Category: ยาต้านไวรัส

มาทำความรู้จักโควิดกลายพันธุ์
ก่อนหน้านี้ประเทศไทยและทั่วโลกเราเหมือนจะควบคุมการระบาดของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 ได้ดีพอสมควร โดยเฉพาะการที่แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์รู้จักไวรัส อาการ การรักษา รวมทั้งมีการผลิตวัคซีนออกมา และมีการฉีดวัคซีนให้กับประชากรทั้งกลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไปแล้ว แต่สถานการณ์โควิดที่ระบาดเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ระบบสาธารณสุขในหลาย ๆ ประเทศมีปัญหาทั้งแง่จำนวนผู้ที่ต้องการตรวจมากขึ้น จำนวนผู้ป่วยที่ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล และผู้ป่วยวิกฤตที่มีมากจนอาจเกินศักยภาพที่บุคลากรทางการแพทย์ และระบบโดยรวมจะสามารถรับมือได้ อาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของไวรัส โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตา ซึ่งก่อนหน้านี้เรียกว่า สายพันธุ์อินเดีย เพราะค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย ในเดือนธันวาคมปี 2563 เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับไวรัสกลายพันธุ์ เมื่อไวรัสได้แพร่กระจายเข้าในตัวคนหนึ่ง ๆ จะมีการแบ่งตัวเพิ่มมากขึ้น อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคงอยู่ของตัวมันเอง แต่เมื่อไวรัสมีการแพร่กระจายประชากรกลุ่มใหญ่มากขึ้น โอกาสการเปลี่ยนแปลงสารทางพันธุกรรมก็จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วย พอติดเชื้อมากในระยะเวลาหนึ่ง สารพันธุกรรมจะเปลี่ยนแปลงจากดั้งเดิมอย่างชัดเจนจนกลายเป็นไวรัสกลายพันธุ์ เช่น เพิ่มความสามารถที่จะจับได้แน่นขึ้น โดยภูมิคุ้มกันกำจัดยากขึ้น หรือแพร่เชื้อได้มากขึ้น สำหรับการเรียกไวรัสกลายพันธุ์นั้น เคยใช้เป็นอักษรตามด้วยตัวเลขทางพันธุศาสตร์ เช่น B.1.617.2 variant แต่ต่อมาคนนิยมเรียกเป็นชื่อประเทศที่ค้นพบครั้งแรก เช่น สายพันธุ์อังกฤษ หรือสายพันธุ์อินเดีย ดังนั้นทางองค์การอนามัยโลกจึงกำหนดให้มีการเปลี่ยนชื่อสายพันธุ์เป็นตัวอักษรกรีกเพื่อลดการตีตรา มาทำความรู้จักโควิดกลายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้า ตัวที่แกร่งที่สุดและแพร่เชื้อได้ไว้ที่สุดในตอนนี้ ก่อนหน้านี้ประเทศไทยและทั่วโลกเราเหมือนจะควบคุมการระบาดของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 ได้ดีพอสมควร โดยเฉพาะการที่แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์รู้จักไวรัส อาการ การรักษา […]
Readmore
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ สู้ 20 สายพันธุ์ ใช้เทคโนโลยี mRNAจากโควิด
นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างวัคซีนพิเศษที่สามารถต่อสู้กับไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์ที่รู้จัก และใช้เทคโนโลยีเดียวกับที่ใช้ในวัคซีนโควิด-19 ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีการทดสอบในคน แต่ยังคงทดสอบในสัตว์ และมันเห็นผลแล้วในไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ A และ B ทว่าศ.จอห์น อ็อกซ์ฟอร์ด นักไวรัสวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยควีนแมรีในลอนดอน กล่าวว่า วัคซีนใหม่ที่พัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียถือเป็น ‘ความก้าวหน้าครั้งยิ่งใหญ่’ ซึ่งเป็นเทคโนโลยี mRNA ที่บุกเบิกในการระบาดใหญ่ของโควิด-19 วัคซีนดังกล่าว จะทำงานโดยการส่งคำสั่งที่สอนเซลล์ให้สร้างแบบจำลองของโปรตีนที่ปรากฏบนพื้นผิวของไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งหมด ซึ่งสิ่งนี้ฝึกร่างกายให้จดจำวิธีและต่อสู้กับผู้บุกรุกจากต่างประเทศที่มีโปรตีนนี้ในอนาคต ซึ่งมีความหวังที่ว่าวัคซีนจะช่วยให้ผู้คนมีภูมิคุ้มกันพื้นฐาน ซึ่งจะช่วยลดการรักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตในแต่ละปี ตามข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินการบางอย่างเพื่อเริ่มพัฒนาวัคซีน แต่ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ในการผลิตวัคซีนจำนวนมาก แม้ว่าวัคซีนชนิดใหม่อาจหยุดยั้งการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ในอนาคตได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด นักวิจัยจากโรงเรียนแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้ทดสอบวัคซีนในหนูและพังพอนเท่านั้น แต่กำลังออกแบบการทดลองในมนุษย์ในขณะนี้ ซึ่งอาจได้เห็นผลการศึกษาในอีก 6 เดือนข้างหน้า ปัจจุบันพวกเขาพบว่า ระดับแอนติบอดีที่เกิดจากวัคซีนยังคงไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเวลาอย่างน้อย 4 เดือนในสัตว์ที่ทำการทดสอบ ด้านสก็อตต์ เฮนสลีย์ ผู้เขียนอาวุโสด้านการศึกษา ศาสตราจารย์ด้านจุลชีววิทยาของมหาวิทยาลัยกล่าวว่า แนวคิดนี้คือการฉีดวัคซีนที่จะทำให้ผู้คนมีูมิคุ้มกันในระดับพื้นฐานต่อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่างๆ เพื่อเกิดการติดเชื้อและเสียชีวิตน้อยลง เมื่อเกิดการระบาดไข้หวัดใหญ่ในครั้งต่อไป เฮนสลีย์ กล่าวด้วยว่า “วัคซีนนี้สามารถลดโอกาสในการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่อย่างรุนแรงได้อย่างมาก”
Readmore
แนะนำการเตรียมพร้อมรับมือและป้องกัน “โรคฝีดาษลิงในไทย”
“โรคฝีดาษลิง” ซึ่งมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในต่างประเทศเป็นโรคที่ใกล้ตัวเราเข้ามาทุกที สร้างความวิตกกังวลให้หลายคนที่กลัวว่าจะติดเชื้อหลังจากที่สถานการณ์โรคโควิด-19 เริ่มจะคลี่คลาย ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง เกษแดงสกลวุฒิ ภาควิชาพยาธิวิทยาและหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคฝีดาษลิง เพื่อสร้างความเข้าใจให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนก พร้อมแนะวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยให้ห่างจากโรคนี้ จุดเริ่มต้นโรคฝีดาษลิง ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง อธิบายว่าโรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อไวรัส Monkeypox ซึ่งเป็นไวรัสที่มีความใกล้เคียงกับโรคฝีดาษคนหรือไข้ทรพิษ พบครั้งแรกเมื่อปี 2501 ในห้องแลปที่ประเทศเดนมาร์ก จากลิงที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ส่วนการพบในมนุษย์ครั้งแรกเมื่อปี 2513 ที่ประเทศคองโก ทวีปแอฟริกา ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ระบาดคือทางแถบแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากคือไนจีเรีย เมื่อปี 2546 พบผู้ป่วยเป็นโรคฝีดาษลิงมีความสัมพันธ์กับสัตว์คือ แพรีด็อก ซึ่งซื้อมาจากร้านขายสัตว์เลี้ยง โดยมีการสัมผัสใกล้ชิดแล้วโดนกัด จากการสืบสวนโรคพบว่ามีการเลี้ยงแพรีด็อกอยู่ในกรงใกล้ๆ กับสัตว์ฟันแทะที่นำเข้ามาจากจากประเทศกาน่า ซึ่งสัตว์อาจจะมีพาหะอยู่แต่ไม่ได้แสดงอาการชัดเจน การติดเชื้อและการแพร่ระบาดในปัจจุบัน พาหะของโรคฝีดาษลิงคือสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนู แพรีด็อก ฯลฯ โดยติดเชื้อได้จากการโดนสารคัดหลังจากสัตว์ป่วยที่มีเชื้ออยู่ สำหรับกลุ่มคนที่ล่าสัตว์และนำเนื้อมาชำแหละก็มีความเสี่ยงได้เช่นกัน ส่วนการแพร่เชื้อจากคนสู่คนพบในประเทศอังกฤษ เป็นการติดจากสารคัดหลั่งเนื่องจากมีการใกล้ชิดกัน แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าติดจากการมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ ทั้งนี้การแพร่กระจายเชื้อผ่านอากาศ (Airborne) ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง กล่าวว่าสามารถเกิดขึ้นได้แต่น้อยมาก ปัจจุบันโรคฝีดาษลิงกลับมาแพร่ระบาดมากขึ้นจากการเดินทางข้ามประเทศมากขึ้น ที่เป็นข่าวแพร่หลายในระยะนี้เนื่องจากมีการระบาดหลายประเทศพร้อมกัน อาการและความรุนแรงของโรคฝีดาษลิง ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง กล่าวว่า ระยะ 3-4 วันแรกผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสคือมีไข้ […]
Readmore
ยารักษาโควิด-19 แยกตามอาการหรือกลุ่มสี
สำหรับยารักษาโควิด-19 ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสที่จำเพาะกับเชื้อไวรัสโควิด-19 ยาที่ใช้รักษาจึงเป็นการนำยาที่ใช้รักษาโรคอื่น ที่มีหลักฐานทางการแพทย์ว่า มีประโยชน์กับการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จะแบ่งออกเป็น ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว หรือผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย เมื่อเข้าสู่ระบบ Home Isolation หรือ Hospitel จะได้รับยาเพื่อรักษาอาการเบื้องต้น ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร สรรพคุณของยาฟ้าทะลายโจร : ผลข้างเคียงของยาฟ้าทะลายโจร : อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย แขนขาอ่อนแรง วิธีรับประทานยาฟ้าทะลายโจร ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาฟ้าทะลายโจร วิธีใช้ยาฟ้าทะลายโจรสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง คือกลุ่มที่เริ่มมีความเสี่ยงของโรครุนแรง จะได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) มีทั้งรูปแบบที่เป็นเม็ดและเป็นน้ำ **ไม่ได้จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ทุกคน จะจ่ายให้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เป็นยาที่ต้องกินภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น** กลุ่มผู้ป่วยที่จะได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ สรรพคุณของยาฟาวิพิราเวียร์ ผลข้างเคียงของยาฟาวิพิราเวียร์ ใช้กรณีมีข้อบ่งชี้เท่านั้น วิธีรับประทานยาฟาวิพิราเวียร์ **ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ ใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น** ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาฟาวิพิราเวียร์ ผู้ป่วยกลุ่มสีแดงผู้ป่วยจะได้รับยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ซึ่งเป็นยาที่ใช้กันมากในต่างประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา และอินเดีย เป็นยาฉีด กลุ่มผู้ป่วยที่จะได้รับยาเรมเดซิเวียร์ สรรพคุณของยาเรมเดซิเวียร์ ผลข้างเคียงของยาเรมเดซิเวียร์ วิธีใช้ยาเรมเดซิเวียร์ (ยาฉีด) ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาเรเดมซิเวียร์ ยาชนิดอื่นที่แพทย์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการหนัก
Readmore
สมุนไพรพื้นบ้านช่วยต้านโควิด-19
ในปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยต่อยอดสมุนไพรไทยจนเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางยิ่ง ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 สมุนไพรไทยนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถใช้บรรเทาอาการเบื้องต้นของไข้หวัดได้ ซึ่งนายธีระ เชื้อประทุม แพทย์แผนไทยประยุกต์ ประจำบริษัท ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำกัด (ไทยเฮิร์บ) บริษัทร่วมทุนขององค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า สมุนไพรไทยนั้นเป็นจุดแข็งของประเทศไทย มีการใช้กันมาอย่างยาวนาน และเป็นภูมิปัญญาที่ส่งต่อรุ่นสู่รุ่น ไทยเฮิร์บจึงขอแนะนำสมุนไพรพื้นบ้านที่เป็นประโยชน์และแนะนำให้ใช้ 5 ชนิด ดังต่อไปนี้ 5. กระเทียม มีฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน สาร allicin ในกระเทียม มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ป้องกัน การหลั่งสาร cytokine ที่ทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังส่งเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาว และช่วยเพิ่ม แอนติบอดี้ ชนิด immunoglobulin A (IgA) ซึ่งเป็นด่านแรกของภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยพบมากที่ระบบ ทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร ตามเยื่อเมือกต่างๆ และยังช่วยกระตุ้นการทำงานของ B-cell lymphocyte รวมทั้งกระตุ้นการหลั่งของสาร interferon ซึ่งเป็นสารที่สร้างในระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต้านไวรัส จากการจำลองภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์ พบว่า สารสำคัญ quercetin และ allicin ที่พบสามารถแย่งจับกับ ตำแหน่ง […]
Readmore
โควิด-19 : แผนปี 2566 วัคซีนสองสายพันธุ์จะมาเมื่อไร และคืบหน้าวัคซีนไทย
ต้นปี 2566 นับได้ว่าโลกได้รู้จักกับโรคโควิด-19 มาแล้ว 4 ปีเต็ม จากวัคซีนโควิดรุ่นแรกถูกฉีดตั้งแต่เดือน มี.ค. 2564 ล่าสุดเกือบ 40 ประเทศทั่วโลกอนุมัติให้ใช้วัคซีนชนิดสองสายพันธุ์แล้ว แต่ประเทศไทยยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข หลายชาติเริ่มอนุมัติการใช้วัคซีนโควิดสองสายพันธุ์ เมื่อเดือน ส.ค.- ก.ย. 2565 ซึ่งมีสองชนิดยี่ห้อได้แก่ ไฟเซอร์ และโมเดอร์นา วัคซีนสองสายพันธุ์คืออะไร องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US FDA) ระบุว่า วัคซีนป้องกันโควิเสองสายพันธุ์ หรือชนิด bivalent หรือ updated ประกอบไปด้วยส่วนของไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิมเพื่อการป้องกันโควิดและส่วนไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์แรก เพื่อต่อสู้กับไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน คำแนะนำในการฉีดวัคซีนสองสายพันธุ์เป็นเข็มกระตุ้น องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐฯ แนะนำว่า ให้ฉีดหลังจากเข็มกระตุ้นเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 2 เดือน ส่วนสำนักการแพทย์ยุโรป ระบุคำแนะนำไว้ว่าต้องหลังเข็มกระตุ้นเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 2 เดือน เว็บไซต์ covid19.trackvaccines.org ซึ่งติดตามข้อมูลวัคซีนโควิดทั่วโลก ระบุว่า วัคซีนสองสายพันธุ์ของโมเดอร์นา (สไปค์แวกซ์ ไบวาเลนท์ ออริจินอล และโอมิครอน BA.1) มีประเทศที่อนุมัติใช้งานแล้ว 38 […]
Readmore
ตรวจ COVID-19 ด้วย ATK ผลเป็นบวก ต้องทำอย่างไร?
โควิดสายพันธุ์โอมิครอน กำลังแพร่ระบาดอย่างแพร่หลายทั้งในกรุงเทพมหานคร และทั่วประเทศไทย หมอคิดว่าการแพร่ระบาดในครั้งนี้ wave ที่ 5 ของประเทศไทย น่าจะกินเวลาอย่างน้อย 2 – 3 เดือน และน่าจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่าคราวที่แล้ว อย่างไรก็ตามหมอคิดว่าอาการน่าจะรุนแรงน้อยลงกว่า เมื่อช่วงประมาณ 4 – 6 เดือนที่แล้ว แต่ว่าอาการที่น้อยลงไม่ได้แปลว่าอาการน้อย อาการที่น้อยลง เราก็ยังคงต้องสังเกต และจะต้องดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะหากเกิดติดเชื้อจะเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรงได้ เมื่อไรที่จะต้องตรวจหาเชื้อก่อโรคโควิด-19 หมอขอแบ่งเป็น 2 กรณีด้วยกัน คือ สำหรับผู้ที่มีอาการ และผู้ที่ไม่มีอาการ กรณี 1) สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการ และได้มีประวัติสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ หรือผู้ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 มาแล้ว แนะนำให้ตรวจหาเชื้อ โดยควรตรวจหลังจากสัมผัสผู้ติดเชื้อมาแล้ว 3 – 5 วัน ในระหว่างนี้ ให้ใส่หน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่าง ตรวจสอบตัวเองว่าได้รับวัคซีนครบแล้วหรือยัง ถ้าเกิดว่าฉีดวัคซีนครบโดส หรือฉีดครบ 2 เข็มแล้ว บวกกับได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น […]
Readmore
แนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 “เข็มกระตุ้น” เข็ม 3 และ เข็ม 4
สำหรับผู้ที่ฉีด “วัคซีน Moderna” ครบ 2 เข็ม จะต้องฉีดเข็มที่ 3 เมื่อไหร่ดี หรือผู้ที่ฉีดวัคซีนชนิดอื่น มาแล้ว 3 เข็ม เข็มที่ 4 ควรฉีดเมื่อไหร่ดี วันนี้เรามีคำตอบ อ้างอิงจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม 2565 แนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 รับเข็มที่ 1และ2 มาแล้ว อยากรับวัคซีน “กระตุ้น เข็ม 3”รับวัคซีน Sinovac หรือ Sinopharm และ Sinovac หรือ Sinopharm มาแล้ว >>> เว้นระยะ 4 สัปดาห์ขึ้นไป สามารถรับวัคซีน Moderna ได้ รับวัคซีน Sinovac หรือ Sinopharm และ AstraZeneca มาแล้ว >>> เว้นระยะ […]
Readmore
รู้จัก Bivalent Vaccine ความหวังใหม่ป้องกันโควิดกลายพันธุ์ที่ไทยยังไม่ได้ใช้
นับตั้งแต่ไวรัสโควิด-19 เริ่มระบาด ทั่วโลกเผชิญกับไวรัสหลายสายพันธุ์ตั้งแต่สายพันธุ์เริ่มต้นจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน มาจนถึงสายพันธุ์อัลฟา เดลตา และสายพันธุ์ล่าสุดอย่างโอมิครอนที่มีสายพันธุ์ย่อย BA.1, BA.4 และ BA.5 ในช่วงปี 2020-2022 ทั่วโลกอาศัยวัคซีน mRNA เป็นหลักในการป้องกันไวรัสโควิด-19 แต่เมื่อไวรัสกลายพันธุ์ไปหลายสายพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จึงได้คิดค้นวัคซีน 2 สายพันธ์หรือ Bivalent Vaccine ขึ้นมาเพื่อให้ร่างกายของผู้ที่ได้รับวัคซีนสร้างแอนติบอดีขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อไวรัสได้หลายสายพันธุ์ Bivalent Vaccine คืออะไร วัคซีน 2 สายพันธุ์ประกอบด้วยสารพันธุกรรม mRNA ของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม (Wuhan-Hu-1) และ mRNA ของโควิดสายพันธุ์โอมิครอนอย่างละครึ่ง ซึ่งในส่วน mRNA ของสายพันธุ์โอมิครอน ปัจจุบันผู้ผลิตวัคซีนใช้สารพันธุกรรมจากสารพันธุ์ย่อยที่แตกต่างกันอย่างอาจจะเป็น BA.1 หรือ BA.4, BA.5 ขึ้นอยู่กับแผนการของบริษัทและสายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่ระบาดในประเทศที่รับวัคซีน ขณะที่วัคซีน mRNA แบบเดิมจะมีเพียงส่วนประกอบจากโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันสายพันธุ์ โอมิครอนอยู่ในระดับต่ำ วัคซีนรุ่นที่ 2 อย่างวัคซีน bivalent นี้จะสามารถป้องกันโควิดทุกสายพันธุ์ได้ดีขึ้น ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม […]
Readmore
โควิด-19 ยังคงอยู่ลุ้นจะติดซ้ำไหม
โควิด-19 ยังคงอยู่ ลุ้น..จะติดซ้ำไหม โควิดไทยลามอีกครั้ง หลังลดระดับเหลือโรคเฝ้าระวังได้แค่ 2 เดือน ล่าสุดยอดผู้ติดเชื้อ-เสียชีวิตพุ่ง… รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ บอกว่า ปรากฏการณ์ข้างต้นสะท้อนให้เห็นเรื่องผลลัพธ์ในการควบคุมป้องกันโรคว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างไร นอกจากนี้ยังเป็นบทเรียนให้ที่ทำงานต่างๆลองทบทวน วิเคราะห์ หาทางช่วยกันปกป้องการแพร่ระบาดในสถานที่ทำงาน รวมถึงในครัวเรือนของบุคลากร “ถ้าเราขันน็อตป้องกันให้เข้มแข็งขึ้น ทั้งที่บ้าน ที่เรียน ที่ทำงาน ผลลัพธ์ในอนาคตย่อมดีขึ้น โอกาสติดจะลดลง หรือติดแล้วโอกาสแพร่ให้คนที่บ้าน ที่เรียน ที่ทำงาน เป็นทอดๆก็จะลดลง” การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง ไม่กินดื่มร่วมกัน เว้นระยะห่างระหว่างกันทั้งคนกันเองในที่นั้นๆหรือกับคนที่เราพบปะบริการ ล้างมือเสมอเวลาสัมผัสสิ่งของสาธารณะ ไม่สบายรีบตรวจ และให้หยุดไปรักษาให้หาย เสียก่อน แยกตัวอย่างน้อย 7-10 วัน จนกว่าอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ และตรวจซ้ำ ได้ผลลบจึงออกมาใช้ชีวิต โดยป้องกันอย่างเคร่งครัดจนครบสองสัปดาห์ รวมถึงการหาทางเสริม เช่น ติดตั้งพัดลมระบายอากาศ เครื่องฟอกอากาศ ฯลฯ ป้องกันไม่ให้ติด…หากติดให้รีบตรวจรีบแยกตัวและรักษาให้หาย…และช่วยกันให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่คนรอบข้าง ไม่หลงกับข่าวลวงหรือกิเลส “…ไม่ใช่แค่ธนาคารแต่ที่อื่นๆ ทั้งบ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน มหาลัย ตลาด ก็ย่อมมีโอกาสอยู่รอดปลอดภัยไปด้วยกัน” ไวรัส “โควิด-19” สายพันธุ์ “โอมิครอน” นั้น […]
Readmore