Month: May 2021

องค์การอนามัยโลกรับรองอนุมัติใช้วัคซีนของซิโนแวคเลื่อนออกไป
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ขอข้อมูลเพิ่มเติมของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซิโนแวค ไบโอเทค เพื่อประกอบการพิจารณารับรองวัคซีน ท่ามกลางความกดดันจากนานาชาติที่ต้องการวัคซีนโควิด-19 เพื่อช่วยเหลือประเทศยากจน คาดว่าการตัดสินใจรับรองอนุมัติใช้วัคซีนของซิโนแวคจะเลื่อนออกไปถึงเดือน มิ.ย. นี้ ขณะที่ไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกได้ขอรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการฉีดวัคซีน รวมทั้งยังขอข้อมูลด้านการกระบวนการผลิตของซิโนแวค เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ทั้งนี้ รายชื่อวัคซีนที่องค์การอนามัยโลกอนุมัติใช้ฉุกเฉินนั้น เป็นการเตรียมให้กับโครงการโคแวกซ์ ที่นำโดยองค์การอนามัยโลกพร้อมองค์กรนานาชาติ เพื่อส่งวัคซีนให้กับประเทศยากจน อย่างไรก็ตาม ด้านผู้ผลิตยังไม่บอกว่าจะสามารถผลิตวัคซีนให้กับโครงการโคแวกซ์ได้มากน้อยเพียงใด ขณะโครงการโคแวกซ์กำลังเตรียมการทำข้อตกลงกับผู้ผลิตซิโนแวค พร้อมข้อรายละเอียดเกี่ยวกับราคา ตารางการจัดส่ง ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอ
Readmore
“แอสตร้าเซนเนก้า”ขาดแคลนกระทรวงสาธารณสุขเร่งดำเนินการในพื้นที่ขาดแคลน
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข่าวสถานพยาบาลบางแห่งเลื่อนการนัดฉีดวัคซีนเข็มที่สองให้กับกลุ่มผู้ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเข็มแรกไปแล้ว เนื่องจากวัคซีนไม่เพียงพอนั้น ยอมรับว่า ในบางพื้นที่วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเริ่มไม่พอ บางพื้นที่มีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการจริง เนื่องจากขณะนี้มีความต้องการวัคซีนสูงมาก ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงขออภัยประชาชนและจะเร่งดำเนินการในพื้นที่ขาดแคลนอย่างดีที่สุด นพ.รุ่งเรือง กล่าวยืนยันว่า การฉีดวัคซีนเข็มแรกนั้นเพียงพอต่อการสร้างภูมิคุ้มกันในการป้องกันการติดเชื้อแล้ว ดังนั้น จึงขอเน้นย้ำกับประชาชนที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเข็มแรกไปแล้ว ให้มั่นใจในข้อมูลวิชาการตรงนี้ ที่ระบุว่าวัคซีนเข็มเดียวก็สามารถครอบคลุมการติดเชื้อ การป่วยหนัก และลดการเสียชีวิตลงได้ ส่วนการฉีดเข็มที่สองก็เพื่อการพยุงภูมิคุ้มกันให้ยาวนานขึ้นเท่านั้น และหากวัคซีนเข็มที่สองมาเมื่อไหร่จะรีบดำเนินการจัดสรรให้ทันที นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงกรณีหน่วยบริการหลายแห่งเลื่อนการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่ 2 ออกไปเนื่องจากกังวลเรื่องวัคซีนจะมาไม่ทันตามกำหนดนั้น ขอชี้แจงว่าบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ไม่ได้กำหนดส่งในวันที่ 1 มิถุนายน แต่จะเริ่มจัดส่งภายในเดือนมิถุนายน และทางบริษัทก็รับทราบกำหนดการที่รัฐบาลวางแผนฉีดวัคซีนแบบปูพรมอยู่แล้ว “ประเทศไทยยังมีวัคซีนซิโนแวคพร้อมอยู่ และมั่นใจว่าบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า จะส่งวัคซีนตามข้อกำหนด โดยสัญญาระบุว่าหากวัคซีนที่ผลิตในไทยยังจัดส่งไม่ได้ก็ต้องจัดหามาจากแหล่งผลิตอื่นส่งให้ไทย ยืนยันเรามีวัคซีนฉีดให้กับพี่น้องประชาชนตามกำหนดของรัฐบาลแน่นอน และทางบริษัทไฟเซอร์ได้มาหารือเกี่ยวกับเอกสารสำหรับยื่น ถือเป็นการนับหนึ่ง ทุกอย่างก็เป็นไปตามแผน อย่าไปกังวล” นายอนุทิน กล่าว ส่วนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าให้ได้ 12 โดสต่อ 1 ขวดนั้น นายอนุทิน กล่าวว่า ไม่ได้กำหนดเป็นนโยบายว่าต้องได้ 12 โดส แต่บอกว่าพยายามดึงยาให้ได้ […]
Readmore
ประสิทธิภาพการฉีดวัคซีนที่ให้ผลป้องกันดีต่อโควิดอินเดีย
ผลการศึกษาโดยหน่วยงานสาธารณสุขของสหราชอาณาจักรพบว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบสองเข็ม สามารถเพิ่มประสิทธิผลต้านทานเชื้อกลายพันธุ์จากอินเดีย และที่พบครั้งแรกในอังกฤษ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 23 พ.ค. ว่า สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษ ( พีเอชอี ) เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับประสิทธิผลของวัคซีนเมื่อฉีดครบสองโด๊สไปแล้ว 2 สัปดาห์ ต่อเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์บี.1.617.2 ซึ่งเป็นหนึ่งในเชื้อกลายพันธุ์จากอินเดีย ว่า วัคซีนของไฟเซอร์/ไบโอเอ็นเทค สามารถลดการเกิดอาการป่วยได้ 88% ส่วนประสิทธิผลของวัคซีนตัวเดียวกันต่อเชื้อสายพันธุ์ บี.1.1.7 ที่ในสหราชอาณาจักรเรียกว่า สายพันธุ์เคนต์ ตามชื่อเมืองที่พบครั้งแรก อยู่ที่ 93% ด้านประสิทธิผลของวัคซีนแอสตราเซเนกา/ออกซฟอร์ด เมื่อฉีดครบสองโด๊ส อยู่ที่ 60% ในการป้องกันการเกิดอาการป่วยจากเชื้อบี.1.617.2 และ 66% ต่อเชื้อสายพันธุ์สหราชอาณาจักร อนึ่ง ประสิทธิผลของวัคซีนทั้งสองยี่ห้อต่อเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อินเดีย อยู่ที่ประมาณ 33% เมื่อฉีดเข็มแรกไปแล้ว 3 สัปดาห์ และน้อยกว่า 50% ต่อเชื้อสายพันธุ์สหราชอาณาจักร สำหรับอัตราการพบผู้ป่วยใหม่จากโรคโควิด-19 ในสหราชอาณาจักร เพิ่มขึ้น 10.5% ภายในรอบ 7 วันล่าสุด […]
Readmore
วัคซีน”แอสตร้าเซนเนก้า”มีประสิทธิผลสูงถึง 97% กับการป้องกันโควิดสายพันธุ์อินเดีย
การศึกษาล่าสุดจากอินเดียพบว่า วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิผลสูงถึง 97% ในการป้องกันโควิดสายพันธุ์อินเดีย และโอกาสป่วยหนักถึงขั้นนอนโรงพยาบาลเหลือไม่ถึง 0.06% รายงานจากดิเอ็กซ์เพรสส์ สื่ออังกฤษ และสื่อของอินเดียหลายสำนัก อ้างผลการศึกษาโดยโรงพยาบาลอินทราปรัสถ์อพอลโล (Indraprastha Apollo) ณ เมืองนิวเดลี ประเทศอินเดีย พบว่า จากกลุ่มเป้าหมายกว่า 3,300 คนในประเทศอินเดีย มีเพียงผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพียง 2 คน สะท้อนให้เห็นว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิผลสูงถึง 97% ในการต้านเชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดีย โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมการศึกษาในครั้งนี้ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าและเป็นบุคคลากรด้านสาธารณสุขทั้งหมด ผลการวิจัยดังกล่าวยังแสดงให้เห็นว่าอัตราการเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสืบเนื่องมาจากโควิด-19 มีอัตราต่ำกว่า 1%
Readmore
เช็กก่อนฉีด! การเว้นระยะกับการฉีดวัคซีนโควิด
เช็กก่อนฉีด! สำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ อยากทราบว่าต้องเว้นระยะกับการฉีดวัคซีนโควิดมากน้อยแค่ไหน? กระทรวงสาธารณสุขมีคำตอบแล้ว วันที่ 19 พฤษภาคม 2564 กระทรวงสาธารณสุขตอบข้อสงสัยประชาชน กรณีการเว้นระยะห่างการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่กับวัคซีนโควิดแต่ละยี่ห้อ โดยสรุปเป็นแนวทางการให้คำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิดกับประชาชน ดังนี้ ถ้าฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้ว ให้เว้น 1 เดือน จึงฉีดซิโนแวก (เริ่มเข็ม 1 และเข็ม 2) ถ้าฉีดวัคซีนซิโนแวก (ครบ 2 เข็มแล้ว) ให้เว้น 1 เดือน จึงฉีดไข้หวัดใหญ่ ถ้าฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าแล้ว ให้เว้น 1 เดือน จึงฉีดไข้หวัดใหญ่ และเว้น 1 เดือน จึงฉีดแอสตร้าเซนเนก้า ถ้าฉีดไข้หวัดใหญ่แล้ว ให้เว้น 1 เดือน จึงฉีดแอสตร้าเซนเนก้า (เริ่มเข็ม 1 และเข็ม 2) สำหรับผู้ติดที่เชื้อโควิดแล้ว ต้องการจะฉีดวัคซีน ให้เว้นระยะ 3 เดือน
Readmore
ยอด’โควิด-19′ วันนี้ พุ่ง 9 พันกว่า!
โควิดวันนี้ 17 พฤษภาคม 2564 ยอดผู้ป่วยทุบสถิติใหม่ 9,635 ราย มาจากเรือนจำถึง 6,853 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตมี 25 ราย สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 17 พ.ค. 64 ภาพรวมของการระบาดยังต้องคอยเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 9,635 ราย แบ่งเป็น ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,782 ราย และผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 6,853 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 111,082 ราย อีกทั้งยีงมียอดผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง โดยวันนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 25 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 520 รายไปแล้ว ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 614 ราย
Readmore
สปสช.จ่ายชดเชยรายละ 4 แสน! สำหรับคนแพ้วัคซีนโควิด 19
กำหนดมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีฉีดวัคซีนและมีผลข้างเคียงรุนแรง หากผู้เชี่ยวชาญพิจารณาแล้ว เห็นว่าเกิดขึ้นจากวัคซีนจะชดเชยให้ เป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นหากผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลซึ่งจะครอบคลุมทุกคนสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันใน 3 ด้าน ดังนี้ 1. เงินจ่ายเพื่อช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีคนไทยทุกคนที่ได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโควิด 19 – ตาย/ทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 400,000 บาท – เสียอวัยวะ/พิการ ไม่เกิน 240,000 บาท – บาดเจ็บ/เจ็บป่วยต่อเนื่อง ไม่เกิน 100,000 บาท – สปสช. จะแต่งตั้งกลไกเพื่อให้สามารถจ่ายได้ภายใน 5 วัน หลังยื่นคำร้อง 2. ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับโรค COVID-19 ได้แก่ การเพิ่มเติมการจ่ายสำหรับบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 อัตราครั้งละ 20 บาท 3. เตรียมหลักเกณฑ์แนวทางการจ่าย รองรับกรณีกระทรวงสาธารณสุข ประกาศมาตรฐานบริการดูแลผู้ป่วยโควิดแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation / Home quarantine) รวมถึงผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการพักรักษาที่พักอาศัยภายใต้การดูแลของหน่วยบริการ นอกจากจะจ่ายชดเชยตาม […]
Readmore
ประกาศอพยพคนไทยในประเทศอินเดีย”โควิด-19″ยังคงมีความรุนแรง
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ประกาศอพยพคนไทยในประเทศอินเดีย เนื่องจากสถานการณ์ “โควิด-19” ยังคงมีความรุนแรง โดยจัด 2 เที่ยวบินพิเศษไว้ให้ ในวันที่ 8 พ.ค.และ 15 พ.ค. หากเร่งด่วน วันที่ 5 พ.ค.มีเที่ยวบินพิเศษที่บินไปช่วยเหลืออินเดียนำกลับ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ประกาศเรื่อง สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระบุว่า ตามที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในอินเดีย ที่ได้ระบาดระลอกใหม่อย่างรวดเร็ว และขยายตัวในวงกว้างตั้งแต่กลางเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง และส่งผลกระทบหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการดูแลป้องกันตน การเข้ารับการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ที่ติดเชื้อที่ยากลำบาก อาทิ บุกคลากรทางการแพทย์ เตียง และออกซิเจนสำหรับผู้ป่วยอาการฉุกเฉินนั้น ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ / สถานกงสุลใหญ่ฯ จะจัดทำรายชื่อผู้โดยสานโดยอาศัยหลักการลงทะเบียนข้อมูล ผู้โดยสารก่อนมีสิทธิก่อน และจะประกาศรายชื่อทางเฟซบุ๊ก ของสถานเอกอัครราชทูตฯ / สถานกงสุลใหญ่ฯ ต่อไป นอกจากนี้ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 จะมีการจัดเที่ยวบินภารกิจพิเศษจากประเทศไทย เพื่อมอบสิ่งของความช่วยเหลือให้แก่ฝ่ายอินเดีย […]
Readmore
หลีกเลี่ยง COVID-19 แบบไหนถึงจะปลอดภัย ?
COVID-19 สามารถติดต่อกันได้จากคนสู่คน ทำให้แพร่ระบาดต่อเนื่องไปทั่วโลกในเวลานี้ เพื่อป้องกันและรับมือสามารถทำได้ทุกคน อย่าลืมสังเกตตัวเอง หากมีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก เหนื่อยหอบ หายใจไม่สะดวก สามารถปรึกษาแพทย์ได้ทันที หลีกเลี่ยง COVID-19 แบบไหนถึงจะปลอดภัย ? ผู้ที่ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัย โดยสีเข้มอยู่ด้านนอก สีอ่อนอยู่ด้านใน ปิดปาก-จมูก คลุมคาง บีบดั้ง และล้างมือ ส่วนผู้ที่ไม่ป่วยสามารถสวมหน้ากากผ้าได้ เพื่อป้องกันการติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่งหรือทางลมหายใจ ไอหรือจามใส่แขนพัย หัวไหล่ หรือลงในคอหรือสาบเสื้อ หลีกเลี่ยงการใช้มือป้องปากและจมูก ทานอาหารถูกสุขอนามัย กินร้อน ช้อนใครช้อนมัน ไม่กินอาหารดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อย่างเนื้อวัว เนื้อหมู ล้างมือบ่อยๆ หรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์อย่างน้อย 70% ไม่นำมือมาสัมผัสหรือขยี้ตา แคะขี้มูก ปาก และใบหน้า หลีกเลี่ยงการไปสถานที่แออัดที่มีคนไปร่วมไปอยู่เป็นจำนวนมาก และรักษาระยะห่างจากสังคม (Social Distancing) โดยห่างกันสักนิดอย่างน้อย 1 – 2 เมตร หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอหรือจาม งดการเดินทางไปยังต่างประเทศ รวมถึงสถานที่ที่มีการระบาดของโรค งดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น แม้จะเป็นในครอบครัวเดียวกันก็ตาม เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
Readmore