Long COVID

อาหารบำบัด ลองโควิด (Long COVID)

May 29, 2023

      ลองโควิด (Long COVID) หรือ Post COVID-19 Syndrome คือภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้ว แต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งอาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30 – 50 % จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง ดังนั้น ผู้ป่วยลองโควิด-19 ควรปฏิบัติตัวดังนี้ 1.  ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง2.  สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของตนเองอยู่เสมอ ดังนี้     2.1  การกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบ 5 หมู่     2.2  อาหารที่ปรุงสุก สะอาด     2.3  เป็นอาหารย่อยง่าย เนื่องจากอาจมีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร     2.4  หากมีอาการเบื่ออาหาร ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ หลาย ๆ มื้อ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ตลอดวัน ไม่ให้ร่างกายอ่อนล้า อ่อนเพลีย     2.5  ควรเลือกกินอาหารที่มีโปรตีน […]

Readmore
image

การตรวจวัดระดับภูมิ หลังฉีดวัคซีนโควิด-19

May 24, 2023

การตรวจวัดระดับภูมิตอบสนองชนิด IgG (IgG antibody) ต่อ Spike protein ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (SARS-CoV-2) เพื่อทราบระดับภูมิตอบสนองของร่างกายภายหลังฉีดวัคซีน COVID-19 หรือการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การตรวจภูมิตอบสนองหลังฉีดวัคซีน COVID-19 หรือหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การตรวจวัดระดับภูมิตอบสนองชนิด IgG (IgG antibody) ต่อ Spike protein ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (SARS-CoV-2) เพื่อทราบระดับภูมิตอบสนองของร่างกายภายหลังฉีดวัคซีน COVID-19 หรือการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การตรวจนี้ เหมาะสำหรับ ช่วงเวลาที่ควรตรวจควรเจาะเลือดตรวจภูมิตอบสนองหลังฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว 14-28 วัน (ขึ้นกับชนิดวัคซีนที่ฉีด) แต่ไม่ควรนานเกิน 3 เดือน ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจภูมิตอบสนองหลังฉีดวัคซีน COVID-19 หรือหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ข้อมูลเชิงเทคนิคเกี่ยวกับการตรวจภูมิตอบสนองหลังฉีดวัคซีน COVID-19 หรือหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Readmore
Coronovirus01

ปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส Covid-19 ได้อย่างไร

May 23, 2023

ปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส Covid-19 เกิดจากการอักเสบในเนื้อปอดส่งผลโดยตรงต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน ในช่วงแรกผู้ป่วยจะมีอาการปกติแม้จะเกิดการอักเสบในปอด เรียกว่า “Silent Hypoxemia” ต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก อาจรุนแรงถึงขั้นหายใจล้มเหลวจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เชื้อไวรัส Covid-19 เกี่ยวข้องกับปอดอักเสบอย่างไร เมื่อติดเชื้อ Covid-19 จะมีผลกับระบบหายใจเนื่องจากการรับเชื้อในปริมาณมากจะทำให้มีเชื้อที่ถุงลมปอดทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ เชื้อที่ถุงลมจะทำให้มีการอุดกั้นส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนและการลำเลียงออกซิเจนมีปัญหาอาจทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถทำงานได้ ส่งผลให้กระแสเลือดและร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนอย่างที่ควรจะเป็น ใครบ้างที่เสี่ยงปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส Covid-19 หากได้รับเชื้อ Covid-19 แล้วมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือปัจจัยเสี่ยงต่อการทำงานของปอดทำให้ปอดทำงานได้น้อยลงหรือไม่มีประสิทธิภาพอยู่แล้วจะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปอดอักเสบ ได้แก่ อาการปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส Covid-19 หากสงสัยว่ามีอาการปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส Covid-19 ควรทำอย่างไร หากพบว่าตนเองมีอาการตามที่กล่าวไปควรเข้าพบแพทย์และหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้อื่นต้องสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ ถ้าหมอวินิจฉัยแล้วพบการอักเสบในปอดจากเชื้อไวรัส Covid-19 จะต้องรักษาตัวเพื่อรักษาอาการ Covid-19 ร่วมกับการใช้เครื่องช่วยหายใจหากจำเป็น ในระยะการรักษาต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ลดความเสี่ยงปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส Covid-19 การปฏิบัติตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 อย่างถูกต้องและมีวินัยจะสามารถช่วยลดการแพร่ระบาด และลดความเสี่ยงปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส Covid-19 ได้เป็นอย่างดี

Readmore
co1

เตรียมปรับลดระดับโควิด แนะสวมหน้ากากในที่แออัด

May 22, 2023

เตรียมปรับลดระดับโควิด แนะสวมหน้ากากในที่แออัด        สถานการณ์ของโรคโควิด-19 มีแนวโน้มดีขึ้น จึงมีการเตรียมปรับลดระดับความรุนแรงของโรคโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ควรสวมหน้ากากอนามัยหากต้องเดินทางไปในสถานที่เสี่ยง หรือมีผู้คนแออัด หนังใหม่               นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ จะมีการปรับลดระดับให้โรคโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เป้าหมายคือ การอยู่ร่วมกับโควิด-19 อย่างปลอดภัย และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ เหมือนโรคไข้หวัดใหญ่ ที่เป็นโรคระบาดทั่วไปตามฤดูกาล               “ทั้งนี้ เมื่อจะเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นของประเทศไทย ที่จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาตามสถานที่ต่างๆ เป็นจำนวนมาก กลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังคือ กลุ่ม 608 กลุ่มโรคประจำตัวเรื้อรัง ซึ่งในกลุ่มนี้ อย่างน้อย หากได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มกระตุ้น (บูสเตอร์ […]

Readmore
โควิด-19

อาการรังเกียจโควิด-19 แก้ไขอย่างไร

May 20, 2023

สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีมาตรการปิดสถานที่สาธารณะ รวมถึงมาตรการประกาศเคอร์ฟิวทั่วประเทศห้ามประชาชนออกจากเคหสถานในเวลาตั้งแต่ 4 ทุ่ม ถึงตี 4 แต่ตัวเลขผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตในประเทศไทยก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะลดลง นอกเหนือจากข่าวตัวเลขผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นยังปรากฏข่าวทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศที่สะท้อนถึงอาการรังเกียจผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อ หรือแม้แต่คนที่ต้องกักตัวจากการกลับมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ซึ่งถูกเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน และชุมชนรอบข้างรังเกียจ ยังไม่รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ถูกตั้งแง่เรื่องความปลอดภัย และล่าสุด มีข่าววัดแห่งหนึ่งไม่รับเผาศพผู้ป่วยโควิดแล้ว อ.ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ปรากฏการณ์รังเกียจผู้ป่วยโควิด หรือแม้แต่บุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับผลกระทบไปด้วย เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ และไม่น่าแปลกใจในสถานการณ์ขณะนี้ เพราะปรากฏการณ์ปัจจุบันเป็นปรากฏการณ์แปลกใหม่ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน “เนื่องจากโรคมีต้นตอมาจากที่ประเทศจีน และเริ่มระบาดลามในทวีปเอเชียก่อน ก็จะมีเหตุการณ์เชื่อมโยงกับการเหยียดผิว เหยียดคนจีน คนเอเชีย ดังนั้นการเหยียดคนติดเชื้อก็มีความใกล้เคียงกับการเหยียดผิวลักษณะหนึ่ง ซึ่งผสมรวมกันกับความกลัวและความรังเกียจเข้าด้วยกัน” อาจารย์หยกฟ้าวิเคราะห์ว่า สถานการณ์โรคระบาดที่มีความไม่แน่นอน และเป็นโรคใหม่ที่ไม่เคยมีคนรู้จักมาก่อนยิ่งส่งผลให้คนมีความกลัวครอบงำ เมื่อกลัวแล้วจะยิ่งเกิดอาการวิตกกังวล ระแวดระวังภัยสำหรับตัวเองมาก “กลไกทางจิตวิทยาของมนุษย์ เพราะว่าเราเป็นสัตว์สังคมเราเลยต้องระแวดระวังภัยให้แก่คนในกลุ่มเดียวกัน ข้อมูลที่เป็นข้อมูลเชิงลบหรือเป็นข้อมูลสุดโต่งแง่ลบจะถูกนำมาเชื่อไว้ก่อน เพราะเราจะคิดถึงกรณีเลวร้ายที่สุดเพื่อเอาไว้ระวังตัว” ขณะเดียวกัน เมื่อมีความกลัวครอบงำ ก็ยิ่งเกิดการลดคุณค่าหรือรังเกียจผู้อื่น ถึงแม้จะไม่ได้มีอาการป่วยหรือเป็นผู้ติดเชื้อก็ตาม แต่ก็ถูกรังเกียจไปด้วย ซึ่งรวมไปถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ถูกรังเกียจ ทั้งๆ ที่สมควรได้รับการยกย่องเป็นผู้เสียสละ “ลองมองย้อนไปช่วงที่เอดส์ระบาดรุนแรงก็มีเหตุการณ์คล้ายคลึงกันแต่ว่าในสถานการณ์นั้นๆ อาจจะพูดได้ว่ามีความรังเกียจผู้ป่วยมากกว่าความกลัว เพราะว่าไม่ได้ติดต่อกันง่ายเหมือนโควิด […]

Readmore
Covid19

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับผู้ป่วยมะเร็งกับโควิด 19

May 18, 2023

สถานการณ์ในตอนนี้ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยโรคมะเร็งจำเป็นที่จะต้องดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อรับมือกับสถานการณ์ในระยะที่ยังคงมีการแพร่ระบาดอยู่ แต่ด้วยความที่โรคมะเร็งและวิธีการรักษา ล้วนมีโอกาสที่จะทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง การรับมือกับโควิด 19 อย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย ทำไมผู้ป่วยมะเร็งถึงมีความเสี่ยงในการติดโควิด 19 มากกว่า โควิด 19 เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่แต่อาจก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงกว่ามาก ปกติแล้วเมื่อร่างกายของเราถูกเชื้อไวรัสโจมตี ระบบภูมิคุ้มกันจะรับหน้าที่กำจัดไวรัส และในกรณีของเชื้อไวรัสโควิด19 ก็เช่นกัน ดังนั้นหากภูมิคุ้มกันของเราดี ไม่มีโรคประจำตัวใด ๆ ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อก็จะลดลง หรือต่อให้ติดโรคแล้วก็จะมีอาการไม่รุนแรง เพียงแค่พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบหมู่ กักตัวแยกจากผู้อื่น และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ แต่ในกรณีของผู้ป่วยมะเร็งนั้น ทั้งตัวโรคเองและวิธีการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการฉายรังสี เคมีบำบัด การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก หรือยาบางชนิด ล้วนมีโอกาสที่จะทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง จึงต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตัวเองต่างๆ อย่างเคร่งครัดเป็นพิเศษ เพราะหากติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ขึ้นมาก็มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป เป็นมะเร็งแต่ติดโควิด 19 ควรจะรักษาโรคไหนก่อน โดยรักษาโควิด 19 ก่อน แม้จะมีอาการมากกว่าคนปกติ แต่หากรีบรักษาก็มีโอกาสรักษาให้หายได้ พอเชื้อหายขาดหมด จึงค่อยกลับมารักษามะเร็งตามกระบวนการต่อไป เพราะมะเร็งไม่หยุดโต ถ้าไม่รักษาก็มีโอกาสเสียชีวิตได้ ดังนั้นเป็นมะเร็งก็ต้องรักษา ติดโควิด 19 […]

Readmore
PyKcdbxCq0Lc1dcSvezI

เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ควรทำอย่างไร?

May 17, 2023

ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง คืออะไร? กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ผู้สัมผัสใกล้ชิด และผู้สัมผัสเสี่ยงสูง โดยให้คำนิยามไว้ว่า ผู้สัมผัสใกล้ชิด แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ณ วันที่ 21 มกราคม 2565 ใครคือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง? บุคคลที่ถือเป็นผู้สัมผัสความเสี่ยงสูง ได้แก่ คุณเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือยัง? ใครบ้างที่ควรตรวจ ATK ควรทำอย่างไร เมื่อรู้ตัวว่าเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง? วิธีตรวจหาเชื้อโควิดโดย Antigen Test Kit (ATK) ด้วยตัวเอง ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร? แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้สัมผัสเสี่ยงสูงของผู้ติดเชื้อเข้าข่าย/ยืนยันติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขอบคุณข้อมูลจาก: ศูนย์ข้อมูล COVID-19, แพทย์หญิงวรฉัตร เรสลี อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ

Readmore
1xZ9VWoFVVjQl33h3BLd

โควิด-19 :อาการหลังติดเชื้อโอมิครอน ต่างจากหวัดธรรมดาอย่างไร

May 16, 2023

ขณะนี้เชื้อไวรัสกลายพันธุ์โอมิครอนได้ระบาดอย่างรวดเร็วในหลายพื้นที่ทั่วโลก และนักวิทยาศาสตร์หลายคนพากันออกมาเตือนว่าเป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 ที่แพร่ได้อย่างรวดเร็วที่สุด ณ ขณะนี้ ผู้ติดเชื้อโอมิครอนดูจะมีอาการไม่หนักมากเมื่อเทียบกับเชื้อชนิดอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ และไม่ต่างจากอาการป่วยด้วยโรคหวัดธรรมดา หรือไข้หวัดใหญ่ อย่างไรก็ดี ความที่เชื้อโอมิครอนแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ยังคงทำให้ระบบบริการสาธารณสุขในหลายประเทศต้องรับมืออย่างหนัก และผู้ที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มคนที่ไม่ได้รับวัคซีน กับผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง อาการ “เราคิดว่าเชื้อโอมิครอนทำให้เกิดอาการป่วยที่คล้ายกับเชื้อกลายพันธุ์ชนิดอื่นที่เบากว่าที่เราพบในหมู่คนที่ได้รับวัคซีนแล้ว เช่น เชื้อเดลตา” ศ. ทิม สเปคเตอร์ นักระบาดวิทยา ของคิงส์คอลเลจ ลอนดอนผู้นำโครงการศึกษาอาการโควิดที่ชื่อ Zoe Covid Symptom กล่าว ศ. สเปคเตอร์ และคณะกำลังรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยหลายพันคนเพื่อวิเคราะห์อาการและดูว่าเชื้อกลายพันธุ์เดลตาและโอมิครอนมีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาพบอาการ 5 อย่างที่เหมือนกัน ได้แก่ : สาเหตุที่ทำให้มีอาการไม่หนัก ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการที่คนจำนวนมากได้รับวัคซีนโควิดแล้ว หรือไม่ก็มีภูมิคุ้มกันหมู่ แต่ขณะนี้ก็ยังเร็วเกินไปที่จะชี้ว่าเชื้อโอมิครอนจะส่งผลอย่างไรกับคนที่ไม่ได้รับวัคซีนและคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่ง ศ.สเปคเตอร์ ชี้ว่าเพราะอาการของผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่ได้รับรายงานนั้น คล้ายกับการป่วยด้วยโรคหวัดธรรมดา ซึ่งอาจทำให้คนไม่ได้ตระหนักว่าตัวเองอาจจะติดเชื้อโรคโควิด-19 สิ่งนี้หมายความว่าในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อโอมิครอนอย่างรวดเร็วอย่างในกรุงลอนดอน ผู้ที่มีอาการป่วยเหมือนเป็นไข้หวัดก็คือผู้ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 ดังนั้นหากสงสัยว่าติดเชื้อนี้เข้าให้แล้ว สิ่งสำคัญคือจะต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อโดยเร็วที่สุด แม้จะมีอาการไม่หนักมากหรือไม่มีอาการเลยก็ตาม เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้คนอื่นติดเชื้อได้ อาการป่วยด้วยโรคโควิด-19 ที่พบก่อนหน้านี้ มีทั้งการมีไข้ […]

Readmore
1622966016_060664_disease-in-rainy

หน้าฝนกับโรคใกล้ตัว เช็กอาการแบบไหนที่ใช่โควิด-19?

May 15, 2023

ในช่วงฤดูฝนของทุกปีในประเทศไทย จะพบการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการระบาด ก็คือความชื้นในอากาศและอุณหภูมิที่เย็นลง เพราะจะทำให้ไวรัสต่างๆ มีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น เพราะฉะนั้นในช่วงที่เชื้อโควิด-19 กำลังระบาดหนักแบบนี้ จึงจำเป็นต้องระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ หนังใหม่ โดยเฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาการจะใกล้เคียงกับการติดเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างมาก เช็กให้ชัวร์ เช็กให้แน่ใจกันดีกว่า อาการไหนที่ใช่..ไข้หวัดใหญ่ และ อาการที่บอกว่าสุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 อาการของโรคไข้หวัดธรรมดา– มีไข้ต่ำๆ ถึงมีไข้สูง ผ่านไป 3-4 วัน อาการจะเริ่มดีขึ้น– อาจมีไอ จาม เล็กน้อย ผ่านไป 3-4 วัน อาการจะเริ่มดีขึ้น– น้ำมูกไหล มีอาการคัดจมูก ทำให้หายใจไม่สะดวก– ปวดตามตัว รู้สึกอ่อนเพลีย– ไม่มีอาการท้องเสีย อาการของโรคโควิด-19 (COVID-19)– มีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศา– ปวดเมื่อยตามตัว ทานอาหารไม่ค่อยได้– ไอ มีเสมหะ เจ็บคอ นานติดต่อกันมากกว่า 4 วัน– บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียร่วมด้วย– หายใจลำบากมีไอร่วมด้วย […]

Readmore
200601_covid

​โควิด-19 ทำให้วิกฤตโลกร้อนดีขึ้นจริงหรือ?

May 13, 2023

นับตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด-19 ที่ได้สร้างความปั่นป่วนแก่สังคมโลกในหลายแง่มุม โดยเฉพาะผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจ ประเด็นที่หลายคนมักพูดถึงและกลับถูกมองในด้านดี คือ โควิด-19 ได้ทำให้ปัญหาวิกฤตโลกร้อนคลี่คลายลง สะท้อนจากคุณภาพสิ่งแวดล้อมและอากาศที่ดีขึ้นจากการหยุดชะงักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ผู้เขียนยังจำภาพถ่ายดาวเทียมขององค์กรนาซาในประเทศจีนได้ดี ซึ่งแสดงปริมาณมลภาวะที่ลดลงอย่างมากในช่วงเวลาเพียงแค่ 1 เดือน จากผลของมาตรการปิดเมืองและปิดโรงงานที่ทำให้มลพิษที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมลดลงไปโดยปริยาย ดังนั้น คำถามสำคัญที่ตามมาคือ โควิด-19 ทำให้สถานการณ์วิกฤตโลกร้อนดีขึ้นแล้วจริงหรือไม่? วันนี้จึงมาชวนท่านผู้อ่านคิดและตีแผ่ความจริงที่หลายท่านอาจไม่เคยได้ยิน ดังนี้ครับ 1. แม้คุณภาพอากาศจะดีขึ้นจริงในระยะสั้นจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงัก แต่โควิด-19 ไม่ได้ช่วยให้วิกฤตโลกร้อนดีขึ้นในระยะยาว โดยเฉพาะปัญหาขยะของเสียและพลาสติกที่เพิ่มพูนขึ้น:  เมื่อช่วงต้นเดือน เม.ย. 63 ผู้อำนวยการโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ได้ออกมาชี้แจงว่า โควิด-19 ไม่ควรถูกมองว่า “เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม” โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมาซึ่งทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง ล้วนเป็นเพียงเรื่องชั่วคราวเท่านั้น เพราะอย่าลืมว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งใหญ่นี้ ส่งผลให้ปริมาณขยะทางการแพทย์และของเสียอันตราย รวมทั้งขยะพลาสติกที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่ส่งถึงบ้าน โดยเฉพาะหีบห่อแบบใช้ครั้งเดียวเพิ่มขึ้นมากมาย หากมนุษย์ยังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการผลิตและบริโภคให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น วิกฤตโลกร้อนก็จะยังคงอยู่และรุนแรงขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน 2. การแก้ไขปัญหาโลกร้อนอาจถูกลดความสำคัญลงในช่วงระยะการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤต และจะยิ่งซ้ำเติมให้วิกฤตโลกร้อนรุนแรงขึ้นอีก:  เมื่อวิกฤตโควิด-19 ผ่านพ้นไปแล้ว การฟื้นฟูเศรษฐกิจจะเป็นภารกิจสำคัญอันดับต้น ๆ ของรัฐบาลในแต่ละประเทศ การตัดสินใจฟื้นฟูด้วยวิธีการใดขึ้นอยู่กับแนวนโยบายของแต่ละประเทศ เพราะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานระยะยาวสามารถจะทำได้ควบคู่ไปกับการรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน อาทิ การลงทุนในพลังงานทดแทน การขนส่งสาธารณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประเด็นสำคัญที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดคือ […]

Readmore