dFQROr7oWzulq5Fa3yX7LNQtmnwCmJkWHCFVWNXIqLVy1fNKOpe3vXn6yen0HLbZCaQ

เด็กติดโควิด: MIS-C อาการอักเสบหลายระบบและอาการอื่น ๆ

November 30, 2023

เด็กติดโควิด: MIS-C อาการอักเสบหลายระบบและอาการอื่น ๆ ที่กุมารแพทย์พบจากการรักษาผู้ป่วยโควิดเด็กในไทย เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา คนไข้เด็กวัย 13 ปี เข้ามารักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ด้วยอาการไข้สูงและท้องเสีย กุมารแพทย์ตรวจและให้การรักษาตามอาการและคาดว่าผู้ป่วยจะอาการดีขึ้นในไม่กี่วัน แต่ผ่านไป 2-3 วัน ผู้ป่วยเริ่มมีระบบการหายใจผิดปกติ หลายอาการเทียบเคียงได้กับภาวะหัวใจล้มเหลว และพบค่าการอักเสบสูง ผู้ป่วยเด็กรายนี้ไม่มีประวัติติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน แต่กลับตรวจพบสารภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีโควิด-19 เช่นเดียวกับที่ตรวจเจอในพ่อและแม่ เกณฑ์ต่าง ๆ ที่พบเหล่านี้ ทำให้ทีมแพทย์วินิจฉัยว่า เด็กรายนี้ กำลังป่วยด้วยภาวะอาการ “มิสซี” MIS-C (Multisystem inflammatory syndrome in children) หรือกลุ่มอาการอักเสบของหลาย ๆ ระบบในร่างกาย นี่เป็นกรณีของผู้ป่วยเด็กที่ อ.ดร.พญ.สุวพร อนุกูลเรืองกิตติ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าให้บีบีซีไทยฟัง และบอกว่า กุมารแพทย์หรือหมอเด็กเริ่มเจอภาวะนี้ในกลุ่มเด็กโตที่หายป่วยจากโควิดมากขึ้น ล่าสุด วันที่ 5 ต.ค. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า […]

Readmore
dFQROr7oWzulq5Fa3y29axGbsqKqXh9iCcYSIJ7J6Yfz6JaE2HjR8NWH6rput9v4cKZ

หมออังกฤษเผยผู้ป่วยโควิดอาการหนัก เข้าไอซียู 9 ใน

November 25, 2023

หมออังกฤษชี้ความสำคัญของการฉีดวัคซีน เผยผู้ป่วยโควิดอาการหนักที่ต้องเข้าห้องไอซียู 9 ใน 10 ราย ไม่ได้ฉีดวัคซีน ขณะมีการยืนยันพบคนติดโอมิครอนในอังกฤษแล้วกว่า 1.5 หมื่นราย เมื่อ 22 ธ.ค. 64 เว็บไซต์เดอะ ซัน รายงานสถานการณ์โควิด-19 หวนกลับมาระบาดหนักในสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ซึ่งเป็นเชื้อที่เกิดการกลายพันธุ์มากที่สุดว่า ขณะนี้ พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 และมีอาการหนักจนต้องเข้าไอซียู จำนวนถึง 9 ใน 10 คน ไม่ได้ฉีดวัคซีน ขณะที่ ศาสตราจารย์ รูเพิร์ต เพิร์ส ยังกล่าวว่า คนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน ซึ่งมีอายุในช่วง 20-30 กว่าปีและติดเชื้อโควิด-19 จะไปจบลงที่อาการป่วยหนัก และต้องเข้าไอซียู โดยศาสตราจารย์เพิร์ส ซึ่งเป็นแพทย์รักษาผู้ป่วยวิกฤติในลอนดอน ยังกล่าวย้ำว่า การฉีดวัคซีนเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะผู้ป่วยโควิดที่อาการป่วยรุนแรง 80-90% ไม่ได้ฉีดวัคซีน ด้านทางการอังกฤษยืนยันพบผู้ติดเชื้อโควิดโอมิครอนในอังกฤษแล้ว 15,363 ราย จนถึงวันอังคารที่ 21 ธ.ค. ที่ผ่านมา อีกทั้งยัง พบว่าผู้ติดเชื้อโควิดโอมิครอนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 71.6% […]

Readmore
dFQROr7oWzulq5Fa5BtxopK47GUjV6wNKi2XNZcDTBBcTw9mUzlWbNNGyMv1Vu14uhZ

โคโรนา : อนามัยโลกตั้งชื่อ “โควิด-19”

November 22, 2023

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศชื่อที่เป็นทางการสำหรับใช้เรียกโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ว่า “โควิด-ไนน์ทีน” (Covid-19) โดยชื่อนี้มาจากคำย่อในภาษาอังกฤษของคำว่าโคโรนา ไวรัส และดีซีส (Disease) ที่แปลว่าโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งเลข 19 ซึ่งแสดงถึงปีที่มีรายงานการแพร่ระบาดครั้งแรก ดูหนังใหม่ นายเทดรอส อาดานอม เกเบรเยซัส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก แถลงดังข้างต้นที่นครเจนีวาของสวิตเซอร์แลนด์ และเรียกร้องให้ทั่วโลกต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจดังกล่าวอย่างถึงที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ หลังจากที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตล่าสุดสูงเกินกว่าหนึ่งพันราย และมียอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกกว่าสี่หมื่นรายแล้ว การประกาศชื่อทางการของโรคอุบัติใหม่มีขึ้น หลังบุคลากรในวงการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์เรียกร้องให้มีการตั้งชื่อที่เหมาะสมเพื่อป้องกันความสับสน รวมทั้งเพื่อหลีกเลี่ยงการเรียกชื่อแบบตีตรา ซึ่งมักชี้ว่ากลุ่มบุคคล สัตว์ ภูมิภาค หรือประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นแหล่งที่มาของเชื้อโรค ก่อนหน้านี้มีการเรียกชื่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และโรคไข้ปอดอักเสบที่เกิดขึ้นจากไวรัสชนิดนี้หลายชื่อ เช่นไข้อู่ฮั่น ไวรัสจีน หรือไข้หวัดค้างคาว ซึ่งล้วนแต่สร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโรคดังกล่าว ส่วนชื่อที่เป็นทางการของเชื้อไวรัส 2019-nCoV ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกชั่วคราวนั้น คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยอนุกรมวิธานวิทยาของไวรัส (International Committee on Taxonomy of Viruses ) ได้กำหนดให้ใช้ชื่อใหม่ว่า SARS-CoV-2 หรือไวรัสโคโรนาโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงชนิดที่สอง (Severe acute respiratory syndrome coronavirus […]

Readmore
covid-art

ยาต้านไวรัสเอชไอวีอาจป้องกันโควิดได้

November 20, 2023

การวิจัยขนาดใหญ่ที่มีผู้เข้าร่วมการวิจัยเพศชายที่มีเอชไอวีมากกว่า 20,000 คนในสหรัฐอเมริกาแสดงว่ายาต้านไวรัสเอชไอวีทีดีเอฟ (TDF – tenofovir disoproxil fumarate) อาจช่วยป้องกันการป่วยโควิดที่มีอาการ หรือการป่วยเป็นโควิดที่มีอาการรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล และ/หรือที่รุนแรงจนต้องได้รับการรักษาในแผนกผู้ป่วยหนัก (intensive care) [1] การวิจัยดังกล่าวนำโดยนักศึกษาปริญญาเอก กุลลิน ลี (Guilin Li) จากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School) ร่วมกับกระทรวงการทหารผ่านศึก (Veterans Administration – VA) ของสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกาเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการรักษาที่เกี่ยวกับโควิดในอดีตทหารที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่ยาทีดีเอฟ (TDF) หรือยาแทฟ (TAF – tenofovir alafenamide ซึ่งเป็นยาสูตรใหม่ของ TDF) หรือยาอะบาคาเวียร์ (abacavir) ที่เป็นยาต้านไวรัสกลุ่ม nucleoside reverse transcriptase inhibitor (NRTI) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย หรือผู้ที่ไม่ได้ใช้ยาใดใดที่ระบุไปแล้วเลย การวิจัยพบว่าเมื่อเปรียบเทียบกับยากลุ่ม NRTI อีก 2 ชนิด ผู้ที่กินยาทีดีเอฟมีโอกาสที่จะเป็นโควิด-19 ที่ออกอาการตำ่กว่าผู้ที่กินยาต้านไวรัสอื่น […]

Readmore
im_cu_300363_1478

เตรียมรับมือระยะ 3 โควิด-19 ระบาด

November 16, 2023

สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโรค โควิด-19 ยังคงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง และในวันที่ 11 มีนาคม ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกประกาศยกระดับความเสี่ยงของสถานการณ์โควิด-19 เป็นโรคระบาดครั้งใหญ่ (Pandemic) เรียบร้อยแล้ว ขณะที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อล่าสุดเพิ่มสูงเกิน 100,000 รายทั่วโลก ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดในระดับสากลก็มีความกังวลกันกว้างขวางในประเทศไทยว่ากำลังเข้าสู่ระยะที่ 3 ของการระบาด คือระยะที่มีการติดเชื้อระหว่างคนในประเทศด้วยกันเอง แม้จะไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศหรือติดต่อกับผู้ที่มาจากต่างประเทศก็ตาม และจะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในอัตราอันรวดเร็วหรือไม่ ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อและระบาดวิทยาจากคณะแพทยศาสตร์ ระบุว่า ไทยจะเข้าสู่ระยะที่ 3 ของการระบาดแน่นอน แต่ขึ้นอยู่กับศักยภาพในการจัดการและความร่วมมือระหว่างรัฐกับประชาชนว่าจะทำให้สถานการณ์การระบาดรุนแรงมากน้อยแค่ไหน “ผมคุยกับอาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มาลองทำแบบจำลองพยากรณ์การระบาด ซึ่งก็ประสานงานกับทางกรมควบคุมโรค เราเชื่อว่าภายใน 1-2 เดือนนี้เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดที่จะมีการระบาดเกิดขึ้น แต่จะรุนแรงแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับมาตรการการรับมือของเรา” ศ.นพ.ดร.นรินทร์ ชี้ว่าในฐานะสถานศึกษา จุฬาฯ เองก็เริ่มมีการเตรียมแผนรองรับ เช่น เปิดคอร์สเรียนออนไลน์ หรือแม้แต่การเสนอแนวทางการสอบเป็นการทำรายงาน หรือการสอบออนไลน์ แทนที่จะเป็นการรวมตัวกันในห้องสอบ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการรวมตัวของคนจำนวนมากในพื้นที่สาธารณะ “ประเด็นเรื่อง Social Distance ระยะห่างของคนในสังคมเป็นสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาอย่างยิ่งในช่วงนี้ เราจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก บริษัทเอกชนเองก็อาจต้องพิจารณามาตรการ […]

Readmore
1635477244_59161_web1

หมอยง เผยเหตุผล โควิด-19 ระบาดลดลง

November 15, 2023

เปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาล “หมอยง” เผยเหตุผลที่ “โควิด-19” ในปีนี้กำลังจะระบาดลดลง พร้อมชี้ปีหน้าก็จะเป็นวัฏจักรแบบนี้อีก วันที่ 23 ก.ย. 2566 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความเรื่อง “โควิด-19 การระบาดในปีนี้กำลังจะลดลง” โดยระบุว่า “เมื่อโควิด-19 เปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาล จะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ จะระบาดมากตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกันยายน แล้วจะเริ่มลดน้อยลง นักเรียนเริ่มปิดเทอมในเดือนตุลาคม ความรุนแรงของโรคก็ลดลง ทั้งนี้เพราะประชากรส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเคยติดเชื้อมาแล้ว และมีภูมิต้านทานเกิดขึ้น รวมทั้งภูมิต้านทานที่เกิดจากการฉีดวัคซีน อาจจะมีการพบเพิ่มขึ้นอีกในช่วงปีใหม่ถึงเดือนกุมภาพันธ์ แต่ก็จะไม่มากเหมือนที่ผ่านมา ในปีหน้าก็จะเป็นวัฏจักรแบบนี้อีก  ในขณะเดียวกันไวรัสเองก็พัฒนาตัวเอง เพื่อที่จะอยู่ตลอดไป ความรุนแรงของโรคในภาพรวมจึงลดลง ไม่ต่างกับโรคไข้หวัดใหญ่ ปัญหาของโรคจะเหลืออยู่ในเฉพาะผู้เสี่ยงสูง ที่มีร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานต่ำ ในอนาคตการฉีดวัคซีนจะมุ่งเน้นไปยังกลุ่มดังกล่าว เช่นเดียวกับ โรคไข้หวัดใหญ่ หลังจากที่เรามีการควบคุมการระบาดมายาวนาน โรคทางเดินหายใจชนิดอื่นๆ ก็ลดลงไปด้วย มาในปีนี้จึงมีการระบาดอย่างมาก ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่, RSV Rhinovirus หรือไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัด และอาจจะลงหลอดลมคล้ายกับ RSV ได้”.

Readmore
649e4bf1bccb16.00598232

รู้จัก ไวรัสพันธุ์ใหม่ “แลงยา” ที่อาจระบาดแทน “โควิด-19”

November 8, 2023

00:03ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี ระบุ “ไวรัสแลงยา” หนึ่งในสมาชิกกลุ่มไวรัสเฮนิปา (Langya henipavirus) ที่อาจมาแทนที่ไวรัสโควิด-19 วันนี้ (30 มิ.ย.2566)  มีคนโพสต์เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้เผยแพร่ข้อความระบุว่า โลกพร้อมรับไวรัสตัวใหม่หลังโควิดหรือยัง? “ไวรัสแลงยา” หนึ่งในสมาชิกกลุ่มไวรัสเฮนิปา (Langya henipavirus) ที่อาจมาแทนที่ไวรัสโควิด-19 ขณะที่ภัยคุกคามจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ดูเหมือนกำลังจะกลายสภาพเป็นโรคประจำฤดูกาล และโรคประจำถิ่นตามลำดับ แต่กลับพบไวรัสกลุ่มใหม่ “เฮนิปา (henipavirus)” ที่มีลักษณะการระบาดคล้ายโควิด-19 เข้ามาแทนที่ ดร.เอเรียล ไอแซกส์ และดร.หยู ชาง โลว์ นักวิจัยจาก School of Chemistry and Molecular Biosciences แห่ง “มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์” ประเทศออสเตรเลีย ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยลงในวารสารวิชาการทางการแพทย์ “Nature Communications” ในเดือนนี้ (มิถุนายน 2566) ชี้ให้เห็นว่ามีความสุ่มเสี่ยงสูงมากที่เชื้อ “ไวรัสแลงยา ในกลุ่มเฮนิปา (Langya henipavirus หรือ LayV,)” ที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก […]

Readmore
651211_0554620001639229292

3 ข่าวแชร์ผิด ๆ เกี่ยวกับโรคโควิด-19

November 5, 2023

เพราะโรคโควิด-19 ยังไม่ไปไหนและยังมีการแพร่ระบาดอยู่เป็นระยะ ๆ  ทำให้หลายคนพยายามหาวิธีต่าง ๆ เพื่อดูแลตนเอง และป้องกันไม่ให้ตัวเองเสี่ยงต่อการติดโรคโควิด-19  จนอาจหลงเชื่อข่าวแชร์ผิด ๆ บนโลกออนไลน์เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโรคโควิด-19 เช่นกัน ซึ่งข่าวแชร์ดังกล่าวจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ มาติดตามกันได้เลย… ดูหนัง Netflix ● แผ่นป้ายห้อยคอ สามารถป้องกันโรคโควิด-19 ได้จริงหรือ ? ตอบ   ไม่จริง เพราะโรคโควิด-19 เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา ที่แพร่จากคนสู่คนผ่านทางละอองน้ำมูก หรือน้ำลาย ซึ่งโอกาสในการติดเชื้อส่วนใหญ่จะผ่านการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง แล้วมาจับจมูก ปาก ตา ฉะนั้น ข่าวแชร์ที่ว่า หากใช้แผ่นป้ายห้อยคอหรืออุปกรณ์ห้อยคอในรูปแบบต่าง ๆ ในสื่อออนไลน์ที่อวดอ้างสรรพคุณว่า สามารถปล่อยสารบางอย่างออกมา ช่วยกรองอากาศ สามารถป้องกันและยับยั้งเชื้อไวรัสในอากาศได้ โดยไม่ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยนั้น จึงไม่เป็นความจริง ● อย่าเชื่อ น้ำต้มกระเทียม รักษาไวรัสโคโรนา ตอบ   ไม่จริง เพราะ กระเทียม เป็นสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน มีสรรพคุณทางยาคือ ใช้บรรเทาอาการกลาก เกลื้อน ไม่ได้มีฤทธิ์ในการยับยั้งโรคโควิด-19 แต่อย่างใด ● เรื่องแชร์ผิด ๆ เกี่ยวกับสมุนไพรรักษา Covid-19 ในหัวข้อนี้โลกออนไลน์มีการนำสมุนไพรหลายชนิดมาแชร์กันผิด ๆ […]

Readmore
news-9f3b1faa69

รู้จักโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกา

October 24, 2023

ทำความรู้จักและเข้าใจ “ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ เป็นสายพันธุ์เจ้าพ่อเบอร์ 1” ตามคำบอกของ นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ตามรายงานข่าวระบุว่า พบผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์แอฟริกา เป็นผู้ป่วยชายไทย อายุ 32 ปี ชาว อ.ตากใบ จ.นราธิวาส จากภรรยาชาวมาเลเซีย ลักลอบเดินทางกลับมาประเทศไทย ขณะที่ มาตรการการเฝ้าระวังสายพันธุ์แอฟริกา มีการส่งตรวจหาสายพันธุ์จำนวน 10 ราย พบเชื้อสายพันธุ์แอฟริกา 3 ราย รพ.ตากใบ ได้ทำการรักษาจนผู้ป่วยทั้ง 3 ราย หายป่วยกลับบ้านแล้ว นั่นหมายความว่า ณ วันนี้ประเทศไทยของเรา มีสายพันธุ์โควิด-19 เพิ่มมาอีกหนึ่งคือ สายพันธุ์แอฟริกา และถึงแม้ว่าจะรักษาหายแล้วก็ตาม สายพันธุ์ที่ นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย บอกว่า “ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ เป็นสายพันธุ์เจ้าพ่อเบอร์ 1” สายพันธุ์แอฟริกาใต้มีความสามารถในการแพร่กระจายโรคได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการรุนแรง และผลจากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า สายพันธุ์ดังกล่าวดื้อต่อวัคซีนแทบทุกชนิด นพ.ธีระวัฒน์ ระบุ อย่างไรก็ตาม รายงาน ระบุว่า […]

Readmore
dFQROr7oWzulq5Fa4V4laoP8pd8UOBDwEc9oQsffPk4CSWBr6kBf4zEQBvJ6cQZnFtd

โควิด-19: รู้จักไวรัสโควิดสายพันธุ์อินเดีย

October 19, 2023

ในขณะที่อินเดียกำลังเผชิญกับการระบาดครั้งใหญ่ของโรคโควิด-19 ระลอกสอง บรรดานักวิทยาศาสตร์ต่างก็เร่งศึกษาไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดจากการกลายพันธุ์ในแดนภารตะ โดยยังไม่ทราบชัดว่าเชื้อโรคตัวนี้ได้แพร่กระจายไปในวงกว้างแค่ไหนแล้ว และมันเป็นตัวการสำคัญที่ก่อเหตุระบาดซ้ำสองขึ้นจริงหรือไม่ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อินเดียคืออะไร ? ไวรัสกลายพันธุ์ชนิดนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า B1617 มีการตรวจพบในอินเดียครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคมของปีที่แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมชาติของไวรัสที่จะต้องเกิดการกลายพันธุ์อยู่เสมอ ส่วนใหญ่แล้วการกลายพันธุ์แบบนี้มักไม่ส่งผลกระทบสำคัญใด ๆ การกลายพันธุ์ในบางครั้งทำให้เชื้อไวรัสเป็นอันตรายต่อมนุษย์น้อยลงด้วยซ้ำ แต่ในบางครั้งมันก็อาจทำให้ไวรัสแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีความสามารถต้านทานวัคซีนได้สูงขึ้นด้วย เชื้อกลายพันธุ์แพร่กระจายไปมากแค่ไหนแล้ว ? ขณะนี้การสุ่มตรวจหาเชื้อยังทำได้ไม่ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศอินเดีย ทำให้ไม่อาจประเมินได้ว่าไวรัสกลายพันธุ์ได้แพร่กระจายไปไกลแค่ไหน หรือเกิดการติดต่ออย่างรวดเร็วแค่ไหนแล้ว อย่างไรก็ตาม มีการตรวจพบสายพันธุ์ B1617 จำนวน 220 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 360 ตัวอย่างที่เก็บข้อมูลได้ในรัฐมหาราษฏระ ช่วงระหว่างเดือนม.ค. – เดือนมี.ค. ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าพบไวรัสสายพันธุ์อินเดียในต่างแดนถึง 21 ประเทศ โดยเชื่อว่าการเดินทางข้ามพรมแดนได้นำไวรัสดังกล่าวมายังสหราชอาณาจักร ซึ่งขณะนี้มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อแล้ว 103 ราย นับแต่วันที่ 22 ก.พ. เป็นต้นมา เหตุดังกล่าวทำให้สหราชอาณาจักรออกคำสั่งห้ามผู้ที่เดินทางมาจากอินเดียเข้าประเทศ ส่วนสำนักงานสาธารณสุขอังกฤษ (Public Health England) ได้ระบุให้เชื้อสายพันธุ์อินเดียเป็น “ไวรัสที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบ” แต่ยังไม่ได้ขึ้นบัญชีเป็น “สายพันธุ์ที่น่าห่วงกังวล” […]

Readmore