“นพ.ประสิทธิ์” แจงเหตุผลทำไมต้องฉีด “วัคซีนโควิด-19” ย้ำต้องเลือกที่ปลอดภัย
“นพ.ประสิทธิ์” แจงเหตุผลทำไมต้องฉีด “วัคซีนโควิด-19” เพื่อให้คนที่ไม่มีภูมิ มีอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตที่น้อยลง ย้ำปัจจัยสำคัญในการเลือกวัคซีน คือ ความปลอดภัยศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล รายงาน สถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ของโลก ซึ่งอัตราการเพิ่มของจำนวนผู้ติดเชื้อในแต่ละวัน รวดเร็วกว่าเมื่อก่อน มีข้อมูลว่า บางช่วงมีอัตราการเพิ่มของผู้ติดเชื้อ ประมาณเกือบวันละ 1 ล้านคน ส่วนอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณวันละ 1 หมื่นคน ซึ่งยังไม่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในแต่ละประเทศ หลังมีการฉีดวัคซีน

ขณะที่ประเทศใกล้กับไทย อย่าง มาเลเซีย สถานการณ์โควิด-19 ค่อนข้างน่าเป็นห่วงกว่าเมียนมา เนื่องจากพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกวัน ซึ่งไทยต้องเฝ้าระวัง นอกจากนี้ การปิดประเทศ ทำให้แรงงานส่วนหนึ่ง อยากจะออกจากประเทศ และอาจจะหลุดเข้ามาในประเทศไทยอย่างไม่ถูกต้อง โดยมาเลเซีย มีแพลนที่จะฉีดวัคซีนแล้ว ขณะที่ เมียนมา ในช่วงเดือนที่ผ่านมา กราฟผู้ป่วยกำลังลง พบผู้ป่วยต่อวันเหลือ 500-600 คน และจะมีการเริ่มฉีดวัคซีนในเดือน ก.พ.-มี.ค. นี้
ส่วนประเทศไทย สถานการณ์โควิด-19 สงบมาหลายเดือน กระทั่งเกิดคลัสเตอร์การติดเชื้อในสมุทรสาคร ระยอง และลามไปอีกหลายจังหวัด ขณะนี้เรามีผู้ป่วยต่อวัน อยู่ที่ประมาณ 200-300 คน แต่ไม่อยากให้ตระหนก เนื่องจากที่พบผู้ป่วยเยอะ เพราะเป็นการตรวจเชิงรุก ในแรงงาน ซึ่งถ้าเรารู้เร็ว ยิ่งดี แต่ที่เราต้องระวังคือ การติดเชื้อในประเทศ
การกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ที่เราเริ่มพบใหม่คือ สายพันธุ์ G614 เป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุดทั่วโลกในปัจจุบัน ซึ่งพบครั้งแรกนอกประเทศจีน เมื่อเดือนมีนาคม 2563 และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเร็วในเดือนเมษายน
ขณะที่ในเดือนกันยายน พบสายพันธุ์ใหม่ B1.1.7 ในสหราชอาณาจักร และมีการระบาดในเดือนพฤศจิกายน และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มีการกระจายไปในอีกหลายประเทศในทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชีย แอฟริกา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศแคนาดา เนื่องจากแพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์ G614 แต่ไม่มีหลักฐานว่ารุนแรงกว่ากัน และอยู่ในศักยภาพที่วัคซีนที่ทำการผลิตอยู่สามารถป้องกันได้
ขณะที่การกลายพันธุ์ของ โควิด-19 เมื่อถึงจุดๆ หนึ่ง วัคซีนอาจจะต่อต้านสายพันธุ์นี้ ซึ่งบริษัทที่ผลิตวัคซีน ต้องมีการพัฒนาวัคซีนต่อไป เพื่อให้ทันกับตัวไวรัส และอาจส่งผลให้ต้องมีการฉีดวัคซีนทุกปี เหมือนที่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นการคาดการณ์เท่านั้น
ความจริงที่ควรรู้เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด-19
- ประมาณ 95% ของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น และอาจจะสูงพอที่จะยับยั้งเชื้อได้ตั้งแต่ 8 วันหลังการติดเชื้อ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
- ระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นเร็วใน 3 สัปดาห์แรกหลังการติดเชื้อแล้ว ค่อยๆ ลดลง การศึกษาของหน่วยงาน Public Health England ระบุว่า ภูมิคุ้มกันจะคงอยู่ไม่น้อยกว่า 5 เดือน แต่ไม่น่าจะคงอยู่ได้นาน
- จากการที่ภูมิคุ้มกันอยู่ไม่ได้นาน การติดเชื้อซ้ำจึงเกิดขึ้นได้
- จำนวนสัดส่วนประชากรที่มีภูมิคุ้มกัน ที่จะก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ในการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังไม่ทราบชัดเจน (ในโรคหัดคือ 95% ในโปลิโอ คือ 80%)
ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ ระบุว่า ไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่า ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 แล้วจะปลอดภัย ในการติดเชื้อรอบนี้ในประเทศ มีผู้ป่วยอาการหนัก อายุเพียง 40 ปี และมีผู้ป่วยที่อายุน้อย เสียชีวิต
อย่างไรก็ตาม ไวรัสโควิด-19 เหล่านี้ เป็นไวรัสที่ลอยอยู่ในอากาศ แต่จำนวนไวรัสจะเพิ่มขึ้นไม่ได้ หากไม่สามารถเข้าไปอยู่ในสิ่งมีชีวิตได้ ตามธรรมชาติจำนวนไวรัสจะค่อยๆ ลดลงไปเอง เมื่อถึงเวลาหนึ่ง ไวรัสเหล่านี้ก็จะสลายไป ซึ่งภูมิคุ้มกันหมู่ จะเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ แบบธรรมชาติ และการฉีดวัคซีน ซึ่งเราก็คาดไม่ได้ว่า คนที่ติดเชื้อแล้ว จะมีภูมิ หรือว่าเสียชีวิต นั่นคือ เหตุผลที่ทำให้มีการโน้มน้าวให้ฉีดวัคซีน เพื่อให้คนที่ไม่มีภูมิ มีอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตที่น้อยลง ซึ่งก็ต้องให้ความสำคัญกับการปลอดภัยจากการฉีดวัคซีนด้วย และสิ่งที่ต้องติดตามคือ มีภาวะแทรกซ้อนหรือไม่ และป้องกันไวรัสได้จริงหรือไม่
สำหรับการเลือกวัคซีน ในทางปฏิบัติไม่มีวัคซีนใดที่ได้ผล 100% ซึ่งในทางปฏิบัติไม่มีวัคซีนใดที่ได้ผล 100% อย่างมากก็เข้าใกล้ แต่อย่างน้อย ต้องมีผลไม่น้อยกว่า 50% ซึ่งไข้หวัดใหญ่ในปัจจุบัน วัคซีนที่ฉีด ได้ผลประมาณ 50-60% เท่านั้น ซึ่งคนที่ฉีดสามารถเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ แต่ถ้าเป็น อาการจะไม่รุนแรง และอัตราการเสียชีวิตจะต่ำ ซึ่งปัจจัยสำคัญในการเลือกวัคซีน คือ ความปลอดภัย นอกจากนี้ การบริหารจัดการเพื่อให้ประชาชนได้รับวัคซีน ก็เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากวัคซีนบางชนิด ต้องจัดเก็บในอุณหภูมิที่จำกัด การนำวัคซีนไปถึงตัวผู้ป่วย สะดวกมากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้ามีข้อผิดพลาด ก็เหมือนฉีดน้ำเข้าตัว ไม่มีประโยชน์
โดยรายงานของผลค้างเขียงของวัคซีนที่ผลิตขึ้นในหลายบริษัท พบว่า ผู้ป่วยที่ฉีดวัคซีน จะมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หนาวสั่น ปวดข้อ ซึ่งความรุนแรงของแต่ละบริษัทก็จะแตกต่างกันออกไป
ส่วนกรณีมีผู้รับวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์เสียชีวิต 23 ราย หลังฉีดไปแล้ว 25,000 คน และใน 13 ราย มีอาการแทรกซ้อนของวัคซีน ถือเป็นตัวเลขที่สำคัญ ก็ต้องไปสอบสวนว่าการเสียชีวิตเกี่ยวข้องกับวัคซีนที่ฉีดไปหรือไม่ อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลว่า ขณะนี้ประเทศที่มีประชาชนได้รับวัคซีนมากที่สุดคือประเทศอิสราเอล สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ
สำหรับประเทศไทยเอง วัคซีนที่จะนำมาฉีดในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นของ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ร่วมกับบริษัท แอสตราเซเนกา เป็นวัคซีนที่ผลการศึกษาได้ผลดี และมีการสั่งจองในหลายประเทศ การฉีดวัคซีนของ แอสตราเซเนกา เป็นการฉีด 2 เข็ม ซึ่งไทยจะนำวัคซีนนี้เข้ามา โดยมีคณะกรรมการอีกชุดหนึ่งร่วมศึกษาวิธีการฉีด
ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ ระบุว่า ไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่า ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 แล้วจะปลอดภัย ในการติดเชื้อรอบนี้ในประเทศ มีผู้ป่วยอาการหนัก อายุเพียง 40 ปี และมีผู้ป่วยที่อายุน้อย เสียชีวิต
อย่างไรก็ตาม ไวรัสโควิด-19 เหล่านี้ เป็นไวรัสที่ลอยอยู่ในอากาศ แต่จำนวนไวรัสจะเพิ่มขึ้นไม่ได้ หากไม่สามารถเข้าไปอยู่ในสิ่งมีชีวิตได้ ตามธรรมชาติจำนวนไวรัสจะค่อยๆ ลดลงไปเอง เมื่อถึงเวลาหนึ่ง ไวรัสเหล่านี้ก็จะสลายไป ซึ่งภูมิคุ้มกันหมู่ จะเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ แบบธรรมชาติ และการฉีดวัคซีน ซึ่งเราก็คาดไม่ได้ว่า คนที่ติดเชื้อแล้ว จะมีภูมิ หรือว่าเสียชีวิต นั่นคือ เหตุผลที่ทำให้มีการโน้มน้าวให้ฉีดวัคซีน เพื่อให้คนที่ไม่มีภูมิ มีอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตที่น้อยลง ซึ่งก็ต้องให้ความสำคัญกับการปลอดภัยจากการฉีดวัคซีนด้วย และสิ่งที่ต้องติดตามคือ มีภาวะแทรกซ้อนหรือไม่ และป้องกันไวรัสได้จริงหรือไม่
สำหรับการเลือกวัคซีน ในทางปฏิบัติไม่มีวัคซีนใดที่ได้ผล 100% ซึ่งในทางปฏิบัติไม่มีวัคซีนใดที่ได้ผล 100% อย่างมากก็เข้าใกล้ แต่อย่างน้อย ต้องมีผลไม่น้อยกว่า 50% ซึ่งไข้หวัดใหญ่ในปัจจุบัน วัคซีนที่ฉีด ได้ผลประมาณ 50-60% เท่านั้น ซึ่งคนที่ฉีดสามารถเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ แต่ถ้าเป็น อาการจะไม่รุนแรง และอัตราการเสียชีวิตจะต่ำ ซึ่งปัจจัยสำคัญในการเลือกวัคซีน คือ ความปลอดภัย นอกจากนี้ การบริหารจัดการเพื่อให้ประชาชนได้รับวัคซีน ก็เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากวัคซีนบางชนิด ต้องจัดเก็บในอุณหภูมิที่จำกัด การนำวัคซีนไปถึงตัวผู้ป่วย สะดวกมากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้ามีข้อผิดพลาด ก็เหมือนฉีดน้ำเข้าตัว ไม่มีประโยชน์
โดยรายงานของผลค้างเขียงของวัคซีนที่ผลิตขึ้นในหลายบริษัท พบว่า ผู้ป่วยที่ฉีดวัคซีน จะมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หนาวสั่น ปวดข้อ ซึ่งความรุนแรงของแต่ละบริษัทก็จะแตกต่างกันออกไป
ส่วนกรณีมีผู้รับวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์เสียชีวิต 23 ราย หลังฉีดไปแล้ว 25,000 คน และใน 13 ราย มีอาการแทรกซ้อนของวัคซีน ถือเป็นตัวเลขที่สำคัญ ก็ต้องไปสอบสวนว่าการเสียชีวิตเกี่ยวข้องกับวัคซีนที่ฉีดไปหรือไม่ อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลว่า ขณะนี้ประเทศที่มีประชาชนได้รับวัคซีนมากที่สุดคือประเทศอิสราเอล สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ
สำหรับประเทศไทยเอง วัคซีนที่จะนำมาฉีดในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นของ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ร่วมกับบริษัท แอสตราเซเนกา เป็นวัคซีนที่ผลการศึกษาได้ผลดี และมีการสั่งจองในหลายประเทศ การฉีดวัคซีนของ แอสตราเซเนกา เป็นการฉีด 2 เข็ม ซึ่งไทยจะนำวัคซีนนี้เข้ามา โดยมีคณะกรรมการอีกชุดหนึ่งร่วมศึกษาวิธีการฉีด