่างวันที่ 9 – 25 ธันวาคม 2565 พบ 5 อันดับที่ประชาชนมีแนวโน้มที่ จะทำพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ดังนี้ 1) ร้อยละ 78.7 ไปกินหมูกระทะ ชาบู สุกี้ ร่วมกับเพื่อน ญาติ ครอบครัว 2) ร้อยละ […]

Readmore

“โควิด -19 วันนี้” ที่ จ. ชลบุรี

December 27, 2022

โควิดวันนี้ สสจ.ชลบุรี รายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำสัปดาห์ ช่วงวันที่ 18-24 ธันวาคม 2565 จังหวัดชลบุรีมีผู้ติดเชื้อยืนยันรายใหม่ 57 ราย – ไม่รวม ATK อีก 3,946 “โควิดวันนี้” รายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำสัปดาห์ที่ 51 วันที่ 18-24 ธันวาคม 2565 จังหวัดชลบุรีมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยืนยันรายใหม่ RT-PCR จำนวน 57 ราย และผู้เข้าข่ายติดเชื้อโควิด-19 ATK อีก 3,946 ราย และมีผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจรายใหม่ 9 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบรายใหม่ 4 ราย ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 11 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิตสะสม 551 ราย ณ วันที่ 18-24 ธันวาคม 2565 จังหวัดชลบุรี มีรายงานผู้เสียชีวิต 11 ราย […]

Readmore

“หมอยง” เผยผลศึกษาการเสียชีวิต

December 25, 2022

ทั้งนี้ จากรูปที่รายงานโดยองค์การอนามัยโลก ประเทศไทยมีการประเมินการเสียชีวิตส่วนเกิน ในเวลาดังกล่าวที่มีการระบาดของโควิด-19 ในอัตราน้อยกว่าหลาย… “หมอยง” เผยผลศึกษาการเสียชีวิตส่วนเกิน ในช่วงการระบาดของ “โควิด-19” เมื่อเปรียบเทียบกับภาวะปกติที่ไม่มีโรคระบาด วันที่ 24 ธันวาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความเรื่อง “การเสียชีวิตในช่วงการระบาดของโควิด-19” โดยระบุว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดการสูญเสียโอกาสในการดูแลรักษาโรคอื่นๆ ทำให้โรคอื่นๆ เสียชีวิตเนื่องจากการเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ลดน้อยลง การที่ต้องอยู่บ้าน การล็อกดาวน์ รวมทั้งมีการงด OPD งดการผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยหรือโรคบางโรค ไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงที เป็นเหตุให้เสียโอกาสและเสียชีวิต จึงมีการศึกษาถึงการเสียชีวิตส่วนเกินจากช่วงโควิด-19 ระบาด เมื่อเปรียบเทียบกับภาวะปกติที่ไม่มีโรคระบาด ขณะที่ องค์การอนามัยโลก ได้ประเมินการสูญเสียชีวิตส่วนเกิน ที่เกิดขึ้นในช่วงการระบาดของโควิด เปรียบเทียบกับการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เป็นตัวเลขที่น่าสนใจ โดยการเสียชีวิตส่วนเกินมีถึง 14.83 ล้านคน สูงกว่าการตายจากโควิด-19 ทั่วทั้งโลกถึง 2.7 เท่า การตายจากโรคโควิด-19 มีจำนวน 5.42 ล้านคนในช่วงเวลาเดียวกัน

Readmore

วิธีที่จะอยู่ร่วมกับโรคโควิด-19 

December 25, 2022

ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) โพสต์เฟซบุ๊กประเด็น “โควิด-19” … สู้กับโควิด ไม่มีสูตรใดสูตรหนึ่งเป็นสูตรสำเร็จ คนต้องมีสุขภาพดี… (24 ธ.ค.2565) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กประเด็น “โควิด-19” แนะวิธีอยู่ร่วมกับโรคโควิด-19 ทำอย่างไรบ้าง โดยตั้งหัวข้อว่า “ทำอย่างไรจะอยู่ฟ้าเดียวกันกับโควิดได้” สู้กับโควิด ไม่มีสูตรใดสูตรหนึ่งเป็นสูตรสำเร็จ คนต้องมีสุขภาพดี วัคซีนไม่ถึงกับต้องมากมายนัก ติดไปแล้วกลับกลายเป็นดีในระยะหลัง (ถ้าไม่เจ๊งจาก ลองโควิด) และต้องระแวดระวังติดตามสถานการณ์เคร่งครัด อาการเริ่มมา สกัดกั้นด้วยยาในทันที ตัวอย่างประเทศที่มีความสำเร็จอย่างสูง มีความเป็นปึกแผ่นในรากฐานของรัฐบาล วิทยาศาสตร์ และประชาชน เช่น ประเทศเดนมาร์ก ทั้งนี้โดยที่มีระบบสาธารณสุขที่โปร่งใส ใช้วิทยาศาสตร์ในการเข้าใจโควิดอย่างเที่ยงตรงและประชาชนมีความไว้ใจรัฐบาลมาอย่างเนิ่นนาน ประเทศเดนมาร์กประกาศในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 แล้วว่า เราจะอยู่ใต้ฟ้าเดียวกันกับโควิด ทั้งนี้ ประเทศเดนมาร์กถูกรุกรานด้วยโอมิครอน BA1 ก่อน และถูกแทนที่ด้วยโอมิครอน BA2 และสายต่อๆมา และด้วยความที่เป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าอย่างสูงในการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสอย่างหมดจดตลอดเวลา ทำให้ทราบข้อมูลจริงของการติดเชื้อ การระบาด และวิเคราะห์แยกแยะความรุนแรงของการเสียชีวิตหรืออาการหนักที่ต้องเข้าโรงพยาบาล ทั้งนี้ ด้วยต้นทุนทางสุขภาพของประชาชนในประเทศที่แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวที่เมื่อติดโควิดจากที่ควรจะอาการเบาจะกลายเป็นหนักสาหัส ทำให้เดนมาร์กประกาศอิสรภาพต่อภาวะเข้มงวดกวดขัน โดยให้คนแข็งแรงหนุ่มสาวเริ่มปฏิบัติอาชีพภารกิจได้อย่างเต็มที่ เพราะถือว่ามีภูมิทางจากการติดเชื้อและจากการฉีดวัคซีน แต่ในขณะเดียวกันตระหนักถึงผู้สูงวัยและผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยมีมาตรการในการป้องกันและรักษากลุ่มคนเปราะบางเหล่านี้ […]

Readmore

ยอดติดเชื้อโควิด-19 ขยับสูงขึ้น 

December 23, 2022

“อนุทิน” ชี้ แม้ยอดติดเชื้อโควิด-19 ขยับ แต่ยังอยู่ภายใต้การควบคุม ยันมียาเพียงพอ พร้อมชวนประชาชนฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์ ก่อนถึงเทศกาลปีใหม่ 2566… วันที่ 20 ธันวาคม 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล ถึงโอกาสการกลับมาเปิดศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ภายหลังยอดผู้ติดเชื้อขยับสูงขึ้นในช่วงที่กำลังจะเข้าสู่เทศกาลปีใหม่ 2566 ว่า ทุกอย่างยังอยู่ภายใต้การควบคุม และเราก็รณรงค์ให้ประชาชนฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์ ที่ผ่านมาได้รับรายงานว่ามีประชาชนไปรับบริการเป็นจำนวนมาก ขอย้ำว่าคนไทยควรต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 4 เข็มเพื่อความปลอดภัย ส่วนคำถามเรื่องความเป็นห่วงต่อการระบาดเนื่องจากประชาชนเดินทางจำนวนมากนั้น นายอนุทิน ตอบว่า คนไทยส่วนใหญ่ได้รับวัคซีน และมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติอยู่แล้ว ถึงแม้ว่าจะติดเชื้อก็ยังไม่มีอาการหนัก ยกเว้นกลุ่ม 608 (อายุ 60 ปีขึ้นไป, ผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์) ก็ต้องเร่งขอให้ลูกหลานและญาติโน้มน้าวไปให้ฉีดวัคซีน “เรามีองค์ประกอบหลายอย่าง ก็คือยา เรามียาโดยตรง ยารักษาตามอาการ ยาเฉพาะกลุ่ม 608 เรามียา Long Acting Antibody […]

Readmore

โควิด-19 ยังคงอยู่ลุ้นจะติดซ้ำไหม

December 19, 2022

โควิด-19 ยังคงอยู่ ลุ้น..จะติดซ้ำไหม โควิดไทยลามอีกครั้ง หลังลดระดับเหลือโรคเฝ้าระวังได้แค่ 2 เดือน ล่าสุดยอดผู้ติดเชื้อ-เสียชีวิตพุ่ง… รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ บอกว่า ปรากฏการณ์ข้างต้นสะท้อนให้เห็นเรื่องผลลัพธ์ในการควบคุมป้องกันโรคว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างไร นอกจากนี้ยังเป็นบทเรียนให้ที่ทำงานต่างๆลองทบทวน วิเคราะห์ หาทางช่วยกันปกป้องการแพร่ระบาดในสถานที่ทำงาน รวมถึงในครัวเรือนของบุคลากร “ถ้าเราขันน็อตป้องกันให้เข้มแข็งขึ้น ทั้งที่บ้าน ที่เรียน ที่ทำงาน ผลลัพธ์ในอนาคตย่อมดีขึ้น โอกาสติดจะลดลง หรือติดแล้วโอกาสแพร่ให้คนที่บ้าน ที่เรียน ที่ทำงาน เป็นทอดๆก็จะลดลง” การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง ไม่กินดื่มร่วมกัน เว้นระยะห่างระหว่างกันทั้งคนกันเองในที่นั้นๆหรือกับคนที่เราพบปะบริการ ล้างมือเสมอเวลาสัมผัสสิ่งของสาธารณะ ไม่สบายรีบตรวจ และให้หยุดไปรักษาให้หาย เสียก่อน แยกตัวอย่างน้อย 7-10 วัน จนกว่าอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ และตรวจซ้ำ ได้ผลลบจึงออกมาใช้ชีวิต โดยป้องกันอย่างเคร่งครัดจนครบสองสัปดาห์ รวมถึงการหาทางเสริม เช่น ติดตั้งพัดลมระบายอากาศ เครื่องฟอกอากาศ ฯลฯ ป้องกันไม่ให้ติด…หากติดให้รีบตรวจรีบแยกตัวและรักษาให้หาย…และช่วยกันให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่คนรอบข้าง ไม่หลงกับข่าวลวงหรือกิเลส “…ไม่ใช่แค่ธนาคารแต่ที่อื่นๆ ทั้งบ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน มหาลัย ตลาด ก็ย่อมมีโอกาสอยู่รอดปลอดภัยไปด้วยกัน” ไวรัส “โควิด-19” สายพันธุ์ “โอมิครอน” นั้น […]

Readmore

หมอธีระ เตือนต่อเนื่องจาก WHO

December 17, 2022

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ “หมอธีระ” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงประเด็น “โควิด-19” ระบุว่า… จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 89.59 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 71.58 เสียงเตือนต่อเนื่องจาก WHO Dr.Maria Van Kerkhove, COVID-19 technical lead ขององค์การอนามัยโลก ยังส่งสัญญาณเตือนอย่างต่อเนื่องให้ตระหนักถึงสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ไข้หวัดใหญ่ และ RSV ปัจจุบันอัตราการติดเชื้อแพร่เชื้ออยู่ในระดับสูงมาก จำเป็นต้องป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอเพื่อตัวคุณเองและคนที่คุณรัก ไปรับวัคซีนให้ครบ เว้นระยะห่างจากคนอื่น ระวังเรื่องการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้อื่นนอกบ้าน ไม่แชร์ของกินของใช้กัน ระวังสถานที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี หากประกอบกิจการใดๆ ก็ควรหาทางปรับปรุงเรื่องการระบายอากาศในสถานที่ของตนเองให้ดี ล้างมือทุกครั้งหลังจับต้องสิ่งของสาธารณะ พกเจลหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ไว้ติดตัวจะได้ใช้ได้สะดวก ที่สำคัญมากคือ ใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอเวลาออกไปตะลอนนอกบ้าน ทำงาน เรียน หรือเดินทางท่องเที่ยว หากไม่สบาย ควรแยกตัวจากผู้อื่น […]

Readmore

พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 “เดลตาครอน”

December 2, 2022

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ในประเทศ และติดตาม… เมื่อวันที่ (30 พ.ย.65) นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ในประเทศ และติดตามสายพันธุ์น่ากังวลที่อาจพบจากผู้เดินทางเข้าประเทศ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 19-25 พฤศจิกายน 2565 ผลการตรวจเฝ้าระวังแบบ SNP/Deletion ด้วยวิธี RT-PCR จำนวน 299 ราย พบว่า ในภาพรวมสัดส่วนของ BA.2.75 เพิ่มขึ้นเป็น 63.3% จากสัปดาห์ก่อนที่มีสัดส่วน 42.9% และเมื่อแยกตามกลุ่ม พบว่า ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นจาก 23.2% เป็น 43.9% และล่าสุดเป็น 58.8% จากการถอดรหัสพันธุกรรมแบบทั้งตัว (Whole genome sequencing) ของตัวอย่างในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน พบสายพันธุ์ BA.2.75 และลูกหลานของ BA.2.75 เช่น BA.2.75.2, BA.2.75.5.1 (BN.1), BA.2.75.1.2 (BL.2) มากกว่า 468 ราย (จำนวนนี้รวมจำนวน 216 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเข้าเพื่อเผยแพร่บนฐานข้อมูลสากล GISAID)  โดยพบว่า BN.1 และลูกหลาน มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อน ถึง 4 เท่าตัว การเพิ่มจำนวนที่รวดเร็วของเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์กลายพันธุ์ มีความเป็นไปได้ของการเพิ่มจำนวนการติดเชื้อจนกระทั่งทดแทนสายพันธุ์เดิมที่กระจายอยู่ในพื้นที่ นอกจากนี้พบสายพันธุ์ XBB.1 จำนวน 4 รายและ BQ.1 จำนวน 7 ราย สำหรับสายพันธุ์ XBC หรือ “เดลตาครอน” ขณะนี้พบในประเทศไทยแล้ว จำนวน 1 ราย ทั้งนี้สายพันธุ์ XBC เป็นสายพันธุ์ลูกผสมของเดลตาและโอมิครอน BA.2 โดยข้อมูล ณ วันที่ 20 […]

Readmore

สธ.ปรับแนวทางการรักษาโควิด19 ใหม่

November 30, 2022

ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ย.2565 ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขโรคโควิด-19 ให้… เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2565 ที่กรมการแพทย์ นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ย.2565 ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขโรคโควิด-19 ให้ความเห็นชอบแนวทางการรักษาโรคโควิด-19 ฉบับที่ 26 และกรมการแพทย์ ได้มีการประชุมแพทย์ในกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อทำความเข้าใจ โดยที่มีการปรับ คือ เพิ่มการใช้ LAAB หรือภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ในการรักษาผู้ป่วยโรคกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง        แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการ จะรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยยาที่ใช้รักษา ได้แก่ ยาฟาวิพิราเวียร์สำหรับเด็ก  ส่วนผู้ใหญ่ให้ยาโมลนูพิราเวียร์ หากเป็นกลุ่มเสี่ยง อาจให้ LAAB หรือ ให้ LAAB คู่กับยาต้านไวรัสอื่นๆ ซึ่งขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์    สาระสำคัญที่มีการปรับปรุง แบ่งเป็น 4 กรณี 1.ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือสบายดี  ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก ให้ปฏิบัติตนป้องกันอย่างเคร่งครัดอย่างน้อย 5 วัน 2.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง […]

Readmore