14800436196074

LONG COVID เจ็บ…แต่ไม่จบ

September 22, 2023

ภาวะลองโควิด อาการเรื้อรังที่ตามมาของคนเคยติดเชื้อโควิด-19 Long COVID คืออะไร?               การติดเชื้อโควิด-19 นับว่าเป็นโรคที่ส่งผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพราะว่าหลังจากรักษาหายแล้ว แต่หลายคนยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายดี เพราะว่าระหว่างการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อไปจับกับเซลล์โปรตีนของบางอวัยวะ ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย เป็นผลให้อวัยวะนั้นๆ ได้รับความเสียหาย ส่งผลกระทบไปทั่วร่างกาย เช่น อาการปอดบวม หรือ เนื้อปอดถูกทำลาย โดยระดับความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความรวดเร็วในรักษา และการกำจัดเชื้อโควิดในร่างกาย เราเรียกภาวะนี้ว่า “โควิดระยะยาว” โดยกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า สามารถพบได้ถึง 30-50% สาเหตุหลักมาจาก เคลียดสะสมหรือเป็นผลข้างเคียงของยาที่ใช้ เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ โรคแฝง หรือบางรายอาจติดเชื้อโควิดซ้ำแต่คนละสายพันธุ์ Long COVID อาการเป็นอย่างไร? ภาวะแทรกซ้อนของโควิด-19 ใครคือกลุ่มเสี่ยง? ป่วยเป็นโควิดหายแล้ว ต้องดูแลตนเองอย่างไร? หลังการติดเชื้อโควิด ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานตามธรรมชาติและมักจะไม่ติดเชื้อโควิดซ้ำในช่วง 1-3 เดือนแรกหลังหายป่วย แต่ภูมิต้านทานจะค่อยๆ ลดลงและไม่คงอยู่ตลอด ทำให้มีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้อีกในอนาคต จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ เช่น ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา  หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ 70% รับประทานอาหารร้อน ช้อนกลาง และไม่ไปในแหล่งชุมชนแออัด หรือสถานที่อากาศไม่ถ่ายเท ดังนั้น ผู้ที่หายจากโควิด-19  ต้องสังเกตตัวเองอย่างละเอียด ประเมินร่างกายตนเองอยู่เสมอ และฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายอย่างถูกต้อง […]

Readmore
news-13abd924c1

แยกอาการ “โควิด-19” กับโรคอาการใกล้เคียง รู้ไว้จะได้ไม่ตื่นตระหนก

September 21, 2023

ทำความรู้จักอาการของโรค “โควิด-19” แยกให้ออกเพราะอาการคล้ายโรค ภูมิแพ้ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการผิดปกติกับอวัยวะที่สัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้น ๆ ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันและความรุนแรงไม่เท่ากัน เพราะชนิดของสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับและการตอบสนองของร่างกายแต่ละบุคคลต่างกัน อาการของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จะเกิดตามอวัยวะที่มีการอักเสบจากการกระตุ้นของสารก่อภูมิแพ้ ได้แก่ ผื่นคัน คันจมูก จาม มีน้ำมูก คัดจมูก ไปจนถึงไอ หอบ แน่นหน้าอก หายใจไม่คล่อง เป็นต้น ดูหนัง Netflix การรักษาควรดูแลตัวเอง หลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ใช้ยาตามแพทย์สั่ง อาจล้างจมูก พ่นยาจมูก เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกำเริบได้ แต่หากเป็นภูมิแพ้และสงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19 ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อปรึกษาความเสี่ยง โรคไข้หวัด เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ มักพบในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ความรุนแรงของโรคไม่มาก และสามารถหายเองได้ภายในไม่กี่วัน สามารถติดต่อผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ โดยการหายใจเอาเชื้อที่กระจายจากการไอ จาม หรือมือที่เปื้อนเชื้อโรคสัมผัสจมูกหรือตา ในผู้ใหญ่อาการจะน้อยมากอาจมีแค่คัดจมูกและน้ำมูกไหล (ยกเว้นผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคทางการหายใจ) อาการของโรคมักเป็นไม่เกิน 2 – 5 วัน แต่อาจมีน้ำมูกไหลนาน 10 – […]

Readmore
infographics175-280363-Thumb

10 Steps กักตัวอย่างไรให้ปลอดภัยไม่แพร่เชื้อ

September 19, 2023

ใครที่ควรกักตัว14 วัน 10 Steps กักตัวอย่างไรให้ปลอดภัยไม่แพร่เชื้อ

Readmore
16065989734241-scaled

แพ้อากาศหรือโควิด-19 เราป่วยเพราะอะไรกันแน่

September 15, 2023

กลับมาอีกแล้วกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ‘ โควิด-19 ’ พร้อมอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยในช่วงนี้ หลายคนเริ่มรู้สึกไม่สบายตัวจากอากาศที่เย็นขึ้น จากการรับฝุ่น PM2.5 หรือจากเชื้อไวรัสโควิด-19ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าที่เราป่วยนี้เป็นเพราะอะไรกันแน่?! การ ‘แพ้อากาศ’นั้น มีอาการแตกต่างจาก การติด ‘เชื้อไวรัสโควิด-19’ เราสามารถสังเกตุได้โดย แพ้อากาศ ผู้ป่วยมักมีอาการ – คัดจมูกน้ำมูกไหล– ไอจามหายใจลำบาก– แน่นหน้าอก– มีผดผื่นตามผิวหนัง– ท้องร่วง หากผู้ป่วยมีการแพ้อากาศจากมลภาวะทางฝุ่น PM2.5 ไม่ควรปล่อยไว้ ยิ่งเฉพาะกับเด็ก ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพถึงขั้นร้ายแรงต่อชีวิตได้ ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์เฉพาะทางหูคอจมูก โรงพยาบาลสินแพทย์ลำลูกกาได้ เรามีการใช้ Hepa Filter กรองอากาศ และตรวจวัดคุณภาพอากาศในทุกวัน เพื่ออากาศที่บริสุทธิ์ในโรงพยาบาล ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้ป่วยมักจะมีอาการ -มีไข้สูงกว่า 37 องศาเซลเซียส-คัดจมูก ไอแห้ง-อ่อนเพลีย หนาวสั่น-ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน-จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หากผู้ป่วยมีอาการคล้ายโควิด-19 หรือมีความเสี่ยงที่จะติด จากทั้งสภาพแวดล้อมหรือบุคคลใกล้ตัว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม และรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด

Readmore
4766_01601020483

คำแนะนำการปฏิบัติการแยกตัวที่บ้าน (Home Isolation)

September 14, 2023

คำแนะนำการปฏิบัติการแยกตัวที่บ้าน (Home Isolation) สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 (COVID-19) คำแนะนำการปฏิบัติการแยกตัวที่บ้าน (Home Isolation) สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 (COVID-19) ตัวเล่นไฟล์วิดีโอ คำแนะนำในการสังเกตอาการตนเอง – ให้สังเกตอาการตนเองวัดอุณหภูมิและ oxygen saturation  ทุกวัน – หากมีอาการแย่ลง คือมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้เช่นหอบเหนื่อยไข้สูงลอยไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ให้รีบโทรติดต่อโรงพยาบาลที่ท่านรักษาอยู่ – เมื่อจะต้องเดินทางไป โรงพยาบาลให้ใช้รถยนต์ส่วนตัวหรือรถที่โรงพยาบาลมารับไม่ใช้รถสาธารณะให้ทุกคนในรถใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่เดินทางหากมีผู้ร่วมยานพาหนะมาด้วยให้เปิดหน้าต่างรถเพื่อเพิ่มการระบายอากาศ โรคโควิด-19 เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในตระกูลโคโรนาไวรัส สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดยการหายใจเอาละอองฝอยน้ำมูก น้ำลายของผู้ที่ติดเชื้อเข้าไปจากการ ไอ จาม และพูดคุยกัน เชื้อยังสามารถเข้าสู่ร่างกายทางปาก จมูก และตา ผ่านมือที่ปนเปื้อนเชื้อจากการสัมผัสพื้นผิวต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้ออยู่ ดังนั้นผู้ที่เป็นโควิด-19 ที่ไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาลจึงจำเป็นต้องแยกตัวเองจากผู้อื่นขณะอยู่ที่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วันนับตั้งแต่วันที่เริ่มป่วย เพื่อลดการแพร่เชื้อให้ผู้อื่นหลังจากนั้นอาจไม่ต้องแยกตัวเองแต่ แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยและระมัดระวังสุขอนามัย ส่วนบุคคลเป็นพิเศษต่อจนครบ 1 เดือน ดูหนังใหม่ ผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาลหรืออยู่โรงพยาบาลเพียงระยะสั้นๆ แล้วไปพักฟื้นต่อที่บ้านหรือสถานพักฟื้น ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการน้อยส่วนใหญ่จะค่อยๆ ดีขึ้นจนหายสนิท อย่างไรก็ตามในช่วงปลายสัปดาห์แรก ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการมากขึ้นได้ ผู้ป่วยควรสังเกตอาการตนเองเมื่อไม่แน่ใจสามารถโทรศัพท์ปรึกษาหรือเข้าไปรับการตรวจประเมินได้โดยติดต่อไปยังโรงพยาบาลก่อนจะทำให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมได้ ลักษณะของบ้านพักอาศัยที่เหมาะสม “บ้านหรือที่พักอาศัยของผู้เป็นโควิด-19 ในช่วงที่ต้องแยกตัวควรจะต้องมีลักษณะดังนี้  มิฉะนั้นอาจต้องหาสถานที่อื่นที่เหมาะสม” – มีผู้จัดหาอาหารและของใช้จำเป็นให้ได้ไม่ต้องออกไปจัดหานอกบ้านด้วยตนเอง – อยู่อาศัยตามลำพังหรือ ร่วมกับผู้อื่นโดยมีห้องส่วนตัว – ผู้ที่อยู่อาศัยร่วมบ้านสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำเรื่องสุขอนามัยและการแยกจากผู้ป่วยได้ – สามารถติดต่อกับโรงพยาบาลได้และเดินทางมาโรงพยาบาลได้สะดวก ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในระหว่างแยกตัวควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดดังนี้ […]

Readmore
Covid-768x456

อัปเดตไกด์ไลน์รักษาโควิด19 ล่าสุด

September 13, 2023

อัปเดตไกด์ไลน์รักษาโควิด19 ล่าสุด ปรับการให้ยาต้านไวรัสกลุ่มปัจจัยเสี่ยงรุนแรง และ LAAB แนวทางเวชปฏิบัติ การรักษาโควิด19 ฉบับล่าสุด 18 เม.ย.2566  ปรับการให้ยาต้านไวรัสในผู้ป่วยกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรครุนแรง และปรับเงื่อนไขของการให้แอนติบอดีสำเร็จรูป Long-acting Antibody หรือ LAAB  ส่วนไม่มีอาการ อาการไม่รุนแรงไม่ต้องใช้ยา เมื่อวันที่ 18 เมษายน  นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) อัปเดตสถานการณ์โควิด19 : สายพันธุ์ แนวทางการรักษา  ผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์กรมการแพทย์ ว่า หลังจากผ่านเทศกาลสงกรานต์ ช่วงท้ายเทศกาลเริ่มมีข่าวการติดเชื้อโควิด เชื้อกลายพันธุ์ หรือการรักษาที่อาจทำให้เกิดการสับสน โดยเมื่อวานนี้ ทางคณะกรรมการวิชาการได้มีการทบทวนเรื่องต่างๆเกี่ยวกับวิชาการ และจากการประชุมร่วมกันจึงจำเป็นต้องมีการสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ให้เกิดความสับสนเกิดขึ้น หลังสงกรานต์โควิดเพิ่ม ขอให้มาฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดทั่วโลกเริ่มลดลง สำหรับประเทศไทย ต้นเดือน เม.ย.มีผู้ป่วยน้อยมาก แต่หลังสงกรานต์ เริ่มเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าจากสัปดาห์ก่อนหน้า คาดว่าหลังสงกรานต์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นระลอกเล็ก สำหรับสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเสียชีวิต […]

Readmore
news-5bc814d6dd

โควิดลงปอดหรือยัง เช็กจาก 4 อาการนี้

September 12, 2023

ผู้ป่วยโควิด 19 ตรวจเช็กร่ายกายตัวเองหากพบ 4 อาการนี้ ให้รีบบอกแพทย์ ผู้ป่วยโควิด-19 ควรสังเกตอาการตนเองหากพบ หากรู้สึกแน่นหน้าอก หอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม ส่อเค้าเชื้ออาจลงปอด ในปัจจุบันผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ละคนจะมีอาการมากน้อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ภูมิคุ้มกัน และโรคประจำตัวของผู้ป่วย นั้นสามารถแพร่ได้ผ่านการสูดดมเข้าทางโพรงจมูกเข้าไปสู่ปอด จากการไอ จาม เสมหะ หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่มีเชื้อไวรัสโควิด-19 หลังจากติดเชื้อผู้ป่วยอาจไม่มีอาการหรือมีอาการทั่วไป เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะส่งผลให้เกิดความรุนแรงของโรคและเชื้ออาจลงสู่ปอดได้ คือ ผู้สูงอายุ    และกลุ่มที่มีโรคร่วม ได้แก่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งทุกชนิด  และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้จึงควรระมัดระวังตนเองมากเป็นพิเศษกว่าคนปกติทั่วไป เพราะหากเชื้อลงสู่ปอดแล้ว อาจส่งผลต่อระบบภายในอื่นๆ ของร่างกายได้  และด้วยความที่ปอดหน้าที่สำคัญในการแลกเปลี่ยนของออกซิเจนในเลือด หากระดับออกซิเจนในเลือดลดลงมากเกินไป เช่น ออกซิเจนที่ไปเลี้ยงในส่วนของสมองน้อยลง จะทำให้เกิดภาวะซึม รู้สึกอ่อนเพลีย โดยในเกณฑ์ปกติระดับออกซิเจนในเลือดของร่างกายจะอยู่ที่ระดับ 97-100% […]

Readmore
image

วัคซีนโควิด Moderna คืออะไร?

September 9, 2023

หลังจากรัฐบาลได้เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนจัดหาวัคซีนทางเลือกให้กับประชาชนไทย โดยให้หาวัคซีนชื่อการค้าที่ไม่ซ้ำกับที่รัฐบาลวางแผนจะนำเข้าเพิ่มเติม หนึ่งในวัคซีนที่มีข่าวคราวว่าจะนำเข้ามาจากภาคเอกชนนั่นก็คือวัคซีนโควิดโมเดอร์นา (Moderna) วัคซีนโควิดโมเดอร์นา (Moderna) คืออะไร? วัคซีนโควิดโมเดอร์นา (Moderna COVID-19 Vaccine) เป็นวัคซีน ชนิด mRNA ซึ่งเป็นสารพันธุกรรมสังเคราะห์ขึ้นได้ในห้องปฎิบัติการ มีชื่อตามที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค​สหรัฐอเมริกา (Centers for disease control: CDC) ระบุไว้คือ mRNA-1273 วัคซีน Moderna เป็นวัคซีนที่คิดค้นโดยบริษัทผู้ผลิตยาสัญชาติอเมริกัน ชื่อบริษัทโมเดอร์นา (Moderna) และถือเป็นวัคซีนตัวที่ 2 ที่รับอนุมัติตามมาตรการฉุกเฉินจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (Food and drug administration: FDA) ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2563 ซึ่งวัคซีนชนิดแรกที่ได้รับการอนุมัติคือ วัคซีนโควิดไฟเซอร์ (Pfizer) วัคซีน Moderna จะมีส่วนช่วยให้ร่างกายสร้างโปรตีนที่เฉพาะเจาะจงกับไวรัสขึ้นมา และกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ (Antibodies) แอนติบอดี้นี้จะรับรู้ได้เมื่อมีไวรัสเข้าสู่ร่างกาย จึงทำลายไวรัสได้ในที่สุด แม้หลังจากมีการฉีดให้กับผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไปแล้ว และพบว่ามีความปลอดภัย แต่หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา […]

Readmore
COVID-191200x628-1

ไอแบบไหน เสี่ยงเป็นโควิด

September 8, 2023

อาการไอ เจ็บคอ เป็นอาการทั่วไปที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ รวมถึงโควิด-19 ด้วยเช่นกัน แล้วจะแยกอาการไอทั่วไป กับ อาการไอที่เกิดจากโควิด-19ได้อย่างไร อาการไอทั่วไป ที่ไม่ใช่อาการของโควิด-19 คือ ไอแบบมีเสมหะ โดยจะมีเมือกเหนียว ๆ ออกมาพร้อมกับตอนไอ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนอาการไอของโรคโควิด19 ที่พบได้นั่นคือ “ไอแห้ง” ลักษณะคือไม่มีน้ำลาย ไม่มีเสมหะ อาจมีอาการไอรุนแรงมากขึ้นในเวลากลางคืน เวลาไอจะรู้สึกเหมือนมีอะไรติดคอ รู้สึกคันหรือระคายคอ อาจมีเสียงแหบบ้าง และอยากกลืนน้ำลายบ่อย ๆ ดังนั้น ถ้ามีอาการไอในลักษณะไอแห้ง ร่วมกับมีอาการผิดอื่น ๆ เช่น มีไข้ เจ็บคอ มีน้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ควรเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19

Readmore
httpswww

รู้จักภาวะมิสซี (MIS-C) ภาวะแทรกซ้อน หลังเด็กหายป่วยโควิด

August 23, 2023

รู้จักภาวะมิสซี (MIS-C) ภาวะแทรกซ้อน หลังเด็กหายป่วยจากโควิด-19 ภาวะมิสซี (Multisystem Inflammatory Syndrome in Children : MIS-C) คือกลุ่มการอักเสบหลายระบบที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 ในเด็ก เป็นภาวะแทรกซ้อน เมื่อหายจากการติดเชื้อโควิด-19 ทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติไป เป็นภาวะที่พบไม่บ่อย พบน้อยกว่าร้อยละ 1 ของผู้ป่วยเด็ก ที่ติดเชื้อโควิด-19 ปกติเด็กที่พบภาวะนี้ อายุเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 9 ปี จะพบในเด็กผู้ชายมากว่าเด็กผู้หญิง ประมาณ 2-6 สัปดาห์ หลังจากติดเชื้อโควิด-19 จากสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยเด็ก และวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 19 ปี ที่ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ซึ่งในขณะนี้จะมีผู้ป่วยสะสมที่เป็นเด็กทั้งหมดตั้งแต่เริ่มมีการระบาด อยู่ที่ประมาณ 7 แสนกว่าราย ในภาคเหนือประมาณ 5 หมื่นกว่าราย โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ สาเหตุในการเกิดภาวะมิสซี (MIS-C)ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าภาวะมิสซี (MIS-C) เกิดจากอะไร เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่อุบัติขึ้นมาใหม่ แต่ทราบว่าเกิดจากการที่เป็นระยะที่ภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อไวรัส สูงขึ้นมากเกินไปเมื่อภูมิคุ้มกันสูงขึ้น ปกติร่างกายจะสามารถกำจัดเชื้อออกไปได้หมด แต่ภูมิคุ้มกันน่าจะจบลง และไม่ทำงานจนมากเกินไป […]

Readmore