Month: February 2023

โลกจะเปลี่ยนไปหลังวิกฤตโควิดจบลง
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้สร้างความโกลาหลวุ่นวายให้กับโลกอย่างหนักหน่วงทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมไปถึงวิถีชีวิตของผู้คน ผู้เขียนได้เคยอธิบายผลกระทบด้านเศรษฐกิจโดยตรงไปแล้วในบทความ “ไวรัสโคโรนา: ฝันร้ายของเศรษฐกิจโลก?” ตั้งแต่เมื่อครั้งสถานการณ์ภายนอกประเทศจีนยังไม่รุนแรงนักและอัตราการติดเชื้อชะลอลงแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนยอมรับโดยดุษณีว่าการแพร่ระบาดของไวรัสตัวนี้รุนแรง รวดเร็ว และขยายวงกว้างกว่าที่เคยประเมินไว้จริง ๆ จึงต้องขอให้กำลังใจอีกครั้งกับบุคลากรทางสาธารณสุขแนวหน้าทุกท่าน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐและภาคเอกชนทั่วโลกที่พยายามเยียวยาผลกระทบอันใหญ่หลวงนี้ ผู้เขียนได้แต่หวังว่าฝันร้ายครั้งนี้จะจบลงด้วยความร่วมแรงร่วมใจของทุกท่านในการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) โดยเฉพาะการอยู่บ้านเพื่อหยุดการแพร่และรับเชื้อ และการได้รับประโยชน์จากมาตรการเยียวยาของภาครัฐอย่างตรงจุดในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ตลอดจนความสำเร็จจากการคิดค้นวิธีการรักษาและวัคซีนป้องกันไวรัสโดยเร็วที่สุด แต่ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งได้สิ้นหวังไปครับ เพราะทุกวิกฤตมีเกิดแล้วย่อมมีดับเป็นธรรมดา การแพร่ระบาดครั้งนี้ก็เช่นกัน คำถามสำคัญที่ตามมาคือ เมื่อวิกฤตครั้งนี้สิ้นสุดลงแล้ว โลกใบนี้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร บางขุนพรหมชวนคิดจึงขอชวนท่านผู้อ่านมองไปข้างหน้าและคิดตามกันในแง่มุมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ครับ “การทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (deglobalization) จะมีความเข้มข้นมากขึ้น และทำให้ห่วงโซ่อุปทานโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว” 1. การทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (deglobalization) จะมีความเข้มข้นมากขึ้น และทำให้ห่วงโซ่อุปทานโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว: ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาก่อนเกิดวิกฤตครั้งนี้ เราได้เห็นหลายประเทศใช้นโยบายแบบเน้นตนเอง (inward-looking policy) หรือปกป้องทางการค้า (protectionism) อย่างชัดเจนกันอยู่แล้ว โดยเฉพาะจากสงครามการค้าที่ปะทุขึ้นโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่ส่งเสริมให้บริษัทสัญชาติอเมริกันกลับมาผลิตในประเทศมากขึ้นและกีดกันการค้าจากต่างประเทศ ประเด็นนี้กลับมาชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีกด้วยวิกฤตโควิด-19 ที่กำลังตอกย้ำความเชื่อของฝ่ายขวาจัดและผู้ไม่สนับสนุนโลกาภิวัตน์ว่า การพึ่งพิงระบบการผลิตระหว่างประเทศมากเกินไปเป็นเรื่องอันตราย ซึ่งจะเร่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานโลกที่มีอยู่แล้วให้ยิ่งรวดเร็วมากขึ้น กล่าวคือ ประเทศต่าง ๆ […]
Readmore
ชี้ติดโควิด อาจมีปัญหาเกล็ดเลือด
“หมอธีระ” อัปเดตความรู้ “โควิด-19” พบว่ากลุ่มผู้ป่วย Long COVID บางส่วนมีการทำงานของเกล็ดเลือดผิดปกติ และเกิดลิ่มเลือดขนาดเล็ก อุดตันตามระบบต่างๆ เมื่อวันที่ 24 ก.พ.66 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ “หมอธีระ” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงประเด็น “โควิด-19” ระบุว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 80,787 คน ตายเพิ่ม 394 คน รวมแล้วติดไป 679,225,537 คน เสียชีวิตรวม 6,794,926 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุด คือ เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปแ ละเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 89.32 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 74.11 อัปเดตความรู้โควิด-19 1. “การใส่หน้ากากจะช่วยลดการติดเชื้อแพร่เชื้อในโรงเรียนได้” (รูปที่ 1 และ 2) ในการประชุมล่าสุด […]
Readmore
หัวหน้าโควิดของจีน การระบาดจบแล้ว
โกลบอลไทมส์ – การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในจีนโดยทั่วไปถือว่ายุติแล้ว แม้ยังพบผู้ติดเชื้ออยู่ประปรายก็ตาม นายเหลียง วั่นเหนียน หัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญในการรับมือโรคโควิด-19 แพร่ระบาดของจีน ออกมาแถลงดังกล่าวเมื่อวันพฤหัสฯ (23 ก.พ.) พร้อมกับระบุว่า จีนประสบชัยชนะครั้งใหญ่ในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 มาตั้งแต่เดือน พ.ย.2565 เขาอธิบายเกณฑ์ในการตัดสินว่าจีนได้ก้าวพ้นจากการแพร่ระบาดแล้ว โดยพิจารณาจากดัชนีหลายตัว เช่น อัตราการติดเชื้อ ระดับภูมิคุ้มกันในหมู่ประชาชน การกลายพันธุ์ของโรค ความสามารถในการรองรับผู้ป่วยของสถานพยาบาล และดัชนีชี้วัดตัวสุดท้ายคือความสามารถในการควบคุมและป้องกันโดยรวมทั้งหมด นายเหลียง ระบุว่า ชัยชนะครั้งใหญ่นี้หมายถึงการที่จีนสามารถทนทานกับบททดสอบจากการแพร่ระบาดรอบล่าสุดมาได้ และมีการสร้างปราการภูมิคุ้มกันขึ้นอย่างต่อเนื่องในหมู่ประชาชน อย่างไรก็ตาม โรคโควิด-19 ระบาดในจีนมิได้หายไป 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ยังคงมีการติดเชื้อในท้องถิ่นอยู่ประปรายเป็นพักๆ โดยหลังจากองค์การอนามัยโลกประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคระบาดใหญ่เมื่อเดือน มี.ค.2563 และตัดสินใจประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศเมื่อสิ้นเดือน ม.ค.2564 นั้น จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำประกาศ และในมุมมองระดับโลก โควิด-19 ยังคงมีสถานะโรคระบาดใหญ่ ดังนั้น ภัยคุกคามจากโควิด-19 จึงยังคงมีอยู่ การแถลงของนายเหลียง มีขึ้นหลังจากเมื่อวันที่ 16 ก.พ. ที่ประชุมคณะผู้บริหารสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งมีประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เลขาธิการพรรคเป็นประธาน […]
Readmore
แนะนำการเตรียมพร้อมรับมือและป้องกัน “โรคฝีดาษลิงในไทย”
“โรคฝีดาษลิง” ซึ่งมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในต่างประเทศเป็นโรคที่ใกล้ตัวเราเข้ามาทุกที สร้างความวิตกกังวลให้หลายคนที่กลัวว่าจะติดเชื้อหลังจากที่สถานการณ์โรคโควิด-19 เริ่มจะคลี่คลาย ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง เกษแดงสกลวุฒิ ภาควิชาพยาธิวิทยาและหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคฝีดาษลิง เพื่อสร้างความเข้าใจให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนก พร้อมแนะวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยให้ห่างจากโรคนี้ จุดเริ่มต้นโรคฝีดาษลิง ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง อธิบายว่าโรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อไวรัส Monkeypox ซึ่งเป็นไวรัสที่มีความใกล้เคียงกับโรคฝีดาษคนหรือไข้ทรพิษ พบครั้งแรกเมื่อปี 2501 ในห้องแลปที่ประเทศเดนมาร์ก จากลิงที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ส่วนการพบในมนุษย์ครั้งแรกเมื่อปี 2513 ที่ประเทศคองโก ทวีปแอฟริกา ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ระบาดคือทางแถบแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากคือไนจีเรีย เมื่อปี 2546 พบผู้ป่วยเป็นโรคฝีดาษลิงมีความสัมพันธ์กับสัตว์คือ แพรีด็อก ซึ่งซื้อมาจากร้านขายสัตว์เลี้ยง โดยมีการสัมผัสใกล้ชิดแล้วโดนกัด จากการสืบสวนโรคพบว่ามีการเลี้ยงแพรีด็อกอยู่ในกรงใกล้ๆ กับสัตว์ฟันแทะที่นำเข้ามาจากจากประเทศกาน่า ซึ่งสัตว์อาจจะมีพาหะอยู่แต่ไม่ได้แสดงอาการชัดเจน การติดเชื้อและการแพร่ระบาดในปัจจุบัน พาหะของโรคฝีดาษลิงคือสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนู แพรีด็อก ฯลฯ โดยติดเชื้อได้จากการโดนสารคัดหลังจากสัตว์ป่วยที่มีเชื้ออยู่ สำหรับกลุ่มคนที่ล่าสัตว์และนำเนื้อมาชำแหละก็มีความเสี่ยงได้เช่นกัน ส่วนการแพร่เชื้อจากคนสู่คนพบในประเทศอังกฤษ เป็นการติดจากสารคัดหลั่งเนื่องจากมีการใกล้ชิดกัน แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าติดจากการมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ ทั้งนี้การแพร่กระจายเชื้อผ่านอากาศ (Airborne) ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง กล่าวว่าสามารถเกิดขึ้นได้แต่น้อยมาก ปัจจุบันโรคฝีดาษลิงกลับมาแพร่ระบาดมากขึ้นจากการเดินทางข้ามประเทศมากขึ้น ที่เป็นข่าวแพร่หลายในระยะนี้เนื่องจากมีการระบาดหลายประเทศพร้อมกัน อาการและความรุนแรงของโรคฝีดาษลิง ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง กล่าวว่า ระยะ 3-4 วันแรกผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสคือมีไข้ […]
Readmore
ผู้ป่วยลองโควิดควรเน้นกิน ‘โปรตีน โพรไบโอติกส์ วิตามิน’
กรมอนามัย แนะ ผู้ป่วยลองโควิด-19 กินอาหารครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด เน้นอาหารย่อยง่าย เลือกกินอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีน จุลินทรีย์สุขภาพ หรือโพรไบโอติกส์ (Probiotics) และวิตามินต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง และสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ลองโควิด (Long COVID) หรือ Post COVID-19 Syndrome คือ ภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งอาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30 – 50 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง ดังนั้น ผู้ป่วยลองโควิด-19 ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของตนเองอยู่เสมอ ด้วยการกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด เน้นอาหารย่อยง่าย เนื่องจากอาจมีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร และหากมีอาการเบื่ออาหาร ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ หลาย ๆ มื้อ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ตลอดวัน […]
Readmore
ทำความรู้จัก “โรคฝีดาษลิง”
ฝีดาษลิง (Monkeypox) คืออะไร? โรคไข้ฝีดาษลิง หรือ ไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) เกิดจาก ไวรัส Othopoxvirus ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับไวรัสโรคไข้ทรพิษ (Smallpox) โดยพบเชื้อในสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระแต เป็นหลัก โดยค้นพบโรคนี้ครั้งแรกในลิง ซึ่งไปรับเชื้อมาโดยบังเอิญ จึงเป็นที่มาของชื่อโรค “ฝีดาษลิง” โรคฝีดาษลิงแพร่ระบาดอยู่ทั่วไปในทวีปแอฟริกา จนกลายเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic disease) ซึ่งพบอัตราการเสียชีวิต 1-10% ทั้งนี้การเสียชีวิตขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์หลักของโรคฝีดาษลิง แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก คือ “ฝีดาษลิง” แตกต่างจาก “ไข้ฝีดาษ-ไข้ทรพิษ” อย่างไร? โรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ (Smallpox) จัดเป็นกลุ่มโรคไข้ออกผื่น กินระยะเวลานาน 2-4 สัปดาห์ เช่นเดียวกับไข้ฝีดาษลิง แม้ว่าจะเป็นไวรัส Othopoxvirusกลุ่มเดียวกัน แต่จัดเป็นคนละชนิดกัน โดยลักษณะการติดต่อและความรุนแรงของโรคพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เชื้อไวรัสของโรคไข้ทรพิษจะอยู่ในคนเป็นหลัก โดยจะมีการติดต่อจากคนสู่คนเท่านั้น โดยติดต่อผ่านการหายใจ […]
Readmore
เตือน9ภัยร้ายซ้ำเติมวิกฤติโควิด
กองปราบปราม แจ้งเตือนระวังภัยร้าย ที่นอกเหนือการระบาด COVID-19 ที่อาจเกิดขึ้นใกล้ตัวหรืออาจเกิดขึ้นกับได้ทุกเมื่อ ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากองปราบปราม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้สรุป 9 ภัยร้าย ที่เกิดขึ้นช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ต้องระวังดังนี้ 9ภัยร้ายซ้ำเติมวิกฤติไวรัสโควิด-19 1.การหลอกขายหน้ากากอนามัยหรือเจลแอลกอฮอล์ปลอม ที่อาจส่งผลเสีย เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ 2.การหลอกขอรับบริจาค โดยอ้างว่าเอาไปช่วยผู้ป่วย Covid-19 3.การหลอกลงทุน เล่นแชร์ออนไลน์ เนื่องจากมีผู้ประสบปัญหาด้านการเงินจำนวนมากในช่วงนี้ 4.การสั่งอาหาร การสั่งซื้อของผ่านบริการ delivery แต่ได้สินค้าไม่ตรงตามสั่ง หรือได้ของไม่ครบ ดังนั้นควรหมั่นตรวจสอบของที่ได้รับด้วย 5.การโจรกรรมรถในที่สาธารณะ แม้การเดินทางด้วยรถส่วนตัวปลอดภัย แต่โจรก็เตรียมโจรกรรมรถคุณตลอดเวลาเพราะก็ต้องการรถเช่นกัน ยังคงเป็นอาชญากรรมที่ควรเพิ่มความระมัดระวังในช่วงนี้ 6.การหลอกขายประกัน Covid-19 จากตัวแทนหรือโบรกเกอร์ที่ไม่มีตัวตน และประเด็นเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว 7.การฉ้อโกงจากการซื้อของออนไลน์ ควรตรวจสอบข้อมูลประวัติผู้ขายให้ละเอียดก่อนชำระเงิน 8.ออกข้างนอกระวังคนแปลกๆที่ จงใจแพร่เชื้อ เจตนาในการแพร่เชื้อโรคแก่ผู้อื่น ในบางประเทศถือว่าเป็นอาชญากรรมที่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยสาธารณะ ซึ่งเคยเกิดขึ้นจริงแล้วที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นต้น 9.ข่าวปลอม Fake News ที่อาจทำให้เกิดความตื่นตระหนกในสังคม แนะนำการับข่าวสารให้ตั้งสติ และตรวจสอบข้อมูลข่าวสารจากแหล่งที่น่าเชื่อถือเท่านั้น เช่น กรมควบคุมโรค องค์การอนามัยโรค (WHO) เป็นต้น . ซึ่ง 9 ภัยร้ายนี้ อาจเกิดขึ้นใกล้ตัวคุณได้ทุกเมื่อ เพราะทุกคนกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติมากน้อยไม่เท่ากัน แต่เดือดร้อนแทบทุกคน ทั้งนี้หากออกข้างนอกอย่าลืมล้างมือด้วยสบู่หรือเจลล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัย และระวังคนรอบตัวอยู่ห่างจากผู้คน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ทั้งนี้หากพบเหตุร้าย สามารถแจ้งที่ เพจกองปราบปราม ตลอด 24 ชั่วโมง
Readmore
ยารักษาโควิด-19 แยกตามอาการหรือกลุ่มสี
สำหรับยารักษาโควิด-19 ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสที่จำเพาะกับเชื้อไวรัสโควิด-19 ยาที่ใช้รักษาจึงเป็นการนำยาที่ใช้รักษาโรคอื่น ที่มีหลักฐานทางการแพทย์ว่า มีประโยชน์กับการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จะแบ่งออกเป็น ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว หรือผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย เมื่อเข้าสู่ระบบ Home Isolation หรือ Hospitel จะได้รับยาเพื่อรักษาอาการเบื้องต้น ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร สรรพคุณของยาฟ้าทะลายโจร : ผลข้างเคียงของยาฟ้าทะลายโจร : อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย แขนขาอ่อนแรง วิธีรับประทานยาฟ้าทะลายโจร ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาฟ้าทะลายโจร วิธีใช้ยาฟ้าทะลายโจรสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง คือกลุ่มที่เริ่มมีความเสี่ยงของโรครุนแรง จะได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) มีทั้งรูปแบบที่เป็นเม็ดและเป็นน้ำ **ไม่ได้จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ทุกคน จะจ่ายให้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เป็นยาที่ต้องกินภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น** กลุ่มผู้ป่วยที่จะได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ สรรพคุณของยาฟาวิพิราเวียร์ ผลข้างเคียงของยาฟาวิพิราเวียร์ ใช้กรณีมีข้อบ่งชี้เท่านั้น วิธีรับประทานยาฟาวิพิราเวียร์ **ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ ใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น** ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาฟาวิพิราเวียร์ ผู้ป่วยกลุ่มสีแดงผู้ป่วยจะได้รับยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ซึ่งเป็นยาที่ใช้กันมากในต่างประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา และอินเดีย เป็นยาฉีด กลุ่มผู้ป่วยที่จะได้รับยาเรมเดซิเวียร์ สรรพคุณของยาเรมเดซิเวียร์ ผลข้างเคียงของยาเรมเดซิเวียร์ วิธีใช้ยาเรมเดซิเวียร์ (ยาฉีด) ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาเรเดมซิเวียร์ ยาชนิดอื่นที่แพทย์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการหนัก
Readmore
ควรระวังความปลอดภัยจาก ‘อาชญากรไซเบอร์’ ช่วงวิกฤติโควิด – 19
จากการระบาดโควิด-19 ได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้แฮกเกอร์และการหลอกลวงจากผู้ไม่หวังดีในโลกออนไลน์ ฉวยโอกาสนี้สร้างความเสียหายสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานออนไลน์ของไทย ทั้งนี้เห็นได้จาก หลายองค์กรได้รายงานถึงภัยอินเทอร์เน็ตในขณะที่ทุกคนกำลังตื่นกลัวกับการระบาดของโรคโควิด-19 อาทิ อาชญากรไซเบอร์แอบอ้างเป็นองค์การอนามัยโลก หรือ หน่วยงานจากภาครัฐเพื่อทำการฉ้อโกง จัดตั้งเว็บไซต์ปลอม และ ฟิชชิ่ง (Phishing) หรือเผยแพร่ข้อมูลปลอม (Fake news) ในรูปแบบภัยอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงนี้ระบาดหนักต้องระวังมิจฉาชีพปลอมเว็บ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัวคนลงทะเบียนรับมาตรการเยียวยา 5,000 บาท จากภาครัฐในกรณีได้รับผลกระทบโควิด-19 ไปสร้างความเสียหาย และคนใช้งานทุกคนต้องช่วยกันระวังภัยคุกคามจากอาชญากรไซเบอร์ที่กำลังเพิ่มเป็นอย่างมาก ซึ่งทุกประเทศจำเป็นต้องร่วมมือกันในการแก้ปัญหาภัยทางอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แนะนำ 7 ข้อต้องรู้ที่จะทำให้ปลอดภัยจากอาชญากรรมไซเบอร์ ได้แก่
Readmore
ภาวะลองโควิด (long covid) เป็นแล้วหายไหม วิธีสังเกตและการรักษา
ผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 อาจรู้สึกกังวลว่าตัวเองกำลังเป็นลองโควิดหรือไม่ เมื่อพบว่าสุขภาพร่างกายไม่ปกติเหมือนก่อนเป็นโรค เช่น รู้สึกเหนื่อยกว่าปกติ หายใจเหนื่อย ไอเรื้อรัง อ. พญ.รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะลองโควิด จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นลองโควิด ลองโควิด ต้องไม่ใช่ ภายใน 1 เดือน ต้องหายจากโควิด และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน ต้องแยกว่าไม่ได้เป็นโรคอื่นที่เป็นมาก่อนเป็นโควิด เช่น โรคหัวใจ โรคปอด นอนไม่หลับ บางคนไม่เคยหาหมอเลย แต่เมื่อเป็นโควิดแล้วได้ตรวจ จึงได้พบว่าเป็นโรคอื่นมาก่อนแล้ว อาการที่อาจเป็นลองโควิด ผู้ป่วยอาจมีอาการเหนื่อย ไอ ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจส่วนบน ต้องตรวจการทำงานของหัวใจ ปอด ในเบื้องต้น ว่ามีการทำงานผิดปกติหรือไม่ เช่น การเจาะเลือด การทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ คนไข้กลุ่มไหนที่ควรมาพบแพทย์ คนไข้ที่มีอาการเยอะ เช่น นอน ICU ใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น คนที่มีอายุมาก มีโรคอ้วน โรคประจำตัว […]
Readmore