Month: March 2023

ทำความรู้จักโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) แพร่เชื้อ-ติดต่ออย่างไร?
ฝีดาษลิง (Monkeypox) คืออะไร? โรคไข้ฝีดาษลิง หรือ ไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) เกิดจาก ไวรัส Othopoxvirus ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับไวรัสโรคไข้ทรพิษ (Smallpox) โดยพบเชื้อในสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระแต เป็นหลัก โดยค้นพบโรคนี้ครั้งแรกในลิง ซึ่งไปรับเชื้อมาโดยบังเอิญ จึงเป็นที่มาของชื่อโรค “ฝีดาษลิง” โรคฝีดาษลิงแพร่ระบาดอยู่ทั่วไปในทวีปแอฟริกา จนกลายเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic disease) ซึ่งพบอัตราการเสียชีวิต 1-10% ทั้งนี้การเสียชีวิตขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์หลักของโรคฝีดาษลิง แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก คือ “ฝีดาษลิง” แตกต่างจาก “ไข้ฝีดาษ-ไข้ทรพิษ” อย่างไร? โรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ (Smallpox) จัดเป็นกลุ่มโรคไข้ออกผื่น กินระยะเวลานาน 2-4 สัปดาห์ เช่นเดียวกับไข้ฝีดาษลิง แม้ว่าจะเป็นไวรัส Othopoxvirusกลุ่มเดียวกัน แต่จัดเป็นคนละชนิดกัน โดยลักษณะการติดต่อและความรุนแรงของโรคพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เชื้อไวรัสของโรคไข้ทรพิษจะอยู่ในคนเป็นหลัก โดยจะมีการติดต่อจากคนสู่คนเท่านั้น โดยติดต่อผ่านการหายใจ […]
Readmore
โรคอ้วน โรคเบาหวาน เพิ่มความเสี่ยงอาการรุนแรง จากติดโควิด 19
หลายคนคงจะพอรู้แล้วว่า ผู้ที่เป็นโรคประจำตัว 7 โรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน เป็นกลุ่มที่มีสิทธิเข้ารับการฉีดวัคซีนก่อน เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อแล้วมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต บทความนี้ จะกล่าวถึงหนึ่งในโรคกลุ่มเสี่ยงที่ติดเชื้อโควิด 19 แล้วจะมีอาการรุนแรง นั่นก็คือ โรคอ้วน เหตุผลที่โรคนี้น่ากังวลเป็นพิเศษ เพราะคนอ้วนส่วนใหญ่ไม่ได้มีแค่โรคเดียว แต่มักจะมีโรคร่วมอื่นๆด้วย ทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เชื้อโควิดจะเป็นตัวกระตุ้นให้การอักเสบรุนแรงมากขึ้นจนลามไปยังอวัยวะต่างๆ เช่น ไตวาย หัวใจล้มเหลวปอดล้มเหลว และสุดท้ายอาจทําให้เสียชีวิตได้ โรคอ้วน คืออะไร โรคอ้วน (Obesity) คือ ภาวะที่มีน้ำหนักตัวหรือสัดส่วนไขมันในร่างกายมากผิดปกติ โดยสามารถคำนวณโดยใช้ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index; BMI) หากมีค่า BMI ตั้งแต่ 25 kg/m² ขึ้นไปถือว่าเข้าข่ายเป็นโรคอ้วนแล้ว ปัจจุบัน โรคอ้วนได้กลายเป็นวาระระดับโลกถึงขั้นที่องค์การอนามัยโลกได้ตั้ง “วันอ้วนโลก” ขึ้นมา เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนักอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับปัญหา สาเหตุ และแนวทางการป้องกันมิให้เกิดโรคอ้วน เนื่องจากภาวะดังกล่าว จะกลายเป็นบ่อเกิดของโรคเรื้อรังอีกมากที่จะตามมา […]
Readmore
ระยะฟักตัวโควิด นานแค่ไหน แพร่เชื้อทันทีเลยไหม?
ผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) สาเหตุของโรคโควิด-19 (COVID-19) จำนวนมากไม่มีอาการใดๆ และสามารถฟื้นตัวจนหายเองได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้การรักษามากเป็นพิเศษ ทำให้หลายคนสับสนว่าในขณะที่ไม่มีอาการนั้นถือว่าอยู่ในระยะฟักตัวโควิดหรือไม่ แล้วระยะฟักตัวโควิดมีระยะนานแค่ไหน แพร่เชื้อได้หรือไม่กันแน่ สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมของโควิดสายพันธุ์ใหม่จากแอฟริกาใต้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ รู้จักกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) ระยะฟักตัวโควิดคืออะไร? ระยะฟักตัวโควิด (Incubation period) คือ ช่วงเวลาหลังจากสัมผัสหรือรับเชื้อไวรัสจนถึงช่วงที่เริ่มมีอาการ ซึ่งผู้ชำนาญการทางการแพทย์ใช้จำนวนวันของระยะฟักตัวโควิดในการแนะนำว่าควรกักตัวนานแค่ไหนเพื่อดูอาการ ผู้ติดเชื้อโควิดจำนวนมากมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่อาจค่อยๆ เป็นมากขึ้นในไม่กี่วัน โดยอาการที่พบบ่อยสำหรับผู้ติดโควิด อาจมีดังนี้ อย่างไรก็ตาม อาการแสดงในแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป และอาจไม่ได้มีอาการดังกล่าวครบทุกอาการ ดังนั้นหากผ่านพื้นที่เสี่ยง หรือมีอาการดังกล่าว ควรกักตัวอยู่บ้านเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด นอกจากนี้แม้จะหายจากโควิด-19 แล้ว ก็ยังอาจมีความผิดปกติบางอย่างหลงเหลืออยู่ได้ เช่น กลุ่มอาการ MIS-C ที่เริ่มมีหลายคนพบความสัมพันธ์ว่าเด็กหายจากโควิดอาจมีโอกาสเป็นมากขึ้น ดังนั้นการป้องกันตัวอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะยังไม่ติด เคยติดแล้ว หรือรับวัคซีนโควิดแล้วก็ตาม หากไม่แน่ใจว่าตนเองติดเชื้อหรือไม่ และต้องการตรวจยืนยัน หรือต้องการใบรับรองเดินทางต่างประเทศ สามารถใช้บริการตรวจโควิด-19 ตามสถานที่ใกล้บ้านต่างๆ ระยะฟักตัวโควิดกี่วัน? ระยะฟักตัวโควิดอยู่ที่ประมาณ 2-14 วัน หลังจากรับเชื้อ อ้างอิงตามที่ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (Centers for disease control and prevention: CDC) […]
Readmore
อนามัยโลกจับตาตัวกลายพันธุ์โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา
อนามัยโลกจับตาตัวกลายพันธุ์โควิดสายพันธุ์ ‘แลมบ์ดา’ พบระบาดแล้วในหลายสิบประเทศ องค์การอนามัยโลก (WHO) เพิ่มเติมสายพันธุ์โควิด-19 เข้าไปในบัญชีตัวกลายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ต้องให้ความสนใจอีกหนึ่งสายพันธุ์ นั่นก็คือตัวกลายพันธุ์ “แลมบ์ดา (Lambda)” รายงานประจำสัปดาห์ขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า โควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา ซึ่งพบครั้งแรกในเปรูเมื่อปีที่แล้ว ถูกจัดให้เป็นสายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (Variant of Interest) หลังพบมันแพร่ระบาดในหลายสิบประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอเมริกาใต้ ตัวกลายพันธุ์แลมบ์ดามีสัดส่วนคิดเป็น 82% ของเคสผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในเปรูในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา และเคสผู้ติดเชื้อรายใหม่ราว 1 ใน 3 ในชิลี ในช่วงเวลาเดียวกันก็มีต้นตอจากตัวกลายพันธุ์แลมบ์ดา นอกจากนี้แล้วสหราชอาณาจักรก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่พบเห็นเคสผู้ติดเชื้อตัวกลายพันธุ์แลมบ์ดาประปราย ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น อาร์เจนตินาและเอกวาดอร์ รายงานพบความชุกที่เพิ่มขึ้นของสายพันธุ์ใหม่นี้เช่นกัน ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน แลมบ์ดาถูกมองในฐานะตัวกลายพันธุ์ที่น่าสนใจ ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้สำหรับตัวกลายพันธุ์หนึ่งๆ ที่อาจแพร่กระจายเชื้อง่ายกว่าตัวดั้งเดิม เป็นสาเหตุของการแพร่ระบาดในหลายประเทศ หรือในทางทฤษฎี สามารถก่ออาการเจ็บป่วยรุนแรงกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม หรือหลีกเลี่ยงแนวทางรักษาและวัคซีนต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างช่ำชอง อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันนี้มันยังเป็นกรณีเดียวกับตัวกลายพันธุ์อื่นๆ อย่างเช่นตัวกลายพันธุ์เดลตา ที่ยังเร็วเกินที่จะบอกว่า แลมบ์ดา มีความร้ายแรงกว่าสายพันธุ์อื่นหรือสามารถต้านทานวัคซีนหรือวิธีการรักษาต่างๆ การแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าไม่ได้หมายความว่าตัวกลายพันธุ์นั้้นจะมีความอันตรายร้ายแรงกว่าตัวดั้งเดิม […]
Readmore
จับตา“มิว”โควิดกลายพันธุ์ตัวใหม่
จับตา “มิว” โควิดกลายพันธุ์ตัวใหม่ เป็นยังไง แล้วต้องกังวลขนาดไหน ในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลก (WHO) แบ่งสายพันธุ์โควิดกลายพันธุ์เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1. โควิดกลายพันธุ์กลุ่ม variant of concern (VOC) คือโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่มีความน่ากังวล ได้แก่ โควิดสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) โควิดสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) โควิดสายพันธุ์แกมมา (บราซิล) และโควิดสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) 2. โควิดกลายพันธุ์กลุ่ม variant of interest (VOI) คือโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่อยู่ในความน่าสนใจ ได้แก่ โควิดสายพันธุ์มิว (โคลอมเบีย) โควิดสายพันธุ์อีตา (เจอครั้งแรกในหลายประเทศ) โควิดสายพันธุ์ไอโอตา (สหรัฐฯ) โควิดสายพันธุ์แคปปา (อินเดีย) และโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา (เปรู) ทำไมโควิดสายพันธุ์มิว (โคลอมเบีย) ถึงอยู่ในความน่าสนใจของ WHO โควิดสายพันธุ์มิว มีการค้นพบครั้งแรกในประเทศโคลอมเบียช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 โดยได้ชื่อตั้งต้นว่าโควิดสายพันธุ์ B.1.621 และมีการกลายพันธุ์ทั้งหมด 50-60 ตำแหน่ง ซึ่งมีตำแหน่งการกลายพันธุ์ที่สำคัญ 5 ตำแหน่งคือ โดยมีการค้นพบเชื้อโควิดสายพันธุ์มิวแล้วมากกว่า […]
Readmore
ยา Tecovirimat ใช้รักษาฝีดาษลิง
ยา Tecovirimat ใช้รักษา “ฝีดาษลิง” รุนแรง “อนุทิน” สั่งซื้อ “วัคซีน-ยา” เผื่อกลุ่มเสี่ยง ยันไม่ติดง่ายหลังเจอ 3 ราย “อนุทิน” ย้ำ ฝีดาษลิงไม่ได้ติดต่อง่าย ระบบเฝ้าระวังยังเข้ม หลังเจอรายที่ 3 สั่งซื้อทั้งวัคซีนและยา เตรียมพร้อมใช้ในกลุ่มเสี่ยง เปิดแนวทางรักษา “ฝีดาษลิง” เน้นรักษาตามอาการ ส่วนยาต้านไวรัส Tecovirimat กำลังศึกษาใช้ในผู้ป่วยรุนแรง มีทั้งแบบกินและให้หลอดเลือด ช่วยยับยั้งไวรัสแทรกเข้าเซลล์ เมื่อวันที่ 3 ส.ค. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีพบผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่ 3 ของประเทศไทย ว่า การเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิง ที่ผ่านมา มีการกำชับให้ตรวจเฝ้าระวังคัดกรอง ทั้งที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ทั้งสนามบิน ทางน้ำ และ ทางบก รวมถึงในสถานพยาบาลให้เตรียมความพร้อมเรื่องการรักษา ดังนั้น ผู้ที่มีอาการสงสัยขอให้รีบมาพบแพทย์ ส่วนเรื่องวัคซีนและยาก็มีการเตรียมสั่งซื้อเข้ามา ซึ่งวัคซีนก็ไม่ใช่ว่าต้องฉีดให้ทุกราย แต่จะเป็นกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง […]
Readmore
COVID-19 ไวรัสร้ายทำลายหัวใจ
แพทย์เตือน COVID-19 ไวรัสร้ายที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจอยู่แล้ว มีโอกาสเสียชีวิตสูง แพทย์หญิงชาดา โชติพันธุ์วิทยากุล อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลเวชธานี เปิดเผยว่า COVID-19 เป็นไวรัสที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อปอดและระบบทางเดินหายใจเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดความผิดปกติต่อหัวใจด้วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจเป็นโรคประจำตัวอยู่เดิม เช่น โรคความดันโลหิตสูง เส้นเลือดหัวใจตีบ หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งพบว่าโดยทั่วไปแล้วการทำงานของหัวใจและระบบไหวเวียนเลือดในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่าคนทั่วไป อีกทั้งผู้ป่วยโรคหัวใจส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้สูงอายุ และมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอตามธรรมชาติของวัย ดังนั้นหากติดเชื้อ COVID-19 จะยิ่งทำให้โรคมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น มีการตรวจพบการอักเสบที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะที่เยื่อบุหลอดเลือดทั่วร่ายกาย ในผู้ที่เสียชีวิต ซึ่งการอักเสบนี้จะทำให้การไหลเวียนเลือดบกพร่อง เซลล์และเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน จนทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้นและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น หัวใจล้มเหลว ลิ่มเลือดเฉียบพลันในหลอดเลือดหัวใจ ปอดอักเสบรุนแรงและภาวะระบบการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน นอกจากนี้ในระหว่างที่มีการติดเชื้อนี้จะทำให้การควบคุมโรคประจำตัวที่มีอยู่เดิมทำได้ยากขึ้น และเกิดภาวะหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลวได้เช่นเดียวกัน ในส่วนของผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว และแข็งแรงดีมาก่อนแต่ได้รับเชื้อ COVID-19 พบมีรายงานการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัสได้ โดยอาศัยการวินิจฉัยจากการตรวจพิเศษทางหัวใจเพิ่มเติม ซึ่งภาวะนี้จะทำให้การบีบตัวของหัวใจแย่ลง ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและน้ำท่วมปอดตามมา นอกจากนี้การใช้ยารักษา COVID-19 เองก็มีรายงานว่าทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจได้เช่นกัน พบว่าการใช้ยาต้านไวรัสร่วมกับยาต้านมาลาเรียอาจทำให้เกิดการนำกระแสไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ (QT Prolongation) ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยทุกราย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยที่อายุน้อยและแข็งแรงดีมาก่อน ดังนั้น การป้องกันไม่ให้ได้รับเชื้อ COVID-19 จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับเชื้อ […]
Readmore
ผื่นขึ้นแบบไหนเข้าข่ายติดCovid-19
ผื่นขึ้นแบบไหนเข้าข่ายติด Covid-19 – สังเกตอาการใหม่ของผู้ป่วยโควิด-19 จากการตรวจผู้ติดเชื้อ Covid-19 สายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการแต่มีเชื้อในลำคอจำนวนมาก โดยสังเกตอาการแสดงที่พบได้ดังนี้ • ตาแดง• น้ำมูกไหล• ไม่มีไข้• บางรายมีผื่นขึ้น เช็คอาการ Covid-19 ผู้ป่วยมักมีอาการแสดงที่สามารถสังเกตได้ ดังนี้ • มีไข้เกิน 37.5 องศา• ไอแห้ง ไอแบบมีเสมหะ• หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ• อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว• สูญเสียการได้กลิ่น และรับรส• ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นโควิด-19 เป็นแบบไหน? ผื่นขึ้นแบบไหนบ้าง? ที่อาจเข้าข่ายติด Covid-19ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาเปิดเผยว่า อีกหนึ่งอาการที่พบได้ในผู้ป่วยโควิด-19 ก็คือ อาการผื่น โดยสามารถสังเกตลักษณะของผื่นโควิด-19 ได้ดังนี้ *ดังนั้นหากทราบว่าตนเองไปในสถานที่เสี่ยง หรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แล้วมีอาการผื่นดังกล่าว และเกิดฉับพลันพร้อมอาการมีไข้ ไอ จาม หรืออาการทางระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันที สำหรับ Covid-19 สายพันธุ์ […]
Readmore
รักษาโควิดที่บ้าน 10 คำถามพบบ่อย
เมื่อเป็นโควิดเเละต้อง รักษา โควิด ที่บ้าน ต้องทำอย่างไร 10 ข้อต้องรู้ การทำ Home Isolation ทำยังไงเมื่อเป็นโควิด เเละต้องรักษาตัวที่บ้าน ยอดผู้ติดเชื้อที่กำลังพุ่งขึ้นเรื่อยๆ จนตอนนี้วันละเป็นหมื่นๆคน เเละผู้ที่ติดเชื้อบางส่วนยังไม่สามารถหาโรงพยาบาลที่เข้ารักษาตัวได้ เเละบางส่วนมีอาการอยู่ในระดับสีเขียวที่สามารถทำ Home Isolation ที่บ้านได้ พี่หมีบิ๊กกี้รวม 15 ข้อมูลที่ต้องรู้เกี่ยวกับการ รักษา โควิด ที่บ้าน หรือการทำ Home Isolation หากเป็นโควิด 19 จะมีขั้นตอนการเข้าระบบ Home Isolation ทางไหนได้บ้าง เเละต้องรักษาตัวที่บ้านอย่างไร ไปดูกัน 1. การรักษา โควิด ที่บ้าน หรือ การทำHOME ISOLATION เหมาะกับใคร ? 2. ดูว่าอาการเราอยู่ในระดับความเสี่ยงอย่างไร หากอยู่ในระดับ ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว สามารถ รักษา โควิด ที่บ้าน หรือการทำ Home Isolation ได้ โดยต้องสังเกตอาการตัวเองดังนี้ 3. […]
Readmore
ประเมินระดับอาการเมื่อเป็นโควิด19
อย่างที่ทราบกันดีว่าผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหากตรวจพบว่าเป็นโควิด-19 การประเมินอาการตนเองว่าเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว สีเหลือง สีแดง เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม จะช่วยลดความรุนแรงและงดอัตราการเสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้นได้ ประเมินอาการผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว คือ ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย ได้แก่ ประเมินอาการผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง คือ ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มที่มีอาการไม่รุนแรง ได้แก่ ประเมินอาการผู้ป่วยกลุ่มสีแดง ผู้ป่วยกลุ่มสีแดง คือ ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มที่มีอาการหนักและรุนแรง ได้แก่ เตรียมพร้อมรับการรักษาเมื่อป่วยโควิด-19 อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการแย่ลงจะต้องอยู่ในความดูแลของบุคลากรทางการแพทย์โดยเร็วที่สุด
Readmore