Month: November 2022

สธ.ปรับแนวทางการรักษาโควิด19 ใหม่
ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ย.2565 ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขโรคโควิด-19 ให้… เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2565 ที่กรมการแพทย์ นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ย.2565 ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขโรคโควิด-19 ให้ความเห็นชอบแนวทางการรักษาโรคโควิด-19 ฉบับที่ 26 และกรมการแพทย์ ได้มีการประชุมแพทย์ในกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อทำความเข้าใจ โดยที่มีการปรับ คือ เพิ่มการใช้ LAAB หรือภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ในการรักษาผู้ป่วยโรคกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการ จะรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยยาที่ใช้รักษา ได้แก่ ยาฟาวิพิราเวียร์สำหรับเด็ก ส่วนผู้ใหญ่ให้ยาโมลนูพิราเวียร์ หากเป็นกลุ่มเสี่ยง อาจให้ LAAB หรือ ให้ LAAB คู่กับยาต้านไวรัสอื่นๆ ซึ่งขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ สาระสำคัญที่มีการปรับปรุง แบ่งเป็น 4 กรณี 1.ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือสบายดี ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก ให้ปฏิบัติตนป้องกันอย่างเคร่งครัดอย่างน้อย 5 วัน 2.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง […]
Readmore
สธ. เร่งฉีดวัคซีนกลุ่ม 608 หลังโควิด-19 ระบาด “ระลอกเล็ก”
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วโลก ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุข ออกมาระบุว่าเป็นการระบาดระลอกเล็ก นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเมื่อ 25 พ.ย. ว่า ขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น ส่วนผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น 10-20% ผู้เสียชีวิตไม่มากนัก เฉลี่ยไม่เกิน 10 ราย/วัน แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงต้องติดตามใกล้ชิด จากการประชุมร่วมกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วประเทศ รายงานว่าแต่ละแห่งยังรองรับสถานการณ์ได้แม้ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น เนื่องจากส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง รักษาแบบผู้ป่วยนอก แพทย์ให้ยาตามที่วินิจฉัย ส่วนการรักษาในโรงพยาบาล ยังไม่ได้เพิ่มขึ้นแบบมีนัยสำคัญจนต้องเพิ่มมาตรการ “ส่วนผู้สูงอายุที่มีข่าวเสียชีวิตที่บ้านช่วงนี้ คงต้องไปดูการเสียชีวิตแต่ละราย หลายรายอาการไม่เหมือนโควิด อยู่ ๆ เสียชีวิต ไปตรวจเอทีเคพบ (ผลเป็นพวก) แต่การตรวจเอทีเคเป็นการคัดกรองเบื้องต้น การวินิจฉัยยืนยันต้องตรวจรายละเอียดมากกว่านั้น กรมควบคุมโรคจะลงไปดูรายละเอียด” นพ.โอภาสกล่าว ปลัด สธ. ระบุด้วยว่า การระบาดรอบนี้ทุกอย่างยังเป็นไปตามที่คาดการณ์ เป็นลักษณะ Small Wave (การระบาดระลอกเล็ก) การมีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเพิ่มขึ้นก็ยังอยู่ในการคาดการณ์ จะเพิ่มตามวงรอบคือ ช่วง พ.ย. […]
Readmore
“หมอธีระ” เผยอาการหลังติด โควิด19
“หมอธีระ” เผยผลวิจัยอาการหลังติด “โควิด-19” พบสมองส่วนหน้า-ก้านสมอง ผิดปกติ ส่งผลต่อทุกระบบในร่างกาย และเกิดความเสี่ยงของภาวะผิดปกติระยะยาว รวม… เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ “หมอธีระ” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” ถึงประเด็น “โควิด-19” ระบุว่า เมื่อวาน โควิด-19ทั่วโลก ติดเพิ่ม 165,881 คน ตายเพิ่ม 669 คน รวมแล้วติดไป 643,292,587 คน เสียชีวิตรวม 6,626,956 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุด คือ เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.22 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 74.43 อัปเดตโควิด-19 กับการเปลี่ยนแปลงของสมอง Mishra SS และคณะ จาก the […]
Readmore
สธ.แจง ยอดผู้ป่วย “โควิด”
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แจงผู้ป่วย โควิด เพิ่มขึ้นเป็นไปตามคาดการณ์ ประชาชนสนใจเข้ารับวัคซีนป้องกันมากขึ้น สั่งทุกโรงพยาบาลเปิดจุดบริการฉีดวัคซีนพร้อมประชาสัมพันธ์ วันนี้ (25 พฤศจิกายน 2565) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์โรค “โควิด” 19 ว่า ขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง แพทย์จ่ายยาและรักษาแบบผู้ป่วยนอก ส่วนการใช้เตียงในโรงพยาบาลยังไม่เพิ่มขึ้นมากจนต้องมีมาตรการเพิ่มเติม สำหรับผู้เสียชีวิตยังเพิ่มไม่มากเช่นกัน เฉลี่ยไม่เกิน10 รายต่อวัน ซึ่งทั้งหมดเป็นไปตามที่คาดการณ์ว่าจะพบการระบาดในลักษณะ Small Wave และจะค่อยๆ ลดลงช่วงหลังปีใหม่ งนี้ การพบผู้ติดเชื้อ “โควิด” เพิ่มขึ้นทำให้ช่วงนี้ประชาชนเข้ารับวัคซีนมากขึ้นด้วย จึงได้สั่งการให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศ กำหนดเป้าหมายการฉีดวัคซีนในช่วงนี้และให้ทุกโรงพยาบาลในสังกัดจัดจุดบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์วัน เวลาให้บริการให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงและมารับบริการได้สะดวก “แม้จะมีการกำหนดวันเวลาให้บริการ แต่หากประชาชนวอล์กอินมาขอรับบริการไม่ตรงวันก็ขอให้ฉีดวัคซีนให้กับประชาชน ไม่ต้องกังวลเรื่องเปิดขวดวัคซีนฉีดไม่หมดแล้วต้องทิ้ง เพราะแม้ขวดหนึ่งจะฉีดเพียงคนเดียวก็ถือว่ามีประโยชน์กว่าที่จะรอหลายคนแล้วทำให้ไม่ได้ฉีด เพราะคนที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้น” นพ.โอภาสกล่าว นพ.โอภาสกล่าวต่อว่า นอกจากการกระจายวัคซีน “โควิด” 19 ถึงระดับ รพ.สต.เพื่อให้อำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้รับบริการใกล้บ้าน ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับบริการที่โรงพยาบาลชุมชน และลดการสูญเสียรายได้ของญาติจากการหยุดงานพามาฉีดวัคซีน แต่เพื่อเพิ่มการเข้าถึงวัคซีนให้มากขึ้นและสะดวกยิ่งขึ้น ได้แจ้งให้มีการจัดกิจกรรมเชิงรุก เช่น จัดรถโมบายยูนิตฉีดวัคซีนพร้อมนัดหมายให้มารับบริการในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่ม 608 คือ […]
Readmore
สถานการณ์โรคโควิด-19 ในไทย
ประเทศไทยช่วงนี้มีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นบางพื้นที่ ส่วนผู้ป่วยอาการหนักและผู้เสียชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่ง… รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา สาเหตุที่พบผู้ติดเชื้อมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากที่ช่วงปลายปีมีกิจกรรมรวมตัวหนาแน่น มีการเปิดเทอม มีเทศกาลต่างๆ ช่วงฤดูหนาวที่ทำให้เชื้ออยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น และภูมิคุ้มกันที่ได้จากการฉีดวัคซีนลดลง ข้อมูลการตรวจเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ และติดตามสายพันธุ์น่ากังวลที่อาจพบจากผู้เดินทางเข้าประเทศ ระหว่างวันที่ 12-18 พ.ย. พบสัดส่วนของ BA.2.75 เพิ่มขึ้นเป็น 42.9% จากสัปดาห์ก่อนที่มีสัดส่วน 23.6% เพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ติดเชื้อในประเทศจาก 23.2% เป็น 43.9% โดยเฉพาะพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2, 6, 11 และ 12 สัดส่วนมากกว่าครึ่งเป็นสายพันธุ์ BA.2.75 นอกจากนี้ยังพบสายพันธุ์ BQ.1 ที่ระบาดในอเมริกาและยุโรป จำนวน 9 ราย ส่วนสายพันธุ์ XBB ที่ระบาดมากในสิงคโปร์ พบจำนวน 13 ราย แต่ยังไม่พบสัญญาณความรุนแรงของเชื้อที่กลายพันธุ์แต่อาจจะทำให้มีการแพร่และติดเชื้อง่ายขึ้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุเมื่อ วันที่ 21 พ.ย. ไว้ว่า มีความเสี่ยงที่เชื้อโรคอันตรายถึงชีวิต 9 ชนิด จะเกิดการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ได้อีกครั้ง ประกอบด้วย เชื้อโคโรนาไวรัส หรือโควิด-19, เชื้อไวรัสอีโบลา, […]
Readmore
โควิด-19 รอบสัปดาห์
กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ ระบุว่า ข้อมูลของสัปดาห์ที่ 46 ปี 2565 ระหว่างวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565- 19… กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ ระบุว่า ข้อมูลของสัปดาห์ที่ 46 ปี 2565 ระหว่างวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565- 19 พฤศจิกายน 2565 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่สะสม 3,957 คน เฉลี่ยวันละ 565 คน รวมสะสมตั้งแต่ต้นปี 2,478,895 คน หายป่วยสะสม 2,478,895 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ขณะที่มีผู้เสียชีวิตรายใหม่ 69 คน เฉลี่ยวันละ 9 คน รวมสะสม 11,408 คน (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 432 คน และต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 252 คน ส่วนจำนวนผู้ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ณ วันที่ ฉีดวัคซีนสะสม 143,059,913โดส เฉลี่ยวันละ 3,785 โดส แบ่งเป็น วัคซีนเข็มที่ 1 […]
Readmore
อัปเดตความคืบหน้า 3 วัคซีนป้องกันโรค “โควิด-19” สัญชาติไทย
ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ อัปเดตความคืบหน้า 3 วัคซีนป้องกันโรค “โควิด-19” สัญชาติไทย คาดจะใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น เพราะคนไทยได้รับวัคซีนไปจำนวนมากแล้ว วันที่ 19 พ.ย. 2565 นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เผยถึงความคืบหน้า การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สัญชาติไทย โดยระบุว่า วัคซีนไทยที่มีความคืบหน้าที่สุดในขณะนี้คือ การพัฒนาวัคซีนขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ซึ่งกำลังอยู่ในเฟส 2 และจะเข้าสู่เฟส 3 เดือน ธ.ค.65 ถึง ม.ค.66 โดยต้องขึ้นกับผลการทดลองเฟส 2 ว่า วัคซีนสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีหรือไม่อย่างไร คาดว่าจะทราบผลปลายเดือน พ.ย. หรือต้น ธ.ค.65 โดยเฟส 3 จะใช้ทดสอบเพื่อเป็นวัคซีนกระตุ้น สำหรับผู้ที่ใช้วัคซีนชนิดอื่นๆ ก่อนหน้านี้ ถ้ากระตุ้นด้วยวัคซีนของ อภ. เทียบกับกระตุ้นด้วยวัคซีนของแอสตราเซเนกา และ ไฟเซอร์ จะได้ผลที่แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร ถ้าผลไม่ต่างกัน ก็แสดงว่าวัคซีนของ อภ. เทียบเท่ากับวัคซีนต่างประเทศ ก็ดำเนินการขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นต่อไป ส่วนวัคซีนชนิด […]
Readmore
เผยปัญหาความจำ หลังจากติด โควิด19
“หมอธีระ” เผยปัญหาด้านความคิดความจำ หลังจากติดเชื้อ “โควิด-19″การศึกษาทางห้องปฏิบัติการในหนูที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 … ซึ่งจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์… เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ “หมอธีระ” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” ถึงประเด็น “โควิด-19” ระบุว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 250,039 คน ตายเพิ่ม 438 คน รวมแล้วติดไป 642,804,841 คน เสียชีวิตรวม 6,625,357 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุด คือ เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรป และเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 94.22 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 84.93 Venkataramani V และคณะจากประเทศเยอรมัน ได้สรุปความรู้วิชาการเกี่ยวกับปัญหาด้านความคิดความจำ (cognitive impairment) หลังจากติดเชื้อโรค “โควิด-19” […]
Readmore
โควิดวันนี้ แนวทางตรวจ ATK ล่าสุด
(17 พ.ย.2565) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หรือ “หมอยง” หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์… ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ มีภูมิต้านทานไม่ว่าจะจากวัคซีน หรือการติดเชื้อความรุนแรงของโรคลดลง ปัญหาอยู่ในกลุ่มเปราะบาง โรคเรื้อรังแนวทางการปฏิบัติการตรวจ ATK จึงมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ในสถานการณ์ปัจจุบัน ในคนปกติทั่วไป ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ ATK เช่น นักเรียนจะไปโรงเรียน การเข้าร่วมประชุม การตรวจ ATK ควรทำในผู้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ หรือไปสัมผัสกับผู้ป่วย คือสัมผัสโรคมานั่นเอง การปฏิบัติของโรงเรียนที่ให้นักเรียนตรวจทุกสัปดาห์ จึงไม่มีความจำเป็น จะตรวจเฝ้าระวังเฉพาะผู้ที่มีอาการของโรคหรือผู้สัมผัสโรค หรือคิดว่าตัวเองเสี่ยงในการเกิดโรค และทุกคนจะต้องรับผิดชอบ มีระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด มีความซื่อสัตย์ ผู้สัมผัสโรคจะตรวจเมื่อมีอาการ หรือตรวจในวันที่ 3 และ 5-7 ของสัมผัสโรค ถ้าให้ผลลบ ก็น่าจะปลอดภัยจากการติดโรค ในผู้ที่ตรวจ ATK ได้ 2 ขีด ให้เข้ารับการรักษา ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจอีก ให้กักตัวเอง 5 วัน และเข้มงวดป้องกันเมื่อออกสู่สังคมอีก 5 วัน ไม่ใช่ว่าตรวจ ATK แล้วพบว่าขีดเดียวแล้วจะทำอะไรก็ได้ […]
Readmore
“โควิด19” ระบาด ช่วง ฤดูหนาว
“โควิด19” ถึงกลับมาระบาด ระลอกใหม่ ในช่วง ฤดูหนาว หลังพบยอด ผู้ติดเชื้อ เพิ่มขึ้น คาดสูงขึ้นถึงต้นปีหน้า พร้อมจับตา สายพันธุ์ลูกผสมที่มีการกลายพันธุ์ออกมา… สถานการณ์การแพร่ระบาดของ “โควิด19” ที่ดูจะเริ่มเบาบางลงในช่วงเดือนกันยายน – เดือนตุลาคม ซึ่งถือว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงในช่วงปลายฤดูฝนนั้น เมื่อเข้าสู่ช่วง ฤดูหนาว ในเดือนพฤศจิกายน กลับพบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อมียอดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ของแพทย์หลายท่าน เมื่อ “โควิด19” เข้าสู่โรคประจำฤดูกาลแล้ว สิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ จำนวนผู้ติดเชื้อที่จะต้องมีมากขึ้น เพราะมาตรการที่มีการผ่อนคลายลง รวมไปถึงการป้องกันที่ดูจะลดลงตามไปด้วย ยิ่งเมื่อเข้าสู่ ฤดูหนาว ตามสภาพอากาศ ที่เชื้อไวรัส สามารถอยู่ได้นานและแพร่กระจายได้มากขึ้น จึงเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสูงขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย ยอดผู้ติดเชื้อ “โควิด19” เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจากตัวเลขผู้ติดเชื้อล่าสุด จาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 6-12 พฤศจิกายน 2565 ประเทศไทย พบผู้ป่วย “โควิด19” รวม 3,166 ราย เฉลี่ย 452 รายต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 12.8% มีผู้เสียชีวิต 42 ราย แนวโน้มผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่ท่องเที่ยว ซึ่งทาง กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งโครงการรณรงค์ฉีด วัคซีนโควิด โดยมีเป้าหมายไม่น้อยกว่า 2 ล้านโดส ภายในเดือนธันวาคม […]
Readmore