ภาวะลองโควิด หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19

January 30, 2023

ในผู้ป่วยที่รักษาโควิด หายแล้ว 1-3 เดือน แนะนำการตรวจสุขภาพ เพื่อหาผลข้างเคียงระยะยาวจาการติดเชื้อ ดูว่ามีอวัยวะส่วนใดถูกทำลายจากการติดเชื้อ ในโปรแกรมการตรวจ ประกอบด้วย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดเพื่อดูพังผืดในปอดหลังการติดเชื้อ ตรวจเลือดดูการทำงานของตับและไต ตรวจดูการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนเป็นภาพหัวใจ(Echocardiogram) ตรวจเลือดดูค่าสารบ่งชี้การอุดตันของหลอดเลือดดำ (D-dimer) ภาวะลองโควิด หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ภาวะลองโควิด หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 การติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลต่อร่างกายในแต่ละคน มากน้อยแตกต่างกันไป บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงขณะรับการรักษา บางรายหลังรักษาหายแล้วอาจยังมีอาการ หรือความผิดปกติต่างๆ หลงเหลืออยู่ และอาการต่างๆ อาจเป็นอยู่นานมากถึง 3 เดือนหลังการรักษา อาการต่างๆ เหล่านี้ เรียกว่า Long Covid (ลองโควิด) หรือ Post Covid Syndrome (โพสโควิดซินโดรม) ซึ่งพบได้บ่อย 30% – 80% ในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิดแล้ว ใครบ้างที่มีความเสี่ยงจะมี ภาวะลองโควิด หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 หรือ มีอาการ Long Covid (ลองโควิด) ? ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยติดเชื้อโควิด อาการที่พบบ่อยหลังการติดเชื้อโควิด ภาวะลองโควิด […]

Readmore
202200822_canva_COVID-19_โควิด-19-1024x576

อยู่อย่างไม่ประมาทอยู่ร่วมกับโควิด-19 ต่อไปอย่างไร

January 30, 2023

แม้สถานการณ์มาตรการโรคโควิด-19 จะมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้นและเริ่มมีการกลับมาใช้ชีวิตกันอย่างปกติ ก็ควรดำเนินชีวิตอย่างมีสติ ระมัดระวังอยู่เสมอ ใช้ชีวิตอย่างไร เมื่อโควิด-19 ยังคงอยู่? ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2565ที่มา : รศ. นพ.ธีระ วรธนารัตน์ฝ่ายเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม

Readmore
14272288860600

Covid-19 : 4 สายพันธุ์อันตรายในไทยที่ต้องระวัง!

January 26, 2023

โอไมครอน (Omicron) โควิดสายพันธุ์น่ากังวล แพร่เชื้อเร็ว COVID สายพันธุ์ Omicron (B.1.1.529) สายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล สามารถแพร่กระจายได้ง่ายและไวขึ้นกว่าสายพันธุ์เดลต้า! แพร่ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น 2-5 เท่า หลบภูมิคุ้มกันเก่ง แม้ว่าจะเคยติดโควิดมาก่อนแล้ว ก็สามารถติดสายพันธุ์นี้ซ้ำได้ อาการใหม่! โควิดสายพันธุ์โอมิครอน อาการเป็นอย่างไร? แนวทางป้องกันโควิดกลายพันธุ์ รับมือสายพันธุ์โอมิครอน รีบฉีดวัคซีนเข็ม 3 ด่วน! ฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 ฉีดเมื่อไรดี?ทำความรู้จัก “ชื่อใหม่” ไวรัสโควิดกลายพันธุ์ องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้เปลี่ยนชื่อเรียกไวรัสโควิดกลายพันธุ์ จากเดิมที่เรียกตามชื่อประเทศเป็นอักษรกรีก เพื่อลดการกล่าวโทษประเทศที่พบครั้งแรก สายพันธุ์น่าวิตก 4 สายพันธุ์ (Varients of Concern) สายพันธุ์อื่นๆ ที่ต้องเฝ้าระวัง (Varients of Interest) 6 สายพันธุ์ ชื่อเดิม ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ชื่อใหม่สายพันธุ์แคลิฟอร์เนีย B.1.427 / B.1.429 เอปซิลอนสายพันธุ์บราซิล P.2 […]

Readmore
Dtbezn3nNUxytg04aoZZ3howXBvhDEshWv0dIwwcQMfEv8

รอบรู้เรื่อง โควิด ( COVID-19)

January 24, 2023

โควิด ( COVID-19 ) คืออะไร ไวรัสโคโรนา (Coronavirus) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปี 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด แต่เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกตอนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่าเป็น “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่” และในภายหลังถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า “ โควิด – 19 ” ( COVID-19 ) อาการ COVID-19 เบื้องต้น ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก ระบุว่าอาการโควิด-19 ที่สังเกตได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองมี อาการดังนี้  บางรายมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ โดยทางด้านแพทย์อาจจะตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยการเอกซ์เรย์ปอด แล้วพบว่าปอดบวมอักเสบร่วมด้วย หากมีอาการหนักมากๆ (พบว่าติดเชื้อในระยะหลังๆ แล้ว) อาจอันตรายถึงอวัยวะภายในต่างๆ ล้มเหลวได้ วิธีป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 -วิธีป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 -ล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์- -รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้ที่ไอหรือจาม -สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเว้นระยะห่างไม่ได้ -ไม่สัมผัสตา จมูก หรือปาก […]

Readmore
rlq4PTp8nGawq8f1nJMw

จิตแพทย์แนะ จัดการความเครียดรับมือ COVID-19 ไม่ให้ป่วยใจ

January 22, 2023

ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 ทั้งแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย และทุกคนล้วนมีความเครียดและความกังวลใจ ลองมาดูสักนิดว่า เราจะช่วยกันรับมือ ดูแลจิตใจ และผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกันได้อย่างไร กับการจัดการความเครียดเพื่อรับมือ COVID-19 อย่างถูกวิธีที่จิตแพทย์อยากแนะนำ ความรู้สึกกังวลที่เกิดขึ้นเป็นกลไกธรรมชาติของมนุษย์ในการเผชิญวิกฤติความเครียดเป็นกลไกโดยธรรมชาติที่ช่วยให้มนุษย์เตรียมตัว วางแผน และรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้ามีใครสักคนที่ไม่รู้สึกเครียด ไม่กลัวติดเชื้อ ไม่สนใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ไม่ฟังการประกาศจากรัฐบาล กลุ่มนี้ถือว่าผิดปกติและอาจนำพาไปสู่ความเสี่ยงมากมายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ดังนั้นการที่รู้สึกเครียด กังวล กลัว ตื่นตระหนกนั้นถูกต้องแล้ว และควรจะเป็นแบบนั้นเพื่อที่ทุกคนจะได้ขวนขวายหาความรู้ หาข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ มีการวางแผน และเตรียมการอย่างถูกวิธี สถานการณ์ COVID-19 คุณมีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่ CDC สหรัฐฯ แนะนำให้สังเกตอาการเหล่านี้-อารมณ์เปลี่ยนแปลง แปรปรวน-กลัว เครียด กังวล-เบื่อ เฉยชา-หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย-นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท-ฝันร้ายต่อเนื่องเรื้อรัง-พฤติกรรมการกินผิดปกติ บางรายกินไม่ลง บางรายกินมากผิดปกติ-รู้สึกไม่กระปรี้กระเปร่า ไม่สดชื่น เฉื่อยชาลง-ลดกิจกรรมลงอย่างชัดเจน เบื่อ ไม่อยากทำอะไร-สมาธิจดจ่อไม่ดี หลง ๆ ลืม ๆ ทำงานบกพร่อง-สูญเสียการตัดสินใจ-บางคนดื่มแอลกอฮอล์หนักขึ้น หรืออาจมีการสูบบุหรี่หรือใช้สารเสพติดมากขึ้น-ผู้ป่วยที่มีโรคทางกาย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง […]

Readmore
maxresdefault

ตรวจ COVID-19 ด้วย ATK ผลเป็นบวก ต้องทำอย่างไร?

January 22, 2023

โควิดสายพันธุ์โอมิครอน กำลังแพร่ระบาดอย่างแพร่หลายทั้งในกรุงเทพมหานคร และทั่วประเทศไทย หมอคิดว่าการแพร่ระบาดในครั้งนี้ wave ที่ 5 ของประเทศไทย น่าจะกินเวลาอย่างน้อย 2 – 3 เดือน และน่าจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่าคราวที่แล้ว อย่างไรก็ตามหมอคิดว่าอาการน่าจะรุนแรงน้อยลงกว่า เมื่อช่วงประมาณ 4 – 6 เดือนที่แล้ว แต่ว่าอาการที่น้อยลงไม่ได้แปลว่าอาการน้อย อาการที่น้อยลง เราก็ยังคงต้องสังเกต และจะต้องดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะหากเกิดติดเชื้อจะเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรงได้ เมื่อไรที่จะต้องตรวจหาเชื้อก่อโรคโควิด-19 หมอขอแบ่งเป็น 2 กรณีด้วยกัน คือ สำหรับผู้ที่มีอาการ และผู้ที่ไม่มีอาการ กรณี 1) สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการ และได้มีประวัติสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ หรือผู้ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 มาแล้ว แนะนำให้ตรวจหาเชื้อ โดยควรตรวจหลังจากสัมผัสผู้ติดเชื้อมาแล้ว 3 – 5 วัน ในระหว่างนี้ ให้ใส่หน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่าง ตรวจสอบตัวเองว่าได้รับวัคซีนครบแล้วหรือยัง ถ้าเกิดว่าฉีดวัคซีนครบโดส หรือฉีดครบ 2 เข็มแล้ว บวกกับได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น […]

Readmore
Coronavirus Covid-19 Protection and Vaccine. Doctor drawing up solution from vaccine bottle and filling syringe injection for patient vaccination in medical clinic, Coronavirus in background

แนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 “เข็มกระตุ้น” เข็ม 3 และ เข็ม 4

January 22, 2023

สำหรับผู้ที่ฉีด “วัคซีน Moderna” ครบ 2 เข็ม จะต้องฉีดเข็มที่ 3 เมื่อไหร่ดี หรือผู้ที่ฉีดวัคซีนชนิดอื่น มาแล้ว 3 เข็ม เข็มที่ 4 ควรฉีดเมื่อไหร่ดี วันนี้เรามีคำตอบ อ้างอิงจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม 2565 แนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 รับเข็มที่ 1และ2 มาแล้ว อยากรับวัคซีน “กระตุ้น เข็ม 3”รับวัคซีน Sinovac หรือ Sinopharm และ Sinovac หรือ Sinopharm มาแล้ว >>> เว้นระยะ 4 สัปดาห์ขึ้นไป สามารถรับวัคซีน Moderna ได้ รับวัคซีน Sinovac หรือ Sinopharm และ AstraZeneca มาแล้ว >>> เว้นระยะ […]

Readmore
cofact1200

โคแฟค เผย 5 ข่าวลวงโควิดวนซ้ำระบาดรอบใหม่

January 18, 2023

ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ที่นอกจากนำมาสู่โรคระบาดโควิด19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกแล้ว ยังนำมาสู่ภาวะการระบาดของข้อมูลข่าวสาร (Infodemic) ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือที่เรียกกันติดปากว่าข่าวลวง (fake news) เพิ่มอย่างมากมายทั่วโลกด้วย ทางองค์การยูเนสโกเคยกล่าวไว้ว่า นอกจากแพทย์ พยาบาล และ บุคลากรทางการแพทย์ ยังมีข้อเท็จจริง (Facts) ที่จะช่วยรักษาชีวิตเราไว้ได้ ดังนั้นการตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจนก่อนที่จะเชื่อหรือส่งต่อจึงจำเป็นในยุคโควิด และการแสวงหาความจริงร่วมจากทุกฝ่ายให้แน่ใจก่อนที่จะยอมรับในข้อมูลข่าวสารนั้นจะช่วยรักษาพลเมืองจากโรคระบาดข้อมูลข่าวสารได้ โดยเฉพาะข้อมูลที่วนซ้ำกลับไปกลับมาในแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นแบบวงปิด อีกทั้งวัฒนธรรมความเกรงใจที่ทำให้ไม่เกิดการแก้ไขท้วงติงข้อมูลที่ส่งต่อกันมาในกลุ่มเพื่อนร่วมงานหรือเครือญาติ จึงทำให้ข้อมูลลวงหรือไม่จริงเหล่านั้นวนไปมาไม่จบสิ้น เช่นในการระบาดรอบใหม่นี้ของประเทศไทย ได้มีปรากฎการณ์ข่าวลือข่าวลวงวนซ้ำไปมาอีกรอบทั้งที่มีการตรวจสอบแล้วว่าไม่เป็นความจริง การรวมตัวกันของภาคประชาสังคมเพื่อเปิดพื้นที่การใช้นวัตกรรมตรวจสอบข่าวลือข่าวลวงผ่านสื่อออนไลน์ ได้รวบรวม 5 ข่าวเกี่ยวกับโรคระบาดโควิดที่วนซ้ำกลับมาอีกรอบเพื่อการรู้เท่าทันของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ดังนี้ เรื่องดังกล่าวยังไม่เคยมีผลวิจัยใดๆ ทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน ที่สำคัญคือเชื้อไวรัสตระกูลโคโรนาทนความร้อนได้ถึง 90 องศาเซลเซียส แสงแดดที่มนุษย์ได้รับนั้นไม่ร้อนถึงระดับดังกล่าวแน่นอน ทั้งนี้การป้องกันตัวเองด้วยวิธีสวมหน้ากากอนามัย กินร้อน ช้อนตัวเอง ล้างมือบ่อย ๆ คงดีที่สุดแล้วแม้ว่าต่อไปจะมีวัคซีนก็ตาม

Readmore
COVER-WEB-17

“สายพันธุ์โควิด” ชื่อนั้นสำคัญไฉน?

January 16, 2023

สำคัญมากครับเพราะถ้าชื่อเมืองได้ถูกขนานนามเป็นชื่อสายพันธุ์โควิด ไม่ว่าจะคิดเดินทางไปที่ไหน ก็เป็นเรื่องน่าหวาดหวั่นใจของเจ้าบ้านที่หมายจะไปเยือน นักวิชาการเขาอุตส่าห์หาชื่อจำยากๆ บางทีก็มาจากการวิเคราะห์วงศ์วานว่านเครือ บางทีก็มาจากการจัดจำแนกต้นตอ ความใกล้ชิดและความสัมพันธ์กันทางวิวัฒนาการ ที่เอามาใช้บ่อยเรียกว่า ระบบแพนโกลิน (PANGO Lineage) ซึ่งจะใช้ตัวอักษร A B C ตามด้วย . (จุด) และตัวเลขตามความห่างชั้นหรือใกล้เคียงกัน เช่น B.1.1.7, B.1.351, B.1.617.2 และ C.36.3 ซึ่งเอาตรงๆ เป็นระบบที่อาจจะจำยากไปไม่นิดเลยล่ะ เเต่เจอบ่อยในสื่อ คนก็เลยเริ่มชินชา เรียกไปเรียกมาก็พอติดปากกันพอสมควร แม้ชื่อแบบระบบแพนโกลินนี้จะสามารถบ่งชี้ความสัมพันธ์กันของเชื้อแต่ละสายพันธุ์ได้ดีระดับหนึ่ง แต่หลายคนกลับมองว่ามันจำยาก และมันแทบจะไม่ได้สื่ออะไรเลยใน สายตาของคนทั่วไป เพราะจะว่าไปคนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้จะสนใจตัวเลขโค้ดลับของแต่ละสายพันธุ์นั้นเท่าไรหรอก มิหนำซ้ำกลับต้องจำตัวเลขเยอะเเยะเต็มไปหมด อ่านไปอ่านมางง สับสนชีวิตได้อีก ง่ายที่สุด ไม่คิดมาก ตั้งมันตามที่ที่เจอดีกว่า จะได้รู้ว่าต้นตอมาจากไหน เจอที่ไหน ให้ขนานนามตามชื่อเมืองหรือประเทศนั้นไปเลย จัดไปให้เป็นเกียรติเป็นศรีแก่สถานที่ที่พบเป็นครั้งแรกแบบเน้นๆ เช่น สายพันธุ์เคนต์หรือสายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ สายพันธุ์บราซิล และอื่นๆ อีกมากมาย จนต่อมา ภายหลังจากการประชุมที่เผ็ดร้อนอยู่หลายครั้ง องค์การอนามัยโลกก็ได้เสนอชื่ออย่างเป็นทางการให้ไวรัสนี้ว่า SARS-CoV-2 […]

Readmore
ChYmr3SWZVahJKhbzAO7

รู้จัก Bivalent Vaccine ความหวังใหม่ป้องกันโควิดกลายพันธุ์ที่ไทยยังไม่ได้ใช้

January 15, 2023

นับตั้งแต่ไวรัสโควิด-19 เริ่มระบาด ทั่วโลกเผชิญกับไวรัสหลายสายพันธุ์ตั้งแต่สายพันธุ์เริ่มต้นจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน มาจนถึงสายพันธุ์อัลฟา เดลตา และสายพันธุ์ล่าสุดอย่างโอมิครอนที่มีสายพันธุ์ย่อย BA.1, BA.4 และ BA.5 ในช่วงปี 2020-2022 ทั่วโลกอาศัยวัคซีน mRNA เป็นหลักในการป้องกันไวรัสโควิด-19 แต่เมื่อไวรัสกลายพันธุ์ไปหลายสายพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จึงได้คิดค้นวัคซีน 2 สายพันธ์หรือ Bivalent Vaccine ขึ้นมาเพื่อให้ร่างกายของผู้ที่ได้รับวัคซีนสร้างแอนติบอดีขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อไวรัสได้หลายสายพันธุ์ Bivalent Vaccine คืออะไร วัคซีน 2 สายพันธุ์ประกอบด้วยสารพันธุกรรม mRNA ของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม (Wuhan-Hu-1) และ mRNA ของโควิดสายพันธุ์โอมิครอนอย่างละครึ่ง ซึ่งในส่วน mRNA ของสายพันธุ์โอมิครอน ปัจจุบันผู้ผลิตวัคซีนใช้สารพันธุกรรมจากสารพันธุ์ย่อยที่แตกต่างกันอย่างอาจจะเป็น BA.1 หรือ BA.4, BA.5 ขึ้นอยู่กับแผนการของบริษัทและสายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่ระบาดในประเทศที่รับวัคซีน ขณะที่วัคซีน mRNA แบบเดิมจะมีเพียงส่วนประกอบจากโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันสายพันธุ์ โอมิครอนอยู่ในระดับต่ำ วัคซีนรุ่นที่ 2 อย่างวัคซีน bivalent นี้จะสามารถป้องกันโควิดทุกสายพันธุ์ได้ดีขึ้น ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม […]

Readmore