Tag: ผู้ป่วยโควิด19

“โควิด -19 วันนี้” ที่ จ. ชลบุรี
โควิดวันนี้ สสจ.ชลบุรี รายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำสัปดาห์ ช่วงวันที่ 18-24 ธันวาคม 2565 จังหวัดชลบุรีมีผู้ติดเชื้อยืนยันรายใหม่ 57 ราย – ไม่รวม ATK อีก 3,946 “โควิดวันนี้” รายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำสัปดาห์ที่ 51 วันที่ 18-24 ธันวาคม 2565 จังหวัดชลบุรีมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยืนยันรายใหม่ RT-PCR จำนวน 57 ราย และผู้เข้าข่ายติดเชื้อโควิด-19 ATK อีก 3,946 ราย และมีผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจรายใหม่ 9 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบรายใหม่ 4 ราย ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 11 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิตสะสม 551 ราย ณ วันที่ 18-24 ธันวาคม 2565 จังหวัดชลบุรี มีรายงานผู้เสียชีวิต 11 ราย […]
Readmore
โควิด-19 ยังคงอยู่ลุ้นจะติดซ้ำไหม
โควิด-19 ยังคงอยู่ ลุ้น..จะติดซ้ำไหม โควิดไทยลามอีกครั้ง หลังลดระดับเหลือโรคเฝ้าระวังได้แค่ 2 เดือน ล่าสุดยอดผู้ติดเชื้อ-เสียชีวิตพุ่ง… รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ บอกว่า ปรากฏการณ์ข้างต้นสะท้อนให้เห็นเรื่องผลลัพธ์ในการควบคุมป้องกันโรคว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างไร นอกจากนี้ยังเป็นบทเรียนให้ที่ทำงานต่างๆลองทบทวน วิเคราะห์ หาทางช่วยกันปกป้องการแพร่ระบาดในสถานที่ทำงาน รวมถึงในครัวเรือนของบุคลากร “ถ้าเราขันน็อตป้องกันให้เข้มแข็งขึ้น ทั้งที่บ้าน ที่เรียน ที่ทำงาน ผลลัพธ์ในอนาคตย่อมดีขึ้น โอกาสติดจะลดลง หรือติดแล้วโอกาสแพร่ให้คนที่บ้าน ที่เรียน ที่ทำงาน เป็นทอดๆก็จะลดลง” การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง ไม่กินดื่มร่วมกัน เว้นระยะห่างระหว่างกันทั้งคนกันเองในที่นั้นๆหรือกับคนที่เราพบปะบริการ ล้างมือเสมอเวลาสัมผัสสิ่งของสาธารณะ ไม่สบายรีบตรวจ และให้หยุดไปรักษาให้หาย เสียก่อน แยกตัวอย่างน้อย 7-10 วัน จนกว่าอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ และตรวจซ้ำ ได้ผลลบจึงออกมาใช้ชีวิต โดยป้องกันอย่างเคร่งครัดจนครบสองสัปดาห์ รวมถึงการหาทางเสริม เช่น ติดตั้งพัดลมระบายอากาศ เครื่องฟอกอากาศ ฯลฯ ป้องกันไม่ให้ติด…หากติดให้รีบตรวจรีบแยกตัวและรักษาให้หาย…และช่วยกันให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่คนรอบข้าง ไม่หลงกับข่าวลวงหรือกิเลส “…ไม่ใช่แค่ธนาคารแต่ที่อื่นๆ ทั้งบ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน มหาลัย ตลาด ก็ย่อมมีโอกาสอยู่รอดปลอดภัยไปด้วยกัน” ไวรัส “โควิด-19” สายพันธุ์ “โอมิครอน” นั้น […]
Readmore
พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 “เดลตาครอน”
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ในประเทศ และติดตาม… เมื่อวันที่ (30 พ.ย.65) นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ในประเทศ และติดตามสายพันธุ์น่ากังวลที่อาจพบจากผู้เดินทางเข้าประเทศ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 19-25 พฤศจิกายน 2565 ผลการตรวจเฝ้าระวังแบบ SNP/Deletion ด้วยวิธี RT-PCR จำนวน 299 ราย พบว่า ในภาพรวมสัดส่วนของ BA.2.75 เพิ่มขึ้นเป็น 63.3% จากสัปดาห์ก่อนที่มีสัดส่วน 42.9% และเมื่อแยกตามกลุ่ม พบว่า ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นจาก 23.2% เป็น 43.9% และล่าสุดเป็น 58.8% จากการถอดรหัสพันธุกรรมแบบทั้งตัว (Whole genome sequencing) ของตัวอย่างในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน พบสายพันธุ์ BA.2.75 และลูกหลานของ BA.2.75 เช่น BA.2.75.2, BA.2.75.5.1 (BN.1), BA.2.75.1.2 (BL.2) มากกว่า 468 ราย (จำนวนนี้รวมจำนวน 216 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเข้าเพื่อเผยแพร่บนฐานข้อมูลสากล GISAID) โดยพบว่า BN.1 และลูกหลาน มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อน ถึง 4 เท่าตัว การเพิ่มจำนวนที่รวดเร็วของเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์กลายพันธุ์ มีความเป็นไปได้ของการเพิ่มจำนวนการติดเชื้อจนกระทั่งทดแทนสายพันธุ์เดิมที่กระจายอยู่ในพื้นที่ นอกจากนี้พบสายพันธุ์ XBB.1 จำนวน 4 รายและ BQ.1 จำนวน 7 ราย สำหรับสายพันธุ์ XBC หรือ “เดลตาครอน” ขณะนี้พบในประเทศไทยแล้ว จำนวน 1 ราย ทั้งนี้สายพันธุ์ XBC เป็นสายพันธุ์ลูกผสมของเดลตาและโอมิครอน BA.2 โดยข้อมูล ณ วันที่ 20 […]
Readmore
สธ.ปรับแนวทางการรักษาโควิด19 ใหม่
ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ย.2565 ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขโรคโควิด-19 ให้… เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2565 ที่กรมการแพทย์ นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ย.2565 ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขโรคโควิด-19 ให้ความเห็นชอบแนวทางการรักษาโรคโควิด-19 ฉบับที่ 26 และกรมการแพทย์ ได้มีการประชุมแพทย์ในกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อทำความเข้าใจ โดยที่มีการปรับ คือ เพิ่มการใช้ LAAB หรือภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ในการรักษาผู้ป่วยโรคกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการ จะรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยยาที่ใช้รักษา ได้แก่ ยาฟาวิพิราเวียร์สำหรับเด็ก ส่วนผู้ใหญ่ให้ยาโมลนูพิราเวียร์ หากเป็นกลุ่มเสี่ยง อาจให้ LAAB หรือ ให้ LAAB คู่กับยาต้านไวรัสอื่นๆ ซึ่งขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ สาระสำคัญที่มีการปรับปรุง แบ่งเป็น 4 กรณี 1.ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือสบายดี ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก ให้ปฏิบัติตนป้องกันอย่างเคร่งครัดอย่างน้อย 5 วัน 2.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง […]
Readmore
สธ. เร่งฉีดวัคซีนกลุ่ม 608 หลังโควิด-19 ระบาด “ระลอกเล็ก”
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วโลก ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุข ออกมาระบุว่าเป็นการระบาดระลอกเล็ก นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเมื่อ 25 พ.ย. ว่า ขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น ส่วนผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น 10-20% ผู้เสียชีวิตไม่มากนัก เฉลี่ยไม่เกิน 10 ราย/วัน แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงต้องติดตามใกล้ชิด จากการประชุมร่วมกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วประเทศ รายงานว่าแต่ละแห่งยังรองรับสถานการณ์ได้แม้ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น เนื่องจากส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง รักษาแบบผู้ป่วยนอก แพทย์ให้ยาตามที่วินิจฉัย ส่วนการรักษาในโรงพยาบาล ยังไม่ได้เพิ่มขึ้นแบบมีนัยสำคัญจนต้องเพิ่มมาตรการ “ส่วนผู้สูงอายุที่มีข่าวเสียชีวิตที่บ้านช่วงนี้ คงต้องไปดูการเสียชีวิตแต่ละราย หลายรายอาการไม่เหมือนโควิด อยู่ ๆ เสียชีวิต ไปตรวจเอทีเคพบ (ผลเป็นพวก) แต่การตรวจเอทีเคเป็นการคัดกรองเบื้องต้น การวินิจฉัยยืนยันต้องตรวจรายละเอียดมากกว่านั้น กรมควบคุมโรคจะลงไปดูรายละเอียด” นพ.โอภาสกล่าว ปลัด สธ. ระบุด้วยว่า การระบาดรอบนี้ทุกอย่างยังเป็นไปตามที่คาดการณ์ เป็นลักษณะ Small Wave (การระบาดระลอกเล็ก) การมีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเพิ่มขึ้นก็ยังอยู่ในการคาดการณ์ จะเพิ่มตามวงรอบคือ ช่วง พ.ย. […]
Readmore
“หมอธีระ” เผยอาการหลังติด โควิด19
“หมอธีระ” เผยผลวิจัยอาการหลังติด “โควิด-19” พบสมองส่วนหน้า-ก้านสมอง ผิดปกติ ส่งผลต่อทุกระบบในร่างกาย และเกิดความเสี่ยงของภาวะผิดปกติระยะยาว รวม… เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ “หมอธีระ” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” ถึงประเด็น “โควิด-19” ระบุว่า เมื่อวาน โควิด-19ทั่วโลก ติดเพิ่ม 165,881 คน ตายเพิ่ม 669 คน รวมแล้วติดไป 643,292,587 คน เสียชีวิตรวม 6,626,956 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุด คือ เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.22 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 74.43 อัปเดตโควิด-19 กับการเปลี่ยนแปลงของสมอง Mishra SS และคณะ จาก the […]
Readmore
โควิด-19 รอบสัปดาห์
กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ ระบุว่า ข้อมูลของสัปดาห์ที่ 46 ปี 2565 ระหว่างวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565- 19… กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ ระบุว่า ข้อมูลของสัปดาห์ที่ 46 ปี 2565 ระหว่างวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565- 19 พฤศจิกายน 2565 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่สะสม 3,957 คน เฉลี่ยวันละ 565 คน รวมสะสมตั้งแต่ต้นปี 2,478,895 คน หายป่วยสะสม 2,478,895 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ขณะที่มีผู้เสียชีวิตรายใหม่ 69 คน เฉลี่ยวันละ 9 คน รวมสะสม 11,408 คน (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 432 คน และต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 252 คน ส่วนจำนวนผู้ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ณ วันที่ ฉีดวัคซีนสะสม 143,059,913โดส เฉลี่ยวันละ 3,785 โดส แบ่งเป็น วัคซีนเข็มที่ 1 […]
Readmore
เผยปัญหาความจำ หลังจากติด โควิด19
“หมอธีระ” เผยปัญหาด้านความคิดความจำ หลังจากติดเชื้อ “โควิด-19″การศึกษาทางห้องปฏิบัติการในหนูที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 … ซึ่งจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์… เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ “หมอธีระ” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” ถึงประเด็น “โควิด-19” ระบุว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 250,039 คน ตายเพิ่ม 438 คน รวมแล้วติดไป 642,804,841 คน เสียชีวิตรวม 6,625,357 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุด คือ เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรป และเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 94.22 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 84.93 Venkataramani V และคณะจากประเทศเยอรมัน ได้สรุปความรู้วิชาการเกี่ยวกับปัญหาด้านความคิดความจำ (cognitive impairment) หลังจากติดเชื้อโรค “โควิด-19” […]
Readmore
สหรัฐฯ ผสมเชื้อโควิดออกมาเป็นสายพันธุ์น้องใหม่
นักวิทย์ประณาม ห้องแล็บในสหรัฐฯ “เล่นกับไฟ” เอาเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อู่ฮั่นแบบดั้งเดิม มาผสมกับโอมิครอน จนเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ล่าสุด … เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 65 เว็บไซต์ข่าวเดลี่เมล รายงานอ้างคำเปิดเผยของศาสตราจารย์ชามูเอล ชาปีรา นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของรัฐบาลอิสราเอล ที่กล่าวประณามนักวิจัยของห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยบอสตัน ในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ของสหรัฐฯ ที่ทำการทดลองเพาะเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ไฮบริด ที่เกิดจากการสกัดหนามโปรตีนของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอน ที่มีอัตราการแพร่เชื้อเร็วสูงสุด มาตัดแต่งเข้ากับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ดั้งเดิมที่พบในเมืองอู่ฮั่น นักวิทยาศาสตร์ของอิสราเอลระบุว่า การทดลองนี้เรียกได้ว่าเป็นการ “เล่นกับไฟ” ที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นเลย เพราะจากการทดลองกับหนูจำนวน 10 ตัวที่ได้รับเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่เพาะออกมาในห้องทดลองนี้ ปรากฏว่าหนูตายไป 8 ตัวจากจำนวนทั้งหมด 10 ตัว คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 80% รายงานข่าวระบุว่า การเปิดเผยครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงอันตรายที่ยังคงดำเนินต่อไปจากการทดลองในห้องแล็บสหรัฐฯ ท่ามกลางความหวาดวิตกว่าอาจเกิดการหลุดรอดออกมาของเชื้อไวรัส ทำให้เกิดการแพร่ระบาดครั้งใหญ่อีกรอบ แม้ว่าการทดลองเพาะเชื้ออันตราย อย่างงานวิจัยที่พยายามสร้างซุปเปอร์ไวรัสขึ้นมาเพื่อศึกษาว่ามันจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้อย่างไรได้บ้าง (Gain of Function research) ได้ถูกสั่งห้ามในสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา ขณะที่มีความเชื่อกันว่า เชื้อไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิดการระบาดไปทั่วโลก มีต้นตอมาจากตลาดค้าสัตว์ป่า ที่อยู่ไม่ไกลจากห้องทดลองวิจัยเชื้อไวรัสโคโรนาในค้างคาว […]
Readmore
เช็คจุด “ฉีดวัคซีน” โควิด ล่าสุด
มีการเตรียมและกระจายวัคซีนโควิด 19 ไปทุกพื้นที่ และมีเพียงพอ … กรณีเคยติดเชื้อโควิด19 … เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่… จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ที่มีจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตลดลง โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกำหนดให้โควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป รวมทั้งมีการปิดจุดฉีดวัคซีน ที่ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2565 ทำให้ประชาชนอาจเกิดความไม่แน่ใจว่า ยังจำเป็นต้องฉีดวัคซีนโควิด หรือฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นอีกหรือไม่ หากจะฉีด สามารถฉีดวัคซีนได้ที่ไหน ต้องทำการจองคิว หรือวอล์คอินได้เลย ,มียี่ห้ออะไรบ้าง ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุข ยังยืนยันว่า การฉีดวัคซีนโควิด ยังจำเป็น สำหรับจุดฉีดวัคซีน ภายหลังจากที่ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อปิดลง กระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้การฉีดวัคซีนหลังจากนี้ จะปรับมาฉีดวัคซีนในสถานพยาบาล ตามแต่ละคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกำหนด ฟรี ตามความสมัครใจ สามารถสอบถามการให้บริการวัคซีนจากสถานบริการใกล้บ้าน สถานพยาบาลต่าง ๆ ในภูมิภาค 76 จังหวัด ประชาชนสามารถไปรับบริการ ที่โรงพยาบาลภาครัฐได้ทั้งหมด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) […]
Readmore